InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.79/80 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้า เปิดตลาดที่ระดับ 35.75 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.67 - 35.85 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคอ่อนค่ามาตั้งแต่ช่วงเช้า รับข่าวตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ออกมาเมื่อคืนนี้ โดยตัวเลขเงินเฟ้อ ออกมาตามคาดการณ์ และยังห่างจากตัวเลขเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) พอสมควร ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า เฟดน่าจะมี การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งช่วงกลางปี 67 จากที่ตอนแรกมีบางส่วนมองว่าจะปรับอย่างเร็วช่วงเดือน มี.ค. 67 สำหรับคืนนี้ ตลาดรอดูผลประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ซึ่งตลาดคาดว่าเฟด จะคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ แต่ที่ตลาดรอจับตาคือแถลงการณ์ว่า หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้แล้ว ในปี 67 จะมีการปรับลด อัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงไหน และเงินเฟ้อไปถึงจุดที่เฟดมองว่าสามารถยับยั้งได้แล้วหรือไม่ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.60 - 35.90 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 145.79/81 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 145.47 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0785/0789 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0791 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดที่ 1,357.97 จุด ลดลง 15.95 จุด (-1.16%) มูลค่าซื้อขาย 37,984.99 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 502.69 ลบ. - นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ยอมรับว่า นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท อาจทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นบ้าง จากหนี้ สาธารณะ 62% เป็น 64.8% ต่อจีดีพี ซึ่งยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง โดยจะเป็นหนี้สาธารณะส่วนหนึ่ง มีการใช้หนี้ต่อไป แต่ก็มี เรื่องการกระตุ้นลงทุนต่างประเทศ เปิดการลงทุน การค้า เพื่อให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น และทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะลดลง ได้ เป็นหนึ่งในอีกหลายนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม - ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Monetary Policy Forum 4/2023 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัว เพียงแต่แรงขับเคลื่อนอาจยังกลับมาได้ไม่ครบ โดยจะเห็นว่าในปีนี้การ บริโภคภาคเอกชนได้รับแรงส่งที่สำคัญจากการใช้จ่ายหมวดบริการ ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้กลับมาเท่า กับช่วงก่อนโควิด ตรงข้ามกับนักท่องเที่ยวไทยที่เพิ่มขึ้นและกลับมาอยู่ในระดับก่อนโควิดแล้ว อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตและส่งออกยังฟื้นตัวได้ ไม่เต็มที่นัก - ธปท. กล่าวถึงสถานการณ์เงินเฟ้อของไทยว่า คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจนถึงช่วงต้นปี 67 จะยังอยู่ในระดับต่ำ จาก ผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน, ฐานที่สูงในปีก่อนหน้า รวมถึงปัจจัยด้านอุปทาน โดยเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนธ.ค. นี้ จะยังติดลบต่อเนื่องจากเดือนพ.ย. อย่างไรก็ดี การที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำดังกล่าว ไม่ได้สะท้อนถึงภาวะเงินฝืด เนื่องจากอุปสงค์ยัง เติบโตได้ดี พร้อมมองว่า อัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปจะเริ่มทยอยปรับเพิ่มขึ้น และกลับมาเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาส 1/67 ตามราคา พลังงานและอาหารสดที่จะกลับมาสูงขึ้น และกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของ ธปท. ในช่วง 1-3% ได้ในปีหน้า - กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีหากมีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ มีมติเมื่อวันที่ 8 ธ. ค. 66 เห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 2-16 บาท ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ย 2.37% ส่งผลกระทบให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไม่ มากนักเพียง 0.13-0.25% - รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจากสัปดาห์ ก่อนหน้า ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนขยับขึ้นมาเป็นกลุ่มที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นอันดับที่ 1 เพิ่มขึ้น 23,861 คน จากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมี ปัจจัยจากการจัดคอนเสิร์ต เจย์ โจว ที่ดึงดูดแฟนคลับจากต่างประเทศโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ประกอบกับการมีวันหยุดต่อเนื่องในรัฐ สลังงอร์ของมาเลเซีย - ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียปี 2566 ขึ้นสู่ระดับ 4.9% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.7% แต่ได้คงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2567 เอาไว้ที่ระดับ 4.8% - ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางสิงคโปร์ระบุว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2567 ของสิงคโปร์จะอยู่ที่ 2.3% ลดลงจากการสำรวจในเดือนก.ย.ซึ่งอยู่ที่ 2.5% - ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีแนวโน้มว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ระดับ 5.25% ในการประชุมครั้งที่ 3 ติดต่อกันในวันพรุ่งนี้ (14 ธ.ค.) ในขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นที่แตกต่างกันว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในปี หน้านั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด - รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนที่จะเสนอแรงจูงใจด้านภาษีเป็นเวลานานถึง 10 ปี เพื่อกระตุ้นการผลิตครั้งใหญ่ใน 5 ภาคส่วน ซึ่ง รวมถึงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์