InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.21 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิด ตลาดที่ระดับ 34.37 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.15 - 34.40 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค เนื่องจากตลาดคลายกังวลเรื่องธนาคารล้ม โดยธนาคารกลางของสวิตเซอร์ แลนด์ ได้อัดฉีดเงิน 2 ล้านล้านบาท ส่วนธนาคารใหญ่ของสหรัฐฯ ก็ได้นำเงินฝากเข้าช่วย นักบริหารเงิน คาดว่า วันจันทร์เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.10 - 34.40 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตามของสหรัฐฯ คืนนี้ คือ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมี.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนก.พ. จาก Conference Board ส่วนภาพใหญ่ตลาดรอติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า
* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.02 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 133.31 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0646 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0626 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,563.67 จุด เพิ่มขึ้น 9.02 จุด (+0.58%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 73,535 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,103.01 ลบ. (SET+MAI) - ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) พร้อมคณะ ได้เข้าพบผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็นสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการส่งออก-นำเข้า สินค้า และแนวทางการลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน - Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 66 เป็นขยาย ตัว 3.9% (เดิม 3.4%) โดยมีแรงขับเคลื่อนจากภาคท่องเที่ยว และภาคบริการที่ฟื้นตัวดี - เจ้าหน้าที่จากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กระทรวงการคลัง (MOF) และสำนักงานบริการด้านการเงิน (FSA) วางแผนที่ จะประชุมกันในวันนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับภาวะตลาด หลังจากธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (Silicon Valley Bank - SVB) ของ สหรัฐประสบกับภาวะล้มละลาย - โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนพ.ค. นี้ สู่ระดับ 0.25% จากเดิมที่ 0.50% หลังจากที่ ECB ปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้คุมเข้มนโยบายทางการเงิน - ฟิทช์ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสหรัฐ ระบุในวันพฤหัสบดี (16 มี.ค.) ว่า ธนาคารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดู เหมือนเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) และซิกเนเจอร์ แบงก์ (Signature Bank) แบบในวงจำกัดเท่านั้น โดยธนาคารที่ว่านี้เป็นธนาคารในกลุ่มที่ฟิทช์จัดอันดับความน่าเชื่อถือให้