ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.99 แนวโน้มแข็งค่า ราคาทองพุ่งหนุน ให้กรอบวันนี้ 34.85-35.15

เผยแพร่ 12/01/2567 16:33
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.99 แนวโน้มแข็งค่า ราคาทองพุ่งหนุน ให้กรอบวันนี้ 34.85-35.15
USD/THB
-

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 34.99 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากปิดวันก่อนที่ระดับ 35.07 บาท/ดอลลาร์ สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาท หลังรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐฯ อาจชะลอลง และเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นมาต่ำกว่าระดับ 35 บาท/ดอลลาร์ได้บ้าง หากราคาทองคำยังปรับตัวขึ้นต่อได้ ท่าม กลางความกังวลสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น "เงินบาทอาจได้แรงหนุน คล้ายกับช่วงเกิดสงครามอิสราเอล-ฮามาส ซึ่งหนุนให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ประเมินว่า สถานการณ์ความขัดแย้งรอบนี้ ไม่น่ากังวลมากจนทำให้เกิดภาพคล้ายกับช่วงแรกของสงครามอิสราเอล-ฮามาส" นายพูน ระบุ ตลาดรอจับตาสัญญาณอัตราเงินเฟ้อ ผ่านรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของเฟด หลังตลาดทยอยรับรู้ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ทั้งการจ้าง งาน และอัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค. นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 34.85-35.15 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.05250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 145.07 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 145.48/51 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0980 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0960/0964 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.011 บาท/ดอลลาร์ - นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า อัตราการเข้าพักเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ 68% เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้า ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวปีใหม่ และมาตรการรัฐ วีซ่าฟรี โดยโรงแรมบางส่วนสามารถ ปรับราคาห้องพักได้สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว โดยเฉพาะโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป แนวโน้มลูกค้าไตรมาส 1/2567 โรงแรม ส่วนใหญ่ 71% ประเมินว่าลูกค้าต่างชาติ (ไม่รวมจีน) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเอเชีย ตะวันออกกลาง และ ยุโรปตะวันตก สำหรับไทยเที่ยวไทยทรงตัว ด้านรายได้รวมโรงแรมเกือบ 80% เห็นว่ารายได้ยังไม่ฟื้นเท่าก่อนโควิด ส่วนใหญ่คาดกลับมา ได้ช่วงไตรมาส 1/2567 อีกกลุ่มคาดกลับมาได้ในปี 2568 โดยคาดการณ์อัตราการเข้าพักเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ 65% ด้านการจ้าง งานกว่า 60% เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน แต่ยังไม่กระทบความสามารถในการรองรับลูกค้า - คลังเร่งจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ล้างบางหนี้เน่าแบงก์รัฐ 3 ล้านบัญชี มูลหนี้ 2.3 แสนล้านบาท เร่งลดเงินงวด-ตัดต้น คาด เริ่มดำเนินการไตรมาสแรกปีนี้ นำร่องลูกหนี้แบงก์ออมสิน - "หมอมิ้ง" ชี้สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตซึมยาวเหมือน "กบโดนต้ม" อัตราเงินเฟ้อที่ตกลงแต่ ดอกเบี้ยยังคงสูงขึ้น หนี้ครัวเรือนพุ่ง คนยากจนยิ่งจนลงอีก ด้าน "เกรียง" เชื่อมือคณะกรรมการนโยบาย เคาะกู้เงิน 5 แสนล้าน ใช้ดิจิ ทัล วอลเล็ต เชื่อไม่ซ้ำรอยจำนำข้าว "ก้าวไกล" เผยการซักถามปม "วิกฤตเศรษฐกิจ" ในกมธ.งบฯ ปี'67 ยังไม่ชัดเจน จ่อโหวตคว่ำ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสน ล้านบาท ขวางดิจิทัล วอลเล็ต ขณะที่ "จุรินทร์" โดดป้อง "กฤษฎีกา" เป็นแค่ที่ปรึกษากฎหมาย ไม่ใช่ที่ปรึกษา นโยบายรัฐบาล ถามย้ำ ถ้าจำเป็นจริง ทำไมไม่ออกเป็นพ.ร.ก.กู้เงิน มองการออกเป็นพ.ร.บ.เหมือนซื้อเวลา - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่ม ขึ้น 3.4% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.2% จากระดับ 3.1% ในเดือนพ.ย. ส่วน ดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.9% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าตัวเลข คาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.8% จากระดับ 4.0% ในเดือนพ.ย. - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 202,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 210,000 ราย - ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ และประธานเฟดสาขาริชมอนด์ กล่าวว่า ดัชนี CPI ที่ออกมาสูงเกินคาดในเดือนธ.ค.ทำให้ เฟดไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อของสหรัฐจะลดลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% และบ่งชี้ว่าเฟดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่จะตัดสินใจปรับลด อัตราดอกเบี้ย - นักลงทุนปรับลดน้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. หลังสหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.2% จากระดับ 3.1% ในเดือนพ.ย. ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 67% ที่เฟดจะปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. ซึ่งลดลงจากระดับ 71% ในช่วงก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลข CPI - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (11 ม. ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐชะลอตัวลง - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 5 ในวันพฤหัสบดี (11 ม.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ สูงกว่าคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น - ตลาดจับตาข้อมูลเศรษฐกิจในวันนี้ โดยจีนเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนธ.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ธ.ค.และดุลการค้าเดือนธ.ค. ขณะที่อังกฤษเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เดือนพ.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. และดุลการค้าเดือนพ.ย. ส่วนฝรั่งเศสและอินเดียเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค. ทางด้านสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธ.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย