ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.87 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค ตลาดกลับมากังวลเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ย

เผยแพร่ 08/06/2566 16:34
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.87 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค ตลาดกลับมากังวลเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ย
DX
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.87 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.78 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางสกุลเงินอื่นในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินหยวนที่อ่อนค่าเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจจีนออกมาไม่ ค่อยดี นอกจากนี้ เมื่อคืนธนาคารกลางแคนาดาเซอร์ไพรส์ตลาดด้วยการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% จากเดิมที่ตลาดคาดคงดอกเบี้ย จึงทำให้ตลาด มองว่าแม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม เดือนก.ค. "วันนี้ ต้องติดตามเงินหยวนเพราะตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ค่อยดี ทำให้หยวนอ่อนค่าไปเยอะ และเงินในภูมิภาคก็อ่อนค่า ตามด้วย เมื่อคืนทองคำก็ร่วงไปเกือบ 23 ดอลลาร์ วันนี้อาจจะมี flow ฝั่งนำเข้าทองคำ เป็นขายซื้อดอลลาร์ ขายบาท" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า เคลื่อนไหวในกรอบ 34.70 - 35.00 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (7 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.86781% ส่วน THAI BHAT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.06841% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.91250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.95 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นที่ระดับ 139.31/34 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0707 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นที่ระดับ 1.0692/0696 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.777 บาท/ดอลลาร์ - "แบงก์-นอนแบงก์" เตรียมตั้งรับธุรกิจเช่าซื้อ หลัง ธปท. จ่อคุมเบ็ดเสร็จ "ทิสโก้" เชื่อส่งผลดีต่อระบบโดยรวม เป็น ธรรมกับลูกหนี้ ชี้รายเล็กอ่วมหลังคุมดอกเบี้ย หันเรียกเก็บค่าจัดไฟแนนซ์พุ่งเป็น 150-160% "เคเคพี" ไม่ห่วงพอร์ตเช่าซื้อ เชื่อบริหาร จัดการได้ "สมาคมธนาคารไทย" หวังคุมสินเชื่อสร้างความเป็นธรรมต่อระบบ - ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 77.70 ปรับลดลง 26.8% จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ในเกณฑ์ซบเซาเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน นักลงทุนมองว่าการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง จะเป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับปัจจัยที่ฉุด ความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดได้แก่ปัญหาการเมืองหลังการเลือกตั้งรองลงมาคือการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ และการเก็บภาษีตลาด ทุน - ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย 5 เดือน แรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวน 10,568,485 คน เฉพาะเดือน พ.ค. มี 1,972,033 คน โดย 5 อันดับแรกคือ มาเลเซีย 338,692 คน จีน 285,333 คน อินเดีย 144,683 คน เกาหลีใต้ 102,471 คน ลาว 91,831 คน - คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เคาะนับบัตรเลือกตั้งใหม่ 47 หน่วยอ้างปัญหาคะแนนเขย่ง สะเทือน ส.ส.เขต-บัญชี ชื่อ - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (7 มิ.ย.) หลังจากมีรายงานว่าสหรัฐขาดดุลการค้าสูงสุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และการ ประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ในวันพุธ (7 มิ.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจาก ความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ - FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 30% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 21.8% และให้น้ำหนัก 69% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ ที่ 5.00-5.25% ซึ่งลดลงจากระดับ 77% - ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ วันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม. ย. - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพ.ค.ของสหรัฐ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำ เดือนพ.ค.ในสัปดาหืหน้า โดยดัชนี CPI เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค และดัชนี PPI เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้ จ่ายของผู้ผลิต

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย