InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.34 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วันพุธ (12 เม.ย.) ที่ระดับ 34.23 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าเทียบวันพุธ เนื่องจากวันศุกร์ที่ผ่านมา ตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด แต่ยอดค้าปลีกพื้นฐาน ออกมาสูงกว่าคาดเล็กน้อย ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เน้นย้ำว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุม รอบถัดไป ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้น และดอลลาร์แข็งค่าเทียบทุกสกุลเงิน นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.25 - 34.50 บาท/ดอลลาร์ "วันนี้ต้องระมัดระวัง Flow ทองคำ เนื่องจากวันศุกร์ที่ผ่านมาทองคำลงกว่า 30 เหรียญดอลลาร์ จึงอาจมี Flow นำเข้า ทองคำได้ เป็นปัจจัยกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าได้" นักบริหารเงิน ระบุ THAI BAHT FIX 3M (12 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.70279% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.88492% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.36250 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.97 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันพุธที่ระดับ 133.77 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0971 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันพุธที่ระดับ 1.0925 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.243 บาท/ดอลลาร์ - สมาคมผู้ค้าปลีกไทย แนะเร่งจัดตั้งรัฐบาลภายหลังเลือกตั้ง เพื่อออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เติมกำลังซื้อที่ยังเปราะ บาง พร้อมระบุไตรมาส 2 ปีนี้ เตรียมปรับขึ้นราคาสินค้าอีก 5% หนีต้นทุนแพง - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สรุปภาพรวมการกู้ยืมของภาคธุรกิจและครัวเรือนในช่วงไตรมาส 4 ปี 2565 โดยรวม ยังขยายตัวได้ โดยธุรกิจขนาดใหญ่ระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้มากขึ้น โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (วงเงินมากกว่า 500 ล้านบาท) ชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากการชำระคืนหนี้เป็นสำคัญ โดยชะลอลงในภาคการผลิตเป็นหลักสอดคล้องกับการผลิตเพื่อส่งออกที่ชะลอลงตาม อุปสงค์ประเทศคู่ค้าและการเร่งผลิตในช่วงก่อนหน้า รวมถึงธุรกิจขนาดใหญ่ได้เร่งระดมทุนผ่านตราสารหนี้ภาคเอกชนมาต่อเนื่อง เพื่อล็อก ต้นทุนในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น - กรมควบคุมโรครายงานสถานการณ์โควิด-19 หลังหมดสงกรานต์ พบผู้ป่วยเข้า รพ.เพิ่ม 2.5 เท่าจากสัปดาห์ก่อน เชื่อ การระบาดที่เพิ่มขึ้นไม่กระทบกับชีวิตของประชาชน ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 พบในไทย 6 คน เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเป็นวัย ทำงาน อาการไม่รุนแรง ยังไม่พบอาการเยื่อบุตาอักเสบในไทย เบื้องต้นยังไม่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น - มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 63.5 ในเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้นจาก 62.0 ใน เดือนมี.ค. ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอาจทรงตัวที่ระดับเดิม - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกลดลง 1% ในเดือนมี.ค. มากกว่าที่คาดไว้ว่าอาจลดลง 0.4% และ มากกว่าการลดลง 0.2% ในเดือนก.พ. - กรรมการเฟดเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า เฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ใน ระดับที่สูง - ตลาดการเงินจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนพ.ค.อย่างใกล้ชิด ขณะที่ FedWatch tool ของ CME บ่งชี้ว่า ตลาดการเงินคาดว่ามีแนวโน้ม 74% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนพ.ค. - ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มดีดตัวขึ้นใกล้แตะระดับ 6% ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดการเงินคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ระดับต่ำ กว่า 4% ภายในเดือนม.ค. 2567 โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอยู่ที่ระดับ 4.75% - 5.00% - นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจจีนในวันอังคารนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงิน ของทางการจีน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจะเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566, การผลิตภาค อุตสาหกรรมเดือนมี.ค., ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค., อัตราว่างงานเดือนมี.ค. และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนมี.ค. - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนเม.ย., ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและ การอนุญาตก่อสร้างเดือนมี.ค., สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง งานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนเม.ย., ยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค., ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมี.ค. จาก Conference Board, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนเม.ย. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนเม. ย.