InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.23 บาท/ดอลลาร์ ทรง ตัวในระดับ เดียวกับเมื่อเย็นวันพฤหัสบดีก่อนที่จะเป็นวันหยุดยาว ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าเนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า หลัง นักลงทุนหันมาถือครอง สินทรัพย์มั่นคงจากความกังวลที่มีต่อปัญหาสงครามในตะวันออกกลาง "ช่วงวันหยุดที่ผ่านมา บาทผันผวนมากก่อนที่เช้านี้จะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับเมื่อเย็นวันพฤหัสฯ ช่วงนี้ จับตาสถานการณ์ สงครามในตะวันออกกลางเป็นหลัก" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.05 - 36.35 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.24500 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 149.46 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันพฤหัสฯ ที่ระดับ 149.09 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0523 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันพฤหัสฯ ที่ระดับ 1.0676 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.199 บาท/ดอลลาร์ - ส.อ.ท.จับตา 3 สถานการณ์ความขัดแย้งใกล้ชิด ส่งสัญญาณทุกฝ่ายเตรียมรับมือหากบานปลาย หวั่นไทยกระทบหนัก หวังรัฐ เร่งหามาตรการดูแลพลังงานปี 2567 ไว้ล่วงหน้า - โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขจากการท่าอากาศยานไทยแสดงให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวจีนที่จองการ เดินทางเข้ามาในประเทศไทย 650,000 คน ก่อนเกิดเหตุการณ์ที่สยามพารากอน ยังคงยืนยันที่พักและเที่ยวบินมาที่ไทยถึง 590,000 คน ลดน้อยลงเพียง 9.2% ซึ่งถือว่าเป็นความเบี่ยงเบนที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงสะท้อนได้ว่านักท่องเที่ยวจีนยังคงมีความเชื่อมั่นที่จะมาเที่ยวเมือง ไทยเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง รัฐบาลขอบคุณความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีนที่มีต่อประเทศไทย รัฐบาลให้สัญญาว่าจะดำเนินมาตรการดูแล ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ - รมช.คลัง เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าจะมีการตัดสิทธิ์คนที่มีรายได้สูงหรือมีการเตรียมวงเงินไว้เพียง 400,000 ล้าน สำหรับโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปรายละเอียด ใดๆ โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเงินดิจิทัลอยู่ระหว่างการพิจารณาคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้จะมีความชัดเจน - นายกฯเยือนจีนพบ 2 ผู้นำโลก ถก'ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง-ปูติน' บินต่อเข้าเฝ้าเจ้าชายซาอุฯ พบ 'บิ๊กธุรกิจ'ระดับโลก ดึงลงทุนไทย - ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารเจพีมอร์แกน เชส เตือนว่า สถานการณ์ในขณะนี้อาจทำให้เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วง เวลาที่อันตรายที่สุดในรอบหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นสงครามในยูเครนที่ยังคงดำเนินอยู่ รวมทั้งการที่กลุ่มฮามาสก่อเหตุโจมตีอิสราเอลเมื่อวัน ที่ 7 ต.ค. ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อตลาดพลังงานและตลาดอาหาร การค้าโลก และความสัมพันธ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคประจำเดือนก.ย.ในวัน พฤหัสบดี (12 ต.ค.) โดยดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.7% ในเดือนก.ย. เมื่อ เทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.6% จากระดับ 3.7% ในเดือนส.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI ทั่วไปปรับ ตัวขึ้น 0.4% ในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% จากระดับ 0.6% ในเดือนส.ค. - ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 63 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็น ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. โดยลดลงจากระดับ 68.1 ในเดือนก.ย. และยังลดลงมากกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะ ขยับลงแตะ 67.4 - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย เดือนต.ค. ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย. รายงาน Beige Book และ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ - ญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อเดือนก.ย.ในวันศุกร์นี้ ซึ่งจะมีขึ้นก่อนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จัดการประชุม นโยบายการเงินในวันที่ 30-31 ต.ค.