InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.75 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วันศุกร์ที่ระดับ 32.86 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าเทียบท้ายตลาด โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล(PCE) เดือน ธ.ค. ของสหรัฐฯ ออกมาชะลอลงตามคาด ส่งผลให้ดอลลาร์ย่อลง ด้านสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่า นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.65 - 32.95 บาท/ดอลลาร์ ภาพใหญ่ตลาดรอ ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) วันพุธ THAI BAHT FIX 3M (27 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.23917% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.51113% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.75500 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.18 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 129.94 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0871 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0879 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 32.877 บาท/ดอลลาร์ - แบงก์ใหญ่ ส่งสัญญาณลงสนามชิงไลเซนส์ "เวอร์ชวลแบงก์" นำโดย "กสิกรไทย" สนใจขอไลเซนส์ พร้อมเปิดกว้างจับมือ พันธมิตร ด้าน "กรุงศรี" อยู่ระหว่างศึกษา หวังช่วยผู้ใช้บริการลดต้นทุนการเงิน ขณะที่ "ทีทีบี" ยังไม่สนใจเข้าร่วมชิงไลเซนส์ "กอบ ศักดิ์" ฟันธงเวอร์ชวลแบงก์ สะเทือนวงการสถาบันการเงิน เหตุใช้พนักงานน้อยกว่า แต่เข้าถึงคนได้มากกว่า ย้ำชัดไม่ปรับตัวอยู่รอดยาก - นายกฯมั่นใจเศรษฐกิจดี คนไทยจะมีงานทำเพิ่มขึ้นอีก ล่าสุดสำนักงานสถิติฯ เผยสถานการณ์แรงงาน ผู้มีงานทำเพิ่ม 6.2 แสนคน ว่างงานลดลง 9.5 หมื่นคน - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 5.0% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี และชะลอตัวจากระดับ 5.5% ในเดือนพ.ย. ทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคา สินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) - ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐขั้นสุดท้ายดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 64.9 ในเดือนม. ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2565 โดยสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นและตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 64.6 หลังจาก แตะระดับ 59.7 ในเดือนธ.ค. - รัฐมนตรีคลังสหรัฐเปิดเผยว่า ข้อมูลเงินเฟ้อและการจ้างงานได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยอมรับว่า ยังมีความเสี่ยง ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง - นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันอังคารที่ 31 ม.ค. และจะ แถลงมติการประชุมในวันพุธที่ 1 ก.พ.ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับช่วงเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดีที่ 2 ก.พ.ตามเวลาไทย รวมทั้งถ้อยแถลง ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ซึ่งอาจส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังการเปิดเผยดัชนีราคาการ ใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันนี้ ซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ - นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.50%-4.75% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค. - 1 ก. พ.นี้ และจะปรับขึ้นอีก 0.25% สู่ระดับ 4.75%-5.00% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. จากนั้นคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดัง กล่าว ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 28-29 ก.ย. - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลการจ้างงานภาค เอกชนของ ADP ดัชนี ISM ภาคการผลิตและบริการเดือนม.ค. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค. และดัชนีราคาบ้านเดือนพ.ย. และ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์