ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.63 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค ให้กรอบวันนี้ 32.60-32.95

เผยแพร่ 23/01/2566 16:15
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.63 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค ให้กรอบวันนี้ 32.60-32.95
DX
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.63 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.73 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทแข็งค่าตามทิศทางของสกุลเงินอื่นในภูมิภาค หลังจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่า เนื่องจากเมื่อคืนวันศุกร์ มีท่าทีจาก สมาชิกของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่สนับสนุนให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% ใน 2 ครั้งติดต่อกัน ส่งผลให้เงินยูโรปรับ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่า เคลื่อนไหวในกรอบ 32.60 - 32.95 บาท/ดอลลาร์ แต่คาดว่า การซื้อขายจะเบาบาง เนื่องจากหลายประเทศในเอเชียยังติดวันหยุดในช่วงเทศกาลตรุษ จีน THAI BAHT FIX 3M (20 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.28133% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.47836% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.63750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 129.10 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 129.42/46 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0896 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0834/37 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.831 บาท/ดอลลาร์ - กระทรวงพาณิชย์ รายงานสถิติการค้าของไทยกับประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซป) หลังเปิดใช้ครบ 1 ปีแรก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.65 พบว่าไทยมีการขาดดุลการค้ากับประเทศคู่ค้าที่เป็นสมาชิกกว่า 9 แสนล้าน บาท ซึ่งเป็นผลจากการที่ไทยส่งออกไปประเทศสมาชิกอาร์เซปมูลค่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 4.8 ล้านล้านบาท และยอดนำ เข้าจากประเทศสมาชิกอาร์เซป มูลค่า 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 5.7 ล้านล้านบาท โดยการนำเข้าส่วนใหญ่ของไทยมา จากบรูไน ออสเตรเลีย และเมียนมา เป็นอันดับต้น ส่วนการส่งออกส่วนใหญ่เป็นประเทศกลุ่มอาเซียน อย่างอินโดนีเซีย กัมพูชา และ สิงคโปร์ เป็นตลาดส่งออกอันดับต้น รองลงมาเป็นเกาหลีใต้ และออสเตรเลีย - รอง ปธ.หอการค้าไทยในจีนเผย'บ.ทัวร์ไทย-จีน'หารือจัดแคมเปญ เชื่อสัญญาณท่องเที่ยวคึกคัก มั่นใจปีนี้รับ นทท. 10 ล้านคน - "โฆษกรัฐบาล" ระบุฐานะการเงินการคลังของไทยแข็งแกร่ง 3 เดือนแรกปีงบฯ 66 จัดเก็บรายได้ 6.33 แสนล้าน ชี้ เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณเป็นไปในทิศทางบวก เล็งทบทวนประมาณการเศรษฐกิจทั้งปี อาจขยายตัวถึงร้อยละ 3.5-4 - นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์โควิด-19 ในจีนอย่างใกล้ชิด ล่าสุดนักระบาดวิทยาของจีนระบุว่า ชาวจีนกว่า 1.1 พันล้าน คนติดเชื้อโควิด-19 แล้วในขณะนี้ หรือคิดเป็น 80% ของจำนวนประชากร ในขณะที่เชื้อแพร่ระบาดทั่วประเทศ - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีกำหนดเปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนธ.ค.ในช่วงเช้าวันนี้ ทางด้านสหรัฐเตรียม เปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนธ.ค.จาก Conference Board - บิตคอยน์พุ่งขึ้นมากกว่า 6% ในวันศุกร์ (20 ม.ค.) ทะลุระดับ 22,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือน ก.ย. ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต้นเดือนหน้า ซึ่งคาดกันว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% - นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า บิตคอยน์ได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลออัตราการ ปรับขึ้นดอกเบี้ย - ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันศุกร์ที่ระบุว่า เฟดอาจใกล้ถึงจุดที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการ ชะลอเงินเฟ้อตลาดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประกาศผลการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 1 ก.พ. - บรรดานักลงทุนให้น้ำหนักเกือบ 100% ในการคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในเดือนก.พ. ซึ่ง เป็นการประชุมนโยบายการเงินนัดแรกของเฟดในปีนี้ หลังดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐต่างบ่งชี้ว่า เงินเฟ้อของสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 97.2% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ ระดับ 4.50-4.75% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. หลังจากที่ก่อนหน้านี้ให้น้ำหนัก 76.7% - ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนธ.ค.จาก Conference Board, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้น-ภาคบริการขั้นต้น เดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2565 (ประมาณการเบื้องต้น) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค. เป็นต้น

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย