โดย Detchana.K
Investing.com - ปัจจับที่กระทบการลงทุนที่ต้องติดตามใกล้ชิดระยะนี้ คงหนีไม่พ้นการชุมนุมทางการเมือง จากการศึกษาพบว่า ตลาดหุ้นไทยตอบสนองเชิงลบ ปรับตัวลดลงเฉลี่ย 3.9 % ในช่วง 1 เดือนหลังชุมนุม ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าเฉลี่ย 2.2 % และนักลงทุนต่างชาติไม่ชอบความเสี่ยง และมักจะลดน้ำหนักลงเวลาเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1.ผลการศึกษาหลังการชุมนุมทางการเมืองตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบขนาดไหน
หนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือ สถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงขึ้น ซึ่งใกล้ถึงการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษา ในวันที่ ก.ย. ขณะที่ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม ดูเป็น
เรื่องยากที่ทางฝั่งรัฐบาลจะตอบสนอง
ปัจจัยดังกล่าวถือว่ามีความสําคัญมากสําหรับตลาดหุ้น จากการศึกษาข้อมูลอดีตของเอเชียพลัส ในช่วงเวลา 1 เดือนแรกของเหตุการณ์การชุมนุมสําคัญๆ พบว่า มีหลายปัจจัยที่
กดดัน ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนมากกว่าปกติ ดังนี้
ค่าเงินบาทมักอ่อนค่า ในช่วงเวลา 1 เดือน หลังมีการชุมนุม ค่าเงินบาทอ่อนค่าเฉลี่ย 2.2 % แนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท มีส่วนกดดันให้ Fund Flow มีโอกาสชะลอการไหลเข้า เนื่องจากทําให้เกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยหนัก ในช่วงเวลา 1 เดือนหลังมีการชุมนุมต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยเฉลี่ย - 2.08 หมื่นล้านบาท แสดงให้เห็นว่าต่างชาติไม่ชอบความเสี่ยง และมักจะลดน้ำหนักลงเวลาเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง
เบี้ยประกันความเสี้่ยงของการผิดนัดชําระหนี้ไทย (CDS Spread 5 ปี ) เร่งตัวขึ้นทุกรอบที่มีการชุมนุมในช่วง 1 เดือนหลังชุมนุม เฉลี่ยราว 25 bps. สะท้อนให้เห็นถึงภาพความเสี่ยงของการผิดนัดชําระหนี้ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินสูงตามขึ้นไปด้วย
SET Index ตอบสนองเชิงลบ ปรับตัวลดลงเฉลี่ย 3.9 % ในช่วง 1 เดือนหลังชุมนุม ประเด็นทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา เป็นตัวกดดันให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนและปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ
2. เห็นการปรับเพิ่ม GDP ปี 63 ล่าสุดคือยุโรป ส่วนสัปดาห์หน้าประชุม Fed และ กนง. 23 ก.ย.จะปรับเพิ่ม/ลด GDP หรือไม่??
Downside ในการปรับลด GDP Growth ทัวโลกและไทยลดลง ดังที่เอเชียพลัสนําเสนอในPaper กลยุทธ์เดือน ก.ย. คือ เศรษฐกิจงวด 2Q63 เป็นจุดต่ำสุด และงวด 3Q-4Q63 จะ
ค่อยๆฟื้นตัว ผลจากการรัฐบาลทั่วโลกคลาย Lockdown โดยการ Upgrade GDP (คือปรับ GDP ติดลบน้อยลง) เริ่มจาก ไทย เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ม.หอการค้าไทย ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปี 63 คือคาด-7.5%yoy (เดิมคาด -9%)
สหภาพยุโรป ล่าสุด เมื่อวานนี้การประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) ปรับเพิ่มGDP ปี 63 เหลือ -8 %yoy จากรอบ มิ.ย.คาด -8.7% และปรับเพิ่มคาดอัตราเงินเฟ้อ ปี 2564 เป็นขยายตัว 1%yoy เดิมคาด 0.8%yoy แต่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% ตามที่ตลาดคาด ส่วนประเด็นเป้าเงินเฟ้อ ECB ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง คือคงเป้าที่เดิม 2% ทําให้ตลาดผิดหวัง เพราะคิดว่า ECB จะเปลี่ยนรูปแบบใกล้เคียง Fed
ในช่วงที่เหลือของปีเชื่อว่าอาจจะเห็นการ Upgrade GDP Growth จากธนาคารกลาง, สํานักเศรษฐกิจอื่นๆทั่วโลก รวมถึงไทย โดยให้น้ำหนักการประชุมธนาคารกลางสําคัญ
ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระหว่าง 16-17 ก.ย. รอบนี้ Fed จะมีรายงานคาดการณ์ GDP Growth และอัตราเงินเฟ้อเช่นเดียวกับ ECB ASPS ให้น้ำหนักว่า จะมีการ Outlook GDP อย่างไร หรือไม่ ?? พิจารณาจากปัจจัย แวดล้อมพบว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งอัตราการว่างงานเดือน ส.ค. ลดลงเหลือ 8.4% จากจุดสูงสุดที่ 14.7% ในเดือน เม.ย. 2563, ยอดค้าปลีกฟื้นตัว 2.7%yoy ในเดือน ก.ค. 2563 จากจุดต่ำสุดที่ -19.9 % ในเดือน เม.ย. 2563, ดัชนี PMI ภาคการผลิตฟื้นมาที่ระดับ 53.1 จุด จากจุดต่ำสุด 36.1 จุด ในเดือน เม.ย. 2563 เป็นต้น
3.JMTเสนอขายหุ้น RO และ PP รองรับการซื้อหนี้
เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (BK:JMT) แจ้งตลาดเรื่องการออก JMT-W3 และการเพิ่มทุนแบบ General Mandate ในส่วนของการออก JMT-W3 นั้นจะจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน จำนวนไม่เกิน 100 ล้านหน่วย โดยมีราคาใช้สิทธิที่ 42 บาท มีอายุ 1 ปี 6 เดือน ซึ่งราคาใช้สิทธิสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบันจึงไม่มี Price Dilution และมี Earning Dilution ที่ราว 10% ขณะที่การเพิ่มทุนแบบ General Mandate นั้น แบ่งเป็นการเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (RO) ไม่เกิน 267.45 ล้านหุ้น และเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ไม่เกิน 89.15 ล้านหุ้น โดยปัจจุบันยังไม่กำหนดราคาเพิ่มทุน จึงยังไม่สามารถคำนวณ Price Dilution ได้ แต่มี Earning Dilution ราว 40% และ Control Dilution ราว 9%
บล.ตรินิตี้ คาดว่าเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนและการใช้สิทธิ Warrant บริษัทจะนำไปต่อยอดการซื้อหนี้ในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันทำให้มีโอกาสสูงที่ NPL จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี 63 และในปี 64 จึงเป็นโอกาสของบริษัทในการซื้อหนี้ ทั้งนี้หากนับเฉพาะส่วนของ PP ที่ส่งผลให้มี Control Dilution ราว 9% นั้น ไม่สูงเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของกำไรเดิมที่ราว 30% ต่อปี และหากนำเงินเพิ่มทุนไปขยายการซื้อหนี้ก็จะทำให้กำไรสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้เรายังติดตามราคาเพิ่มทุน และรายชื่อผู้ถือหุ้นใหม่ซึ่งจะเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม ให้รอการทบทวนราคาเป้าหมาย โดยปัจจุบันยังคงราคาเป้าหมายเดิมที่ 35 บาท