InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.59/61 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 34.62 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.54 - 34.74 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทยังไร้ปัจจัยใหม่ เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ตลาดรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และการประชุม กำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐฯ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.50 - 34.70 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 139.26/29 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 139.45 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0778/0782 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0742 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,551.41 จุด ลดลง 3.70 จุด (-0.24%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 31,788 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 31.22 ลบ. (SET+MAI) - ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) คาดเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยยาวนานอย่างน้อย 3-4 ไตรมาส จาก ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3 เดือน ก่อนที่จะลดดอกเบี้ย หรือน่าจะเห็นความชัดเจนได้ในช่วงกลางปีหน้า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการลงทุนในตลาด พันธบัตรรัฐบาล ขณะที่เมื่อดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง ค่าเงินดอลลาร์ก็จะกลับมาแข็งค่า กดดันต่อค่าเงินสกุลอื่นๆ ซึ่งรวมถึงค่าเงินบาทด้วย - ผู้อำนวยการ TDRI Economic Intelligence Service (EIS) กล่าวว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจ ไทยจากการประเมินหลายปัจจัยเชื่อมั่นว่าสภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังน่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก ในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่ แน่นอนหลายปัจจัย - อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ระบุว่า ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐในขณะนี้อยู่ที่ 4.5-5% ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศ ยังร้อนแรงมาก และหากเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวลงในวันข้างหน้า ก็จะเป็นการชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือซอต์แลนดิ้ง - นักลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการดำเนินนโยบายที่แตกต่างกัน - ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม หลังจากสิ้นสุดการประชุมนโยบายในวันพุธ (14 มิ.ย.) ในขณะคาด ว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในวันพฤหัสบดี (15 มิ.ย.) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง ส่วน BOJ คาดว่า คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย