โดย Detchana.K
Investing.com - ดัชนี MAI แม้ผ่านไตรมาสสองของปีนี้ไปได้แบบไม่สวยงาม โดยกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในตลาดลดลงถึง 76% จากผลกระทบของโควิด-19 แต่นักวิเคราะห์ยังมองว่าน่าสนใจกว่าดัชนี SET Index และผลประกอบการของบริษัทน่าจะฟื้นตัวใน 2H63 ดัชนี MAI มีจุดเด่นอย่างไรเหตุใดผู้เชี่ยวชาญจึงมองเช่นนี้ ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1.กำไรไตรมาสสอง ของ MAI ไม่สวย แต่มีหลายตัวที่เด่นและจะเด่นมากใน 2H63
กำไรสุทธิ 2Q63 ของบริษัทจดทะเบียนในMAI อยู่ที่194 ล้านบาท -76% QoQ, -91% YoY จาก ผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 กลุ่มที่ออกมาแย่YoY คือ สินค้าอุปโภคบริโภค อสังหาฯ และ บริการ ส่วนกลุ่มที่ออกมาดีYoY คือ เกษตรอาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม แนวโน้ม 3Q63 คาดว่าผลประกอบการของบริษัทส่วนใหญ่จะฟื้นตัว QoQ แต่เมื่อเทียบ YoY ยังชะลอตัวลง เช่นเดียวกับทิศทางบริษัทใหญ่ใน SET กลุ่มที่จะฟื้นได้ดียังเป็นเกษตร อาหาร เครื่องดื่ม รองลงมาคือกลุ่มบริการที่เริ่มได้แรงหนุนจากการคลาย Lockdown และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว+การจับจ่ายใช้สอยในประเทศ
ส่วนแนวโน้ม 3Q63 คาดว่าผลประกอบการของบริษัทส่วนใหญ่จะฟื้นตัว QoQ แต่เมื่อเทียบ YoY ยังชะลอตัวลง เช่นเดียวกับทิศทางบริษัทใหญ่ใน SET กลุ่มที่จะฟื้นได้ดียังเป็นเกษตร อาหารเครื่องดื่มรองลงมาคอืกลุ่มบริการที่เริ่มได้แรงหนุนจากการคลาย Lockdown และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว+การจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ซึ่งจุดเด่นของหุ้นใน MAI คือ Valuation ที่ประเมินจาก Current PBV ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง และ PBV Spread (mai – SET) ยังอยู่ในโซนต่ำ ที่0.16 เท่า ตรงข้ามกับ ROE Spread (mai – SET) ที่เร่งตัวขึ้น เป็น -1.63% จาก -4.5% ในปี 2562 สะท้อนว่า mai ยังน่าสนใจกว่า SET ในเชิง Valuation แม้ Index Performance จะดีกว่า SET มาตั้งแต่เม.ย. 63
โดย Index Ratio ระหว่าง mai:SET ขยับขึ้นต่อเนื่อง และกำลังทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 12 ไตรมาสที่ 0.24 เท่า ซึ่งถ้าผ่านขึ้นไปได้จะสร้างโมเมนตัมเชิงบวกให้กับการเก็งกำไรในหุ้น mai อย่างมาก นอกจากนี้ผลประกอบการส่วนใหญ่ของหุ้นใน mai ยังเข้าสู่โหมด Turnaround แต่มีจุดที่ต้องระวังคือบริษัทที่กำไรสุทธิพุ่งแรงใน 1H63 อาจมาจากคำสั่งซื้อ ที่มากผิดปกติ (Pent Up Demand) ซึ่งมีความเสี่ยงที่กำไรสุทธิจะทรุดหนักใน 2H63 การคัดกรองหุ้นแนะนำของเราใน 3Q63 จึงได้ให้ความสำคัญกับผลประกอบการที่อาจฟื้นตัวเพียงชั่วคราวด้วย
2. ค่าเงินบาท USD/THB สัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.20-31.60 ต่อ ดอลลาร์
ตลาดการเงินสัปดาห์นี้ นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การประชุมธนาคาร กลางยุโรป(อีซีบี) วันที่ 10 ก.ย. เพื่อติดตามการสื่อสารกับ ตลาดในประเด็นการดําเนินนโยบายการเงินสําหรับระยะถัดไป โดยเราคาดว่าอีซีบีจะส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบาย เพิ่มเติมอย่างชัดเจนมากขึ้นท่ามกลางภาวะที เงินเฟ้ออยู่ใน ระดับต่ำมากและเงินยูโรแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยในภาพรวม เงินดอลลาร์มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นชั่วคราว ขณะที่ตลาดกําลังหันความสนใจไปที่ ธนาคารกลางแห่งอื่นๆนอก สหรัฐฯ นอกจากนี้ การเจรจาข้อตกลง Brexit ระหว่าง สหภาพยุโรปกับสหราชอาณาจักร ทิศทางการเมืองสหรัฐฯ รวมถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนจะส่งผลต่อการ เคลื่อนไหวของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน
สําหรับปัจจัยภายในประเทศ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ส.ค.ลดลง 0.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นอัตราการติดลบทีน้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่ ดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมอาหารสดและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าเงินเฟ้อทีติดลบน้อยลงสะท้อนเศรษฐกิจทีมีแนวโน้มฟื้นตัว อนึ่ง แม้เราประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)จะมีแนวโน้มตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ ระดับ 0.50% ในการประชุมวันที 23 ก.ย. แต่ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นทั้งจาก สถานการณ์โรคระบาดทั่วโลก การเมืองในและต่างประเทศ ภาวะสูญญากาศและความไม่ชัดเจนของโครงสร้างการ บริหารจัดการมาตรการกระตุ้นทางการคลังท่ามกลางวิกฤติ เพิ่มความเสี่ยงด้านต่ำต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอาจบั่นทอนความเชื่อมั่นในสินทรัพย์สกุลเงินบาทมากขึ้น
3.นักลงทุนยังคงมองราคาทองสัปดาห์หน้าเป็นบวก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผลสำรวจ ราคาทอง XAU/USD ประจำสัปดาห์ระหว่าง 7-11 ก.ย. จาก14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 4 ราย หรือเทียบเป็น 29% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 7 ราย หรือเทียบเป็น 50% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 322 ราย ในจำนวนนี้มี 122 ราย หรือเทียบเป็น 38% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์นี้หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 104 ราย หรือเทียบเป็น 32% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 96 ราย หรือเทียบเป็น 30% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ราคาทองคำในประเทศ 96.5% ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 28,700 – 29,150 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 28,700 บาท ต่อบาททองคำ ปรับลดลง 150 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 28,850 บาท)
ปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้คือ ตลาดการเงิน และตลาดทุนของสหรัฐฯ จะปิดทำการในวันที่ 7 กันยายน 2563 เนื่องในวันแรงงาน อาจส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายในตลาดทองคำเบาบาง ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังของสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากที่หยุดชะงักไปจากผลกระทบของมาตรการ "Lockdown" เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้านี้ รวมถึงสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน เมื่อสหรัฐฯ ประกาศการริเริ่มความสัมพันธ์แนวใหม่กับไต้หวันเพื่อช่วยต้านแรงกดดันจากจีน และการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) รอบใหม่