🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.58 กลับมาแข็งค่า หลังดอลลาร์พักฐาน จับตาเงินเฟ้อสหรัฐสัปดาห์หน้า

เผยแพร่ 08/09/2566 16:19
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.58 กลับมาแข็งค่า หลังดอลลาร์พักฐาน จับตาเงินเฟ้อสหรัฐสัปดาห์หน้า

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.58 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็ก น้อยจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.61 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทแข็งค่าเล็กน้อย หลังจากอ่อนค่าต่อเนื่องมาหลายวัน ซึ่งเป็นผลจากดอลลาร์สหรัฐเริ่มพักฐาน จากที่แข็งค่ามาต่อ เนื่อง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) ย่อตัวลงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี วันนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะมีผลต่อทิศทางของค่าเงินบาทมากนัก "บาทกลับมาแข็งค่าเล็กน้อย หลังจากอ่อนค่าต่อเนื่องมาหลายวัน...วันนี้ยังไม่มีปัจจัยอะไรใหม่ๆ ที่สำคัญ" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.50 - 35.65 บาท/ดอลลาร์ ตลาดรอดูการรายงานตัวเลข เงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือนส.ค.ที่จะประกาศในช่วงกลางสัปดาห์หน้า SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.56750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.13 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 147.43/46 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0715 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0711/0714 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.584 บาท/ดอลลาร์ - "นายกสมาคมค้าทอง" ชี้ แนวโน้มมูลค่าซื้อขายทองคำในประเทศฟื้น จากตั้งแต่ต้นปีวูบ 20-30% เหตุ จัดตั้งรัฐบาล-ท่อง เที่ยวทยอยฟื้นตัว ดันเศรษฐกิจโต "วายแอลจี" คาดเฟดหยุดขึ้นดอกเบี้ย ดันราคาทองคำมี.ค.67 แตะ 2.1 พันดอลลาร์ต่อออนซ์ หนุนราคาในประเทศทำนิวไฮ เผยคนไทยหันลงทุนทองมากขึ้น - ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี กล่าวว่า โครงการกระเป๋า เงินดิจิทัล 10,000 บาท/คน ที่ใช้เม็ดเงินกว่า 5 แสนล้านบาท แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของแพลตฟอร์มที่จะนำมาใช้แหล่ง เงินทุน และการบริหารจัดการหนี้สาธารณะในอนาคต แต่มองว่าจะเป็นปัจจัยที่เติบโตของประเทศไทยในช่วงต่อไป - ธปท.เผยหารือเรื่องดิจิทัลวอลเล็ตกับนายกรัฐมนตรี แต่เป็นการให้ข้อมูลเท่านั้น ยังต้องรอความชัดเจนอีกระ ยะ "เศรษฐา" เผย ธปท.ให้ข้อคิดหลายเรื่อง สะท้อนภาพดิจิทัลวอลเล็ตต่อการเงินการคลังของประเทศในระยะกลางและยาว "จุล พันธ์" ย้ำมีคำตอบที่มาของเงินแน่นอน รอฟังวันแถลงนโยบาย - สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2566 ของญี่ปุ่น ขยายตัว 4.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งลดลงจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ที่ระบุว่ามีการขยายตัว 6.0% และต่ำกว่าที่ตลาดคาด ว่าอาจขยายตัว 5.5% - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 13,000 ราย สู่ระดับ 216,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 234,000 ราย - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (7 ก. ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรง งาน และอาจเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานเพื่อสกัดเงินเฟ้อ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพฤหัสบดี (7 ก.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของ ดอลลาร์ และความกังวลว่าตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานในสหรัฐฯ ที่ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จะส่งผลให้ธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ - นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักในการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ย. หลังสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำสุดรอบ 7 เดือน - ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 44.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ ระดับ 5.50-5.75% ในการประชุมวันที่ 1 พ.ย. หลังจากที่ให้น้ำหนักเพียง 37.1% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และ 28.6% เมื่อเดือนที่แล้ว - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐ ในวันพุธที่ 13 ก.ย.นี้ เพื่อประเมินทิศ ทางอัตราดอกเบี้ย ก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 19-20 ก.ย.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย