InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.46 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.41 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 34.39 - 34.56 บาท/ดอลลาร์ ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้า มา คาดตลาดรอผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางญี่ปุ่นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนปัจจัยการเมืองใน ประเทศตลาดรอดูความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่ต่างชาติขายพันธบัตร 3 พันล้านบาท "ตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่ ระหว่างวันเคลื่อนไหวตามปัจจัยในประเทศ" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารการเงิน มองกรอบเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.35 - 34.55 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 141.31 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 141.55 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.1081 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1125 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,523.81 จุด ลดลง 5.44 จุด, -0.36% มูลค่าการซื้อขาย ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 4,402.32 ล้านบาท (SET+MAI) - ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเห็นชอบให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการดำเนินการของรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่มีมติ ไม่ให้เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้รัฐสภาเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็น "ญัตติ" ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 นั้นเป็นการกระทำขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมทั้งขอให้มีคำสั่งชะลอการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย.66 อยู่ที่ระดับ 94.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 92.5 ในเดือน พ.ค.ซึ่งเป็นปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยทุกองค์ประกอบของค่าดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้น หลังได้รับแรงหนุนจากภาคท่องเที่ยว - SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 66 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง และขยายตัวได้ดีกว่าช่วงครึ่งแรกของ ปี 66 จากแรงหนุนภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยฟื้น ตัวใกล้เคียงประมาณการ ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีโดยเฉพาะหมวดบริการ ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และตลาด แรงงานที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น สำหรับการส่งออกจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 66 จากที่หดตัวต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 66 - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อและค่าจ้างของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งบ่งชี้ถึงว่าแนวทางการกำหนดค่าจ้างของภาคเอกชนญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนแปลงไป - ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงานหัวข้อ "การส่งผ่านอัตราแลกเปลี่ยนสู่เงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ เอเชียและบทบาทของภาวะตื่นตระหนกทั่วโลก" (Exchange rate transmission to prices in emerging Asia and the role of global shocks) บนเว็บไซต์ ระบุว่า กลุ่มธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่เอเชียได้ปรับปรุงโครงสร้างนโยบายการเงินของ ตนเองตลอดช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วยฉุดรั้งการคาดการณ์เงินเฟ้อและหนุนเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคแบบเป็นวงกว้าง โดยแม้แนว ทางดังกล่าวช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือภาวะตื่นตระหนกภายนอกให้กับเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชีย แต่ยังคงเป็นกลไกการส่ง ผ่านที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่แท้จริงและตลาดเงิน - วาณิชธนกิจรายใหญ่ระดับโลกหลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจีน เกือบทุกเดือนในปีนี้ โดยเจพีมอร์แกน (JPMorgan) ได้มีการปรับเปลี่ยนไปแล้ว 6 ครั้ง นับตั้งแต่เดือน ม.ค.