BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.35-35.00 วอลุ่มบางส่งท้ายปี

เผยแพร่ 25/12/2566 19:32
© Reuters.  BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.35-35.00 วอลุ่มบางส่งท้ายปี
USD/THB
-

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คาดเงินบาทสัปดาห์ส่งท้ายปี 66 มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.35-35.00 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 34.60 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 34.58-35.03 บาท/ดอลลาร์ เงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ ยกเว้นเงินเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยเงินเยนเผชิญแรงขายช่วงสั้นหลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงนโยบายผ่อนคลายมากเป็นพิเศษต่อไป ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ระบุว่า ภาวะแรงงานกำลังตึงตัว และเงินเฟ้ออาจเร่งขึ้นสู่เป้าหมาย อย่างไรก็ดี การสื่อสารยังคงเป็นไปอย่างระมัดระวัง โดย BOJ ยังไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อบรรลุเป้าหมายอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ซึ่งสร้างความท้าทายสำหรับการปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติท่ามกลางความไม่แน่นอนสูง

ด้านดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน แตะจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือน หลังข้อมูลบ่งชี้ว่า GDP สหรัฐฯขยายตัว 4.9% ในไตรมาสสาม ลดลงจากตัวเลขครั้งก่อนที่ว่า GDP เติบโต 5.2%

ส่วนเงินปอนด์ดิ่งลงระหว่างสัปดาห์ หลังอังกฤษรายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 3.9% ซึ่งต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี และกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOA) จะปรับลดดอกเบี้ยลงในเดือนพ.ค. 67 ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 3,713 ล้านบาท และ 12,937 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี เผยว่า ขณะที่ตลาดเชื่อมั่นมากขึ้นว่าปัญหาเงินเฟ้อของสหรัฐฯ คลายตัวลง ทั้งนี้ ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ครั้งล่าสุด เฟดปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ PCE พื้นฐานปี 67 เหลือ 2.4% จาก 2.6% โดยหากแรงส่งยังคงแผ่วลงต่อเนื่อง ประมาณการดังกล่าวอาจจะดูไม่สมเหตุสมผล ทำให้การลดดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง ตาม Dot Plot ในปีหน้าอาจน้อยเกินไป

โดยในภาวะเช่นนี้ มองว่าในระยะสั้นดอลลาร์อาจย่อลงได้อีก ท่ามกลางธุรกรรมเบาบางช่วงเทศกาลคริสต์มาส แต่แรงขายหลังจากนั้นจะถูกจำกัดมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์เกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยไปไกลกว่า Dot Plot พอสมควรแล้ว

สำหรับปัจจัยในประเทศ ตลาดจะติดตามข้อมูลดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพ.ย.ของไทย หลังกรมศุลกากร รายงานส่งออกเดือนพ.ย. เติบโต 4.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้น 10.1% ทำให้ไทยขาดดุลการค้า 2.4 พันล้านดอลลาร์ โดยสินค้าส่งออกที่เติบโต ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ข้าว และคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ขณะที่การส่งออกยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัว

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย