InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.64 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าต่อ เนื่องจากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.62 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าเนื่องจากนักลงทุนหันมาถือ ครองมากขึ้นจากความกังวลเรื่องธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.43 - 33.64 บาท/ดอลลาร์ "วันนี้บาทปิดตลาดอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน และอ่อนค่ามากสุดในภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนหันกลับไปถือครองดอลลาร์ และ อาจมีการนำเข้าทองคำหลังราคาปรับตัวลดลง" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.50 - 33.75 บาท/ดอลลาร์
* ปัจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 131.87 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 132.15 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0770 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0782 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,682.11 จุด ลดลง 6.25 จุด, -0.37% มูลค่าการซื้อขาย 47,888.62 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,275.05 ล้านบาท (SET+MAI) - กระทรวงพาณิชย์ เผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน ม.ค.66 ขยายตัว 5.02% ต่ำกว่าตลาดคาด โดยชะลอตัวอยู่ใน ระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานและอาหาร ขณะที่อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลทั้งปีใหม่และตรุษจีนคึกคักกว่าปีก่อน - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คาดกรอบเงินบาทในสัปดาห์นี้ 33.20-33.80 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การเสนอชื่อผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คนใหม่ และความเห็นของประธานเฟดที่ Economic Club of Washington, D.C. - สำนักงานสถิติของเยอรมนี เผยคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ธ.ค.65 เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบเป็นราย เดือน - สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เผยยอดค้าปลีกไตรมาส 4/2565 ของออสเตรเลียปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรก ในรอบ 1 ปี เนื่องจากผู้ซื้อลดการใช้จ่ายซื้อสินค้า ซึ่งส่งสัญญาณว่าต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นมีส่วนควบคุมการใช้จ่าย - นายมาซาโยชิ อามามิยะ ได้รับการทาบทามจากรัฐบาลให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งเป็นทาง เลือกที่มีแนวโน้มจะส่งเสริมนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษในปัจจุบัน - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ชี้จีนจำเป็นต้องดำเนินการมากขึ้นในการแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาด อสังหาริมทรัพย์ โดยภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจีน และเป็นปัจจัยถ่วง เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ช่วงที่รัฐบาลจีนออกมาตรการควบคุมบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่พึ่งพาเงินกู้มากเกิน ไปในปี 2563