InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.21/23 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.12 บาท/ดอลลาร์ การเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ ยังไปในทิศทางที่อ่อนค่า โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.94 - 35.26 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า หลังตัวเลขการผลิตออกมาดีกว่าที่คาด ประกอบกับปัจจัยเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงสูงด้าน สภาพคล่อง รวมถึงความกังวลต่อภาวะขาดแคลนอาหาร ซึ่งสภาพอากาศทั่วโลกในปีนี้ค่อนข้างแย่ ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรลดลง ส่งผลให้ ราคาสูงขึ้น สำหรับทิศทางวันพรุ่งนี้ คาดว่าตลาดยังคงนิ่งๆ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ ประกอบกับหน่วยงานราชการและตลาดการเงิน สหรัฐฯ จะปิดทำการในวันพรุ่งนี้ เนื่องในวันแรงงาน นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00 - 35.30 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.40 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 146.15 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0795 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0778 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,548.68 จุด ลดลง 12.83 จุด, -0.82% - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 413.84 ลบ.(SET+MAI) - กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ (ประเทศไทย) เข้าแสดงความยินดีกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคน ใหม่ โดยระบุว่า ซิตี้แบงก์พร้อมสนับสนุนนโยบายต่างประเทศเชิงรุกของรัฐบาล ขณะที่นายเศรษฐา หวังให้ซิตี้แบงก์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน การการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.85-35.40 บาท/ดอลลาร์ โดยคาดว่า นักลงทุนจะติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ส.ค.ของไทย และความชัดเจนเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาล รวมทั้งผู้ร่วมตลาดจะให้ความสนใจกับข้อมูลภาคบริการเดือน ส.ค.ของสหรัฐฯ เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินต่อไป - กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าปริมาณน้ำตาลของอินเดีย อาจจะไม่เพียงพอที่จะจัดสรรโควตาการส่งออกสำหรับฤดูกาลหน้า (เดือนต.ค. 66) ซึ่งการที่อินเดียห้ามส่งออกน้ำตาล ย่อมส่งผลให้อุปทานน้ำตาลโลกลดลง และราคาน้ำตาลโลกปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งราคา สินค้าที่ใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับ - ธนาคารจีนรายใหญ่ที่สุด 4 แห่ง ปล่อยเงินกู้ให้ธนาคารรัสเซียอีกหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังสถาบันการเงินตะวันตก ยุติการดำเนินงานในรัสเซียในช่วงปีแรกที่รัสเซียยกพลบุกโจมตียูเครน ขณะที่จีนพยายามส่งเสริมให้เงินหยวน เป็นสกุลเงินหลักอีกสกุลหนึ่ง ของโลก - รัฐบาลเกาหลีใต้ เริ่มจำหน่ายพันธบัตรสกุลเงินเยนในตลาดญี่ปุ่น หรือ "ซามูไรบอนด์" ในวันนี้ ซึ่งเป็นการออกพันธบัตรดัง กล่าวเป็นครั้งแรก และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ผู้นำเกาหลีใต้ กำลังพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น - กรรมาธิการด้านเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (EU) ชี้ EU กำลังเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตซ้อนวิกฤต ซึ่งหมายถึงผล กระทบด้านภูมิรัฐศาสตร์จากการที่รัสเซียรุกรานยูเครน และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตามมาต่อทวีปยุโรป เมื่อมองในด้านภูมิรัฐ ศาสตร์แล้ว วิกฤตดังกล่าวส่งผลกระทบถึงสหรัฐฯ และทั่วโลกด้วย - สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เปิดเผยวันนี้ การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนออสเตรเลียปรับตัวลง 0.7% ใน ดือนก.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.พ. 64 เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยท่ามกลางความ กังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น - สำนักงานสถิติแห่งชาติตุรกี เปิดเผยว่า เงินเฟ้อตุรกีปรับตัวขึ้นมากที่สุดในปีนี้เมื่อเดือนส.ค. โดยพุ่งขึ้นแตะ 58.9% ตอก ย้ำถึงปัญหาที่ธนาคารกลางตุรกี (CBRT) ต้องเผชิญ หลังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการวิกฤตค่าครองชีพ