InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.62 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วันศุกร์ที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ เงินบาททรงตัวจากปิดตลาด เนื่องจากเย็นวันศุกร์ (9 มิ.ย.) ยังไม่มีปัจจัยใหม่ ภาพใหญ่ตลาดรอติดตามการเปิดเผยดัชนี ราคาผู้บริโภค (CPI) และการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ สำหรับปัจจัยในประเทศให้ติดตาม Flow ต่างชาติ ด้านสกุลเงินในภูมิภาคเช้านี้เคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.50 - 34.70 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (9 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.97555% ส่วน THAI BHAT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.15978%
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.45 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 139.60 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0742 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0762 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.632 บาท/ดอลลาร์ - ประธานหอการค้า เผยต่างชาติชะลอลงทุน แนวโน้มตั้งรัฐบาลยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจ อสังหาฯ ประสานเสียงจี้ เร่งตั้งรัฐบาลเรียกเชื่อมั่น - ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กนอ.ยังไม่ได้รับการสอบถามหรือการแสดง ความกังวลจากต่างชาติ เกี่ยวกับความยืดเยื้อในการจัดตั้ง รัฐบาลกลับกันยังคงมีนักลงทุนรายใหม่จากหลายชาติทั้งเอเชียและยุโรปสอบถาม เข้ามาเพื่อนำคณะนักลงทุน หรือรายบริษัท เข้ามาดูพื้นที่ลงทุนในนิคมฯ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป เพราะกลุ่มนี้ยังไม่เข้าใจบริบท นโยบาย ของไทย จึงอยากดูสถานที่จริง - เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับสัญญาณว่า จะมีนักลงทุนรายใหญ่ ย้าย ฐานการผลิตออกจากประเทศไทย ซึ่งบีโอไอมองว่า ไทยยังเป็นประเทศที่มีเสน่ห์ในการลงทุนของนักลงทุน โดยยุทธศาสตร์การส่งเสริม ลง ทุนใหม่ ของบีโอไอไม่เพียงแต่ส่งเสริมให้นักลงทุนรายใหม่เข้ามาลงทุนในไทยเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการรักษาฐานการผลิตของผู้ ประกอบการรายเดิมที่ลงทุนในไทยมาอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ - ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ฝากงานผู้ว่าการททท.คนใหม่ ดำเนินนโยบายท่องเที่ยวทั้งปี เผยปี 2567 ชงของบ 5,000 ล้านบาท สร้างรายได้ให้ถึง 3 ล้านล้านบาท - ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของ 3 ธนาคารรายใหญ่ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะ จัดการประชุมในวันที่ 13-14 มิ.ย. ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะจัดการประชุมในวันที่ 15 มิ.ย. ปิดท้ายด้วยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งจะจัดการประชุมวันที่ 15-16 มิ.ย. - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีกและการผลิตภาคอุตสาหกร รมเดือนพ.ค. ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและฟิลาเดลเฟีย ดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขเงินเฟ้อคาดการณ์ในมุมมองของผู้ บริโภคเดือนมิ.ย. - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพ.ค.ของสหรัฐ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ทั่วไปและดัชนี CPI พื้นฐานจะชะลอตัวลง แต่ก็ยังสูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% ของเฟด