BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.90-35.50 รับแรงกดดันศก.จีน-การเมืองในปท.

เผยแพร่ 26/06/2566 21:52
© Reuters.  BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.90-35.50 รับแรงกดดันศก.จีน-การเมืองในปท.

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.90-35.50 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 35.25 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 34.68-35.28 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือน สอดคล้องกับค่าเงินหยวนที่ร่วงลง

ขณะที่เงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ให้การต่อสภา โดยระบุว่าสมาชิกจำนวนมากในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีกราว 1-2 ครั้ง ซึ่งจะเป็นระดับที่มากพอสำหรับการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อในรอบนี้ บนเงื่อนไขแนวโน้มเศรษฐกิจเป็นไปตามที่ผู้กำหนดนโยบายคาดการณ์ไว้ และเฟดจำเป็นที่จะต้องรอจนกว่าจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ก่อนจะมองถึงเรื่องการลดดอกเบี้ยลง โดยการที่เฟดคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.นั้น สะท้อนการชะลอความเร็วในการขึ้นดอกเบี้ย

ทางด้านธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาดที่ 50bp สู่ 5.00% ด้วยมติ 7-2 หลังเงินเฟ้อพื้นฐานพุ่งแตะจุดสูงสุดในรอบ 30 ปี ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 4,913 ล้านบาท และ 10,839 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี ระบุว่า ตลาดจะให้ความสนใจกับความเห็นของผู้นำธนาคารกลางหลักในงาน ECB Forum รวมถึงตัวเลขการใช้จ่ายบริโภคส่วนบุคคลเดือนพ.ค.ของสหรัฐฯ และเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจจีน

อนึ่ง เรามองว่าท่าทีล่าสุดของประธานเฟด ซึ่งระบุว่าจะใช้ความระมัดระวังในเรื่องจังหวะความเร็วสำหรับการพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยในช่วงต่อจากนี้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยใกล้จะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักร สะท้อนว่าเรามาถึงจุดที่การประเมินว่าความจำเป็นที่จะคุมเข้มนโยบายต่อไปอีกเท่าใดนั้นยากขึ้น ดังนั้น ทั้งธนาคารกลางและตลาดการเงิน จะอ่อนไหวมากเป็นพิเศษต่อข้อมูลเศรษฐกิจที่จะประกาศออกมา อย่างไรก็ดี ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนอกสหรัฐฯ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ อาจจำกัดการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์

ขณะที่ปัจจัยในประเทศ รมว.คลัง ได้ระบุไว้ว่าเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง แม้การส่งออกหดตัว โดยเงินบาทที่อ่อนค่าลงจะช่วยประคองภาคส่งออก ขณะที่กระทรวงการคลัง มีแผนจะเปิดประมูลพันธบัตรช่วงเดือนก.ค.-ก.ย. 66 รวมไม่เกิน 303,600 ล้านบาท โดยในระยะนี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่าเงินบาทยังเผชิญแรงกดดันจากเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวช้า และความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในไทย

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย