ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.53 แข็งค่าตามทิศทางภูมิภาค ตลาดรอดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐคืนนี้

เผยแพร่ 19/01/2567 16:25
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.53 แข็งค่าตามทิศทางภูมิภาค ตลาดรอดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐคืนนี้
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.53 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 35.57 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยเงินบาททยอยแข็งค่าตามดอลลาร์ที่ย่อลง ประกอบ กับเมื่อคืนทองคำรีบาวด์ขึ้นมา ส่วนปัจจัยในประเทศต้องรอดูทิศทางทองคำ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.40 - 35.65 บาท/ดอลลาร์ สำหรับคืนนี้รอต้องติดตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน จากสหรัฐฯ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.52250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.31 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.72 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0884 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี่ที่ระดับ 1.0891 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.585 บาท/ดอลลาร์ - นายกฯ ถกบิ๊กคอร์ปเวที WEF ดึงลงทุนไทย เผยหารือกูเกิล-เนสท์เล่ พร้อมเดินหน้าลงทุนไทยต่อ "ดูไบเวิลด์" สนใจ แลนด์บริดจ์ ระบุพอใจเข้าร่วมเวทีระดับโลก มั่นใจเกิดนำไปต่อยอดได้ เผยปีหน้าเข้าร่วมอีก - ธนาคารกรุงเทพประกาศยุทธศาสตร์ Connecting ASEAN หรือเชื่อมโยงอาเซียน สนองนโยบายรัฐบาลในการดึงดูดการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนระยะยาว อีกทั้งสนับสนุนธุรกิจไทยให้ขยายกิจการไป ทั่วภูมิภาค สร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทย รายงานข่าวจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ได้ออกประกาศเพื่อปรับ ปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนในโทเคนดิจิทัล การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล และหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสิน ทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้มีกลไกการกำกับเพียงพอและเหมาะสม สามารถคุ้มครองผู้ลงทุน สนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการ ระดมทุนเพื่อพัฒนาประเทศ มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 16 ม.ค.2567 - ททท.ชี้คลื่นความร้อนทำต่างชาติหนีเที่ยวไทยพุ่ง ชงรัฐบาลขยายวีซ่าฟรี กลุ่มนักท่องเที่ยวระยะไกล กระตุ้นเป้ารายได้ 2.3 ล้านล้านบาท - ญี่ปุ่นเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสดและเป็นข้อมูลเงินเฟ้อที่ธนาคารกลาง ญี่ปุ่น (BOJ) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 2.5% ในเดือนพ.ย.ข้อมูลดัง กล่าวบ่งชี้ว่า เงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของ BOJ ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21 นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงิน ของ BOJ - สภาคองเกรสสหรัฐลงมติผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวแล้วในวันพฤหัสบดี (18 ม.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรง กับช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาไทย โดยขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ถูกส่งไปยังประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อ ไป โดยงบประมาณชั่วคราวฉบับนี้จะช่วยให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐมีงบประมาณใช้จ่ายไปจนถึงช่วงต้นเดือนมี.ค. และสามารถหลีก เลี่ยงการถูกปิดดำเนินการหรือชัตดาวน์ - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 16,000 ราย สู่ระดับ 187,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 208,000 ราย - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (18 ม. ค.) สอดคล้องกับการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง และจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่ คาด - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (18 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากราคาทองคำร่วง ลงอย่างหนักติดต่อกัน 2 วันทำการ นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางยังเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย - นักลงทุนยังเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มทวีความ รุนแรงมากขึ้น โดยกองทัพสหรัฐใช้ปฏิบัติการโจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมนระลอกใหม่เมื่อช่วงเช้าตรู่วานนี้ เพื่อตอบโต้กบฏฮูตีที่ใช้ โดรนโจมตีเรือบรรทุกสินค้าของสหรัฐในอ่าวเอเดนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา - นักลงทุนยังคงจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดย FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 56% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ใน การประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. ซึ่งลดลงจากที่เคยให้น้ำหนักสูงกว่า 80% หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่ง - ประธานเฟดสาขาแอตแลนตาคาดการณ์ว่า เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 3 ของปีนี้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ กำลังกลับสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย