InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.97 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.05 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุล เงินหลัก หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ โดยตลาดปรับคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะขยับเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นจากเดิม ที่คาดการณ์ช่วงไตรมาสสองของปีนี้มาเป็นช่วงต้นปี ส่วนปัจจัยในประเทศมีแรงขายทองคำหลังราคาทองในตลาดโลกปรับขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับการสู้รบในตะวันออกกลาง และจับตาดูการแถลงข่าวของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)วันนี้ว่าจะส่งสัญญาณอย่างไร "บาทขยับแข็งค่าตามทิศทางตลาดโลก และมีปัจจัยหนุนจากผู้ค้าทองคำ" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.85 - 35.10 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.81000 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนทรงตัวอยู่ที่ระดับ 145.09 เยน/ดอลลาร์ เท่ากับช่วงเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0948 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0963 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.063 บาท/ดอลลาร์ - ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดงาน BOT Policy Briefing : เปิดแนวคิดนโยบายแบงก์ชาติ - นายกฯ บินสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมเวทีสภาเศรษฐกิจโลก 15-19 ม.ค. คิวพบเอกชนหลายราย ทั้งบริษัทคมนาคม เทคโนโลยี ท่าเรือ การเงิน เล็งโปรโมตร่วมทุนแลนด์บริดจ์ จ่อขยายมาตรการ 'วีซ่าพิเศษ' หนุนซอฟต์พาวเวอร์ - นายไล่ ชิงเต๋อ รองประธานาธิบดีไต้หวันและหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้ง ประธานาธิบดีไต้หวันซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (13 ม.ค.) โดยการเลือกตั้งดังกล่าวถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากประชาคมโลก ท่าม กลางแรงกดดันต่อจีนที่มีต่อไตหวัน เนื่องจากจีนมองว่าเกาะไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน - นักลงทุนจับตาการแถลงมติอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีนในวันนี้ รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนใน สัปดาห์นี้ด้วย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2566, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค., การลงทุนใน สินทรัพย์ถาวรเดือนธ.ค., ยอดค้าปลีกเดือนธ.ค. และอัตราว่างงานเดือนธ.ค. - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิตประจำเดือนธ.ค.ในวันศุกร์ โดยดัชนี PPI ทั่วไป (Headline PPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 1.0% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นัก วิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.3% จากระดับ 0.8% ในเดือนพ.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI ทั่วไปลดลง 0.1% ในเดือนธ.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า อาจเพิ่มขึ้น 0.1% หลังจากปรับตัวลง 0.1% ในเดือนพ.ย. - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนม.ค.67 ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขการเริ่มสร้าง บ้านและยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค.66 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์