InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.69 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 35.70 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา โดยตลาดรอดูผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งคาดว่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม แต่จะดู ประมาณการเศรษฐกิจและดอกเบี้ย หลังจากนั้นจะมีการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) และธนาคารกลาง ญี่ปุ่น (บีโอเจ) ตามมา "วันนี้บาทน่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ เหมือนค่าเงินสกุลอื่นที่ย่ำฐานรอปัจจัยใหม่เข้ามาช่วงกลางสัปดาห์" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.60 - 35.80 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.75250 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 147.66 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.60/65 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0688 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0670/0675 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 35.678 บาท/ดอลลาร์ - นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 ลงจากร้อยละ 4.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.3 และเศรษฐกิจจะเติบโตที่ร้อยละ 4.2 ในปี 2567 จาก เดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 4.5 พร้อมกันนั้น ได้มีการปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานในปีนี้ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 1.7 โดยคาดว่า เงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ในปี 2567 จากเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 1.3 ในขณะที่คงคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ที่ร้อยละ 1.4 โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงขยายตัว จากปัจจัยการเมืองที่เริ่มมีเสถียรภาพ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการ ท่องเที่ยวที่ดีขึ้นต่อเนื่องโดยคาดว่าทั้งปีอาจะแตะระดับ 30 ล้านคนได้ โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้ายที่เป็นช่วงไฮซีซัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่หลายประการ ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดจึง ปรับลดคาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดจากร้อยละ 3.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของจีดีพี การขาดดุลปีงบประมาณคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อจีดี พี ในปี 2567 จากร้อยละ 3.8 ต่อจีดีพี ในปี 2566 - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 4.9% ในไตรมาส 3/2566 หลังจากมีการขยายตัว 2.0% และ 2.1% ในไตรมาส 1 และ 2 ตามลำดับ - รัฐมนตรีคลังสหรัฐ แสดงความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง และ เงินเฟ้อได้ชะลอตัวลง - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (18 ก. ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในสัปดาห์นี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (18 ก.ย.) เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ - นักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารรายใหญ่ในสัปดาห์นี้ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประชุมนโยบายการเงินใน วันที่ 19-20 ก.ย. ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีที่ 21 ก.ย. และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะประชุมนโยบายการเงินในวันศุกร์ที่ 22 ก.ย. - ซิตี้กรุ๊ปออกรายงานคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.50% ในการ ประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 21 ก.ย. ก่อนที่จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวัฏจักรปัจจุบัน - ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนส.ค., จำนวนผู้ขอ รับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดขายบ้านมือสองเดือนส.ค., ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนส.ค.จาก Conference Board, ดัชนีผู้ จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนก.ย.เอสแอนด์พี โกลบอล และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก. ย.เอสแอนด์พี โกลบอล