InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.99/36.00 บาท/ดอลลาร์ อ่อน ค่าจากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.94 บาท/ดอลลาร์ฃ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.96-36.20 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องหลังจากเมื่อ วันศุกร์ที่ผ่านมา (10 พ.ย.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงเงื่อนไขโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้นักลงทุนกังวล เสถียรภาพทางการเงิน โดยในช่วงนี้เงินบาทยังคงผันผวน ต้องจับตาตัวเลขเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ทั้งของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และยอดค้าปลีก และของจีน ได้แก่ ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม และยอดค้าปลีก ด้านสกุลเงินในภูมิภาควันนี้ ส่วนใหญ่ อ่อนค่าเช่นเดียวกับเงินบาท นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.90-36.20 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 151.74 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 151.59 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0690 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0685 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,387.13 จุด ลดลง 2.44 จุด (-0.18%) มูลค่าการซื้อขาย 46,157.93 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 123.28 ลบ.(SET+MAI) - นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน จะได้รับความเห็นชอบจากพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 320 เสียง และมั่น ใจว่าประชาชน จะได้ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทแน่นอน - โฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่า เชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ณ ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) แต่จับตาการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ และประสิทธิผลของนโยบายด้านเศรษฐกิจ - "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ระบุ วันพรุ่งนี้ (14 พ.ย.) รัฐบาลจะมีการแถลงมาตรการ แก้หนี้ของภาคประชาชนครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะส่งผลต่อดีภาพรวมเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้มากกว่าที่เคยคาดการณ์กัน ไว้ - กระทรวงการคลัง เตรียมหารือกับภาคเอกชนด้านตลาดทุนในวันพรุ่งนี้ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์การจัดตั้ง ESG Fund ลักษณะการลงทุนระยะยาวคล้ายกับ LTF แต่จะเข้าลงทุนในหุ้น ESG เชื่อว่าจะช่วยหนุนตลาดทุนในระยะยาว แต่ไม่ใช่ การจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนพยุงหุ้น - สภาคองเกรสสหรัฐฯ กำลังเร่งผลักดันร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวเพื่อช่วยให้หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ สามารถหลีกเลี่ยงการปิดดำเนินงาน หรือชัตดาวน์ ได้ทันกำหนดเส้นตายในวันศุกร์ที่ 17 พ.ย.นี้ - มอร์แกน สแตนลีย์ คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐมีแนวโน้ม ชะลอตัวลงในปี 67 และคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.375% จนถึงเดือนมิ.ย.67 ก่อนที่จะ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงหลังจากนั้น - สำนักเลขาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในกลุ่มเอเปกมีแนว โน้มจะเติบโตชะลอตัวลงในปีหน้าและยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ได้ชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ สหรัฐ ในขณะที่จีนกำลังดิ้นรนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน ที่ทำให้การค้าซบเซาลง