💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.65 อ่อนค่าหลังดอลลาร์ฟื้น จับตาตัวเลข GDP จีน-โหวตนายกฯรอบ 2

เผยแพร่ 17/07/2566 16:33
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.65 อ่อนค่าหลังดอลลาร์ฟื้น จับตาตัวเลข GDP จีน-โหวตนายกฯรอบ 2

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็ก น้อยจากท้ายตลาดเมื่อวันศุกร์ซึ่งอยู่ที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อยจากวันศุกร์ ทิศทางยังเกาะกลุ่มไปกับตลาดโลก และสกุลเงินในภูมิภาค โดยเมื่อคืนวันศุกร์ ดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับทุกสกุล หลังโดนเทขายมาติดต่อกัน 4 วัน แต่ทั้งนี้ตลาดมองว่าเป็นการฟื้นตัว ชั่วคราวเท่านั้น ขณะที่ปัจจัยวันนี้รอดูจีนรายงานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาส 2/66 ในช่วงเช้านี้ ส่วนปัจจัยในประเทศ ยังคงต้องติดตามการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในวันพุธที่ 19 ก.ค.นี้ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.69250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.53 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 138.43 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1219 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1231 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.614 บาท/ดอลลาร์ - คลังเตรียมแผนผลักดันเม็ดเงินเข้าระบบตามบัญชา "นายกฯ" ใช้จ่ายงบดูแลเศรษฐกิจตามกฎหมายให้ทำได้ ที่สำคัญไม่ กระทบเงินสวัสดิการดูแลกลุ่มเปราะบาง - ปลัดกระทรวงการคลัง เตรียมเสนอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณาแผนปฏิรูปการจัดเก็บรายได้รัฐบาล ทั้งในส่วนของการเพิ่มราย ได้ และลดรายจ่าย เพื่อให้เป็นไปตามกรอบวินัยการคลัง และดำเนินการตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปี 2567-2570) ที่ตั้งแต่ปีงบ ประมาณ 2567 ต้องลดสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ ไม่ให้เกิน 3% ต่อ GDP - ปลัดกระทรวงการคลัง ยืนยัน ภาษีขายหุ้นยังอยู่ในแผนการปรับโครงสร้างภาษี ซึ่งรัฐบาลรักษาการอาจมีข้อจำกัดไม่ สามารถดำเนินการต่อได้ ทั้งนี้ หากรัฐบาลใหม่ต้องการปรับรูปแบบให้เป็น Capital Gain Tax ก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน เพราะ กระทรวงฯ ได้ศึกษาไว้ทั้ง 2 แบบควบคู่กันอยู่แล้ว แต่เชื่อว่ารูปแบบภาษีขายหุ้น ยังเหมาะกับตลาดทุนไทยมากกว่า - 8 พรรคถกวันนี้-เคลียร์โหวตนายกฯรอบ 2 ส่งชื่อ 'พิธา'หรือว่าแคนดิเดตเพื่อไทย 'ภูมิธรรม'บี้ถาม ก.ก. เสียงหนุนจะ เอามาจากไหน หวั่นวืดซ้ำ - นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจจีนในช่วงเช้าวันนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของจีน โดยสำนักงานสถิติแห่ง ชาติจีนมีกำหนดเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2566, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย., ยอดค้าปลีก เดือนมิ.ย., อัตราว่างงานเดือนมิ.ย. และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนมิ.ย. ตลาดการเงินคาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในไม่ช้านี้ หลังมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ หลายรายการ ซึ่งรวมถึงยอดส่งออกเดือนมิ.ย.ร่วงลง 12.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งย่ำแย่กว่าในเดือนพ.ค.ที่ปรับตัวลง 7.5% และ รุนแรงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 9.5% โดยการส่งออกของจีนได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของอุปสงค์ทั่วโลก และยิ่งทำให้ ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลก - อังกฤษลงนามข้อตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership หรือ CPTPP) อย่างเป็นทางการ ณ การประชุมระดับรัฐมนตรีซึ่ง จัดขึ้นเมื่อวานนี้ (16 ก.ค.) ที่ประเทศนิวซีแลนด์ โดยอังกฤษถือเป็นสมาชิกใหม่รายแรกที่เข้าร่วมนับตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่มขึ้นในปี 2561 - ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนในวันศุกร์ซึ่งระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 72.6 ในเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2564 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 65.5 จากระดับ 64.4 ในเดือน มิ.ย. - ดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (14 ก. ค.) หลังการเปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.64 - ตลาดจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย., ดัชนี ตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนมิ.ย. , จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง งานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนก.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.จาก Conference Board

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย