ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.45 แนวโน้มอ่อนค่ารับผลปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ให้กรอบ 35.25-35.60

เผยแพร่ 17/01/2567 16:35
© Reuters. ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.45 แนวโน้มอ่อนค่ารับผลปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ให้กรอบ 35.25-35.60
USD/THB
-

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปิดวันก่อนที่ระดับ 35.39 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทผันผวนอ่อนค่าแรงกว่าที่ประเมินไว้ ทำให้ต้องปรับมุมมองใหม่ว่า ในช่วงนี้เงินบาทยังมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่าลง จากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก หลังตลาดคลายกังวลต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) "ปัจจัยสำคัญที่อาจกดดันเงินบาท คือ ทิศทางดอลลาร์ บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และทองคำ ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ สำคัญสหรัฐฯ ว่าจะส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดอย่างไร" นายพูน กล่าว โดยหากผู้เล่นในตลาด "เลิกเชื่อ" ว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยได้เร็วและลึก ก็อาจหนุนให้ดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อ กดดันเงินบาท และราคาทองคำ โดยเงินบาทเสี่ยงจะผันผวนอ่อนค่าทะลุแนวต้านสำคัญที่ 35.50 บาท/ดอลลาร์ และมีโอกาส อ่อนค่าต่อเนื่องไปถึงโซน 35.80 บาท/ดอลลาร์ได้ อย่างไรก็ดี ปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าของเงินบาทยังไม่ชัดเจน จึงทำให้เงินบาทยังไม่สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ จน กว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.25-35.60 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.59500 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.21 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 146.57 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0879 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0884 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.143 บาท/ดอลลาร์ - ตลาดค้าทองคำ คึกคักรับเทศกาลตรุษจีน โอกาสทำนิวไฮครั้งแรก โอกาสทะลุ 35,000 บาท 'ฮั่วเซ่งเฮง'ชี้ปัจจัยหนุนดี ขึ้น ดันแรงซื้อกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง - คลังเด้งรับนโยบาย "เศรษฐา" ยกเครื่องภาษีการรับมรดก เดินเครื่องรื้อใหญ่ลุยปั้นใหม่ "อัตรา-มูลค่าจัดเก็บ" ขึงหลัก การสร้างความเป็นธรรม กางสถิติผ่านไป 5 ปีเก็บภาษีได้ 800 ล้านบาท พร้อมคาดดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2567 - โควิดสายพันธุ์ใหม่ JN.1 ระบาดหนักหลายจังหวัด พบติดเชื้อแล้ว 40 รายในไทย องค์การอนามัยโลกเตือนเป็นสายพันธุ์ที่ ต้องเฝ้าระวัง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยเริ่มพบในไทยตั้งแต่เดือนต.ค.66 ก่อนมากขึ้นในเดือนธ.ค. มีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็น สายพันธุ์หลักแทนที่ XBB.1.9.2 มีอาการระบบทางเดินหายใจทั่วไป ไข้ ไอ มีเสมหะ แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต - "เศรษฐา" ตั้งใจเกินร้อย ร่วมเวทีประชุม WEF หารือผู้บริหารบริษัท DKSH ชวนย้ายฐานการผลิตลงทุนในไทย ยินดีเปิด รับทุกบริษัทพร้อมไปคุยด้วยตัวเอง ยันไทยมีความพร้อมเรื่องติดตั้งสถานีชาร์จไฟรถอีวี พร้อมฝากเรื่องแลนด์บริดจ์ไปด้วย - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ (17 ม.ค.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2566 ของจีน ขยายตัว 5.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ที่ราว 5% หลังจากจีนยุติการใช้มาตรการล็อกดาวน์ ป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นมาตรการที่ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงสู่ระดับ 3% ในปี 2565 - สมาชิกคณะกรรมการควบคุมนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณว่า ECB อาจไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี นี้ โดยระบุว่า ถ้ายังไม่เห็นว่าเงินเฟ้อกำลังลดลงสู่ระดับ 2% อย่างชัดเจน ก็ยังไม่สามารถประกาศได้ว่าเราจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ เมื่อใด - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (16 ม.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนปรับลดน้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน เดือนมี.ค.นี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (16 ม.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการพุ่งขึ้นของอัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐไ ด้ส่งผลกระทบต่อการซื้อขายในตลาด นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า ธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน - นักลงทุนแห่ปรับลดน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ขณะที่ เพิ่มน้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนดังกล่าว หลังจากที่หนึ่งในสมาชิกบอร์ดผู้ว่าการเฟด กล่าวว่า เฟดจะไม่ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วตามที่ตลาดคาดการณ์ - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนธ.ค., การผลิตภาคอุตสาหกร รมเดือนธ.ค. และดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนธ. ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค. และยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย