💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

BAY คาดกรอบเงินบาท 32.50-33.25 จับตาสัญญาณเฟดสัปดาห์นี้

เผยแพร่ 30/01/2566 19:25
© Reuters.  BAY คาดกรอบเงินบาท 32.50-33.25 จับตาสัญญาณเฟดสัปดาห์นี้

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองที่มีต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-33.25 บาท/ดอลลาร์ จากสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 32.86 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 32.57-32.94 บาท/ดอลลาร์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25bp สู่ระดับ 1.50% เงินดอลลาร์อ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินยูโรแต่แข็งค่าเทียบกับเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ แกว่งตัวออกด้านข้างเพื่อรอผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยสหรัฐฯ รายงานจีดีพีไตรมาส 4/65 เติบโต 2.9% ซึ่งสดใสกว่าคาด สร้างความหวังเกี่ยวกับภาวะ Soft Landing ส่วนข้อมูลการใช้จ่ายบริโภคส่วนบุคคลชะลอตัวตามคาด ด้านธนาคารกลางแคนาดาปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bp สู่ 4.5% ซึ่งเป็นจุดสูงสุดรอบ 15 ปี แต่ระบุว่ามีแนวโน้มที่จะพักการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อประเมินผลจากการเร่งคุมเข้มนโยบายในปีที่ผ่านมา สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางชั้นนำอีกหลายแห่งใกล้ยุติการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 2,921 ล้านบาท และ 2,190 ล้านบาท ตามลำดับ

สถานการณ์ในสัปดาห์นี้มีจุดสนใจของตลาดโลกอยู่ที่การประชุมเฟดวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. ซึ่งคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 25bp สู่ 4.50-4.75% ปฏิกิริยาของนักลงทุนจะขึ้นอยู่กับการสื่อสารของเฟดเกี่ยวกับทิศทางนโยบายระยะถัดไป โดยการร่วงลงของดอลลาร์และ Financial Conditions ที่ผ่อนคลายในช่วงกว่า 3 เดือนที่ผ่านมาสะท้อนการปรับโทนขึ้นดอกเบี้ยในขนาดที่ลดลงไปแล้ว อนึ่ง ปัจจัยชี้นำอัตราแลกเปลี่ยนอาจมาจากการตอบรับของสินทรัพย์เสี่ยง โดยหากตลาดหุ้นเลือกทางปรับฐานลง ค่าเงินดอลลาร์จะได้แรงหนุนชั่วคราว นอกจากนี้ตลาดจะจับตาดัชนี ISM ภาคการผลิตและบริการ การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.ของสหรัฐฯ รวมถึงผลประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)และธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)วันที่ 2 ก.พ. ซึ่งคาดว่าทั้งคู่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50bp

สำหรับปัจจัยในประเทศ กนง. มองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่จะได้รับแรงส่งจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานจากด้านอุปสงค์มีสูงขึ้น ส่วนการส่งออกจะชะลอตัวปีนี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าการเคลื่อนไหวของเงินบาทในขณะนี้ยังสมเหตุสมผล อนึ่ง กรุงศรีคาดว่า กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยสู่ 1.75% ในเดือนมี.ค.ก่อนจะตรึงไว้ที่ระดับดังกล่าวเพื่อประเมิน Balance of Risks ต่อไป

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย