💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.85 แข็งค่ารอบ 2 เดือน สวนทางภูมิภาค ปัจจัยการเมืองในประเทศหนุน

เผยแพร่ 20/07/2566 16:28
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.85 แข็งค่ารอบ 2 เดือน สวนทางภูมิภาค ปัจจัยการเมืองในประเทศหนุน

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.85 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.04 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทแข็งค่าสวนทางสกุลเงินอื่นในภูมิภาค และเป็นการแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือน เนื่องจากเป็นเพราะปัจจัยการ เมืองในประเทศของไทยเอง หลังจากเมื่อวานนี้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่สามารถได้รับการเสนอชื่อโหวตนายก รัฐมนตรีต่อที่ประชุมรัฐสภาเป็นครั้งที่ 2 ได้อีก ทำให้ตลาดมองว่าจะเป็นพรรคการเมืองอื่นที่มีโอกาสเข้ามาเป็น รัฐบาลแทน "บาทแข็งสวนตลาด น่าจะเป็นเพราะตลาดเห็นความชัดเจนของทิศทางการเมือง พอ พิธา ไม่ได้นายกฯ แน่แล้ว ตลาดมอง ว่าจะเป็นพรรคอื่นมาแทน ซึ่งน่าจะเป็นพรรคที่มีนโยบายแบบ market friendly มากขึ้น" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.80 - 34.10 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยวันนี้ยังคงต้องติดตามทิศ ทางการเมืองในประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศคืนนี้ รอดูสหรัฐฯ จะรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.01500 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.17 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 139.76/79 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1227 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1229/1233 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.058 บาท/ดอลลาร์ - ปิดฉาก "พิธา" ไม่ถึงฝั่งฝันนั่งนายกฯ คนที่30 หลังสภาฯ โหวตเสนอชื่อรอบ 2 ไม่ได้ โบกมือลาเตรียมถกส่งไม้ต่อเพื่อ ไทยตั้งรัฐบาล "วันนอร์" นัดเสนอชื่อคนใหม่เลือกนายกฯ 27 ก.ค.นี้ - "บล.เอเซียพลัส" ชี้ ภาพการเมืองเริ่มชัด "พรรคเพื่อไทย" มีโอกาสเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล หลังประชุมสภา มีมติไม่เสนอ ชื่อพิธาโหวตนายกฯ รอบ 2 เชื่อหนุนฟันด์โฟลว์ไหลเข้า ลุ้นครึ่งปีหลังทวงคืน "แสนล้าน" หากมูลค่าซื้อขายต่อวันแตะ 5 หมื่นล้านต่อเนื่อง แต่ต้องจับตา "ชุมนุมนอกสภา " - "แบงก์ชาติ" มองเงินเฟ้อลดลงแค่ชั่วคราว ชี้มีโอกาสขึ้นต่อจากภาคบริการที่ฟื้นตัว ย้ำยังจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสร้าง กันชนรองรับช็อกใหม่ๆ พร้อมมั่นใจไร้ปัญหาหนี้เสีย เชื่อไม่เกิดหน้าผาเอ็นพีแอล เผยเตรียมออกมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนศุกร์นี้ - ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีที่ระดับ 3.55% และคงอัตรา ดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีที่ระดับ 4.20% ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ นักวิเคราะห์หลายรายในตลาดการเงินคาดการณ์ว่า จีนอาจจะออกมาตรการกระตุ้นในวงจำกัดและเจาะจงเป้าหมาย เนื่อง จากกังวลว่าหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกก็จะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างจีนกับสหรัฐปรับตัวกว้างขึ้นและสร้างแรงกดดันเพิ่ม ขึ้นต่อค่าเงินหยวน - เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (19 ก.ค.) หลัง จากอังกฤษเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อชะลอตัวลง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางอังกฤษชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่เงินเยนอ่อนค่า ลงหลังจากผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายการเงิน - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 139.6080 เยน จากระดับ 138.8750 เยน ขณะเดียวกันก็แข็งค่า เมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8587 ฟรังก์ จากระดับ 0.8576 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดน ที่ระดับ 10.2645 โค รนา จากระดับ 10.2135 โครนา แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3160 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3174 ดอลลาร์แคนาดา - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทรงตัวในวันพุธ (19 ก.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐ รวมทั้งการ ประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า - ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐวันนี้เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนก.ค.จากเฟดฟิลาเด ลเฟีย, ยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.จาก Conference Board - นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 25-26 ก.ค.นี้ ขณะที่ข้อมูลจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 99.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะเป็น การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของปีนี้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย