Investing.com - จากการรายงานของรอยเตอร์สกรุงเทพ เศรษฐกิจของไทยหดตัวลงในไตรมาสที่สาม โดยการหดตัวอยู่ที่ 6.4% เนื่องจากการฟื้นตัวของกิจกรรมในประเทศหลังจากข้อจำกัดของไวรัสโคโรนาผ่อนคลายลง แต่การห้ามเดินทางทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่าย
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ตลาดฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากเมื่อเดือนมิถุนายนที่เศรษฐกิจตกต่ำลงกว่า 12.1% ซึ่งทรุดลงเร็วที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษ
ในแต่ละไตรมาสเศรษฐกิจขยายตัวตามฤดูกาล 6.5% ในเดือนกันยายนซึ่งเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในรอบกว่าแปดปี หลังจากที่หดตัว 9.9% ในไตรมาสก่อนหน้า
นักเศรษฐศาสตร์รายงานผลสำรวจคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัว 8.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีและเติบโต 3.8% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส
ส่งผลให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ รับมือกับการหดตัว 6.0% จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ลดลง 7.3% -7.8% ขณะนี้คาดว่าการส่งออกจะลดลง 7.5% ในปีนี้แทนที่จะลดลง 10%
การปรับตัวดังกล่าวทำให้ค่าเงินบาทแข็ง เนื่องจากการท่องเที่ยวหยุดชะงัก และยังมีการประท้วงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ประเทศไทยได้ยกเลิกพรบ.ฉุกเฉินเนื่องจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ชะลอตัวลง และหวังให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามา
“แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกในช่วงฤดูหนาวจะทำให้เศรษฐกิจซบเซาลงในอีก 2 ไตรมาสข้างหน้า” กอบสิทธิ ศิลปชัย หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดทุนของธนาคารกสิกรไทยกล่าว
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา NESDC กล่าวว่าปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย 6.7 ล้านคนระหว่างเดือนเมษายนถึงต้นเดือนตุลาคมหลังจากปีที่แล้วมีสถิติ 39.8 ล้านคนโดยมีการใช้จ่ายคิดเป็น 11.4% ของ GDP
ทั้งนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพียง 5 ล้านคนในปี 2564
รัฐบาลให้การสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านบาท (63,000 ล้านดอลลาร์) ในขณะที่ธนาคารกลางได้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 75 จุดในปีนี้สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50%
SET เพิ่มขึ้น 1.37% ที่ 0340 GMT ขณะที่ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ 30.14 ต่อดอลลาร์
($ 1 = 30.28 บาท)