โดย Detchana.K
Investing.com - การลาออกอย่างกะทันหันของรัฐมนตรีคลังคนใหม่ นายปรีดี ดาวฉาย หลังปฏิบัติหน้าที่ขุนคลังได้เพียง 21 วัน ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าการใช้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลายๆมาตรการอาจต้องยืดระยะเวลาออกไป ขณะที่ธปท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนสิงหาคม ไต่ขึ้นมาที่ระดับ 45.7 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1.ข่าว รมว. คลัง ลาออก เพิ่มความเสี่ยงให้เศรษฐกิจและ ตลาดหุ้นไทย
บล.เอเชียพลัสเผยว่า การลาออกของ รมว.คลัง นายปรีดี ดาวฉาย ถือเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันและความเสี่ยงเพิ่มเติมให้กับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย โดยประเมินว่าจะเกิดสูญญากาศในการออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจยาวนานขึ้น ดังนี้ มาตรการกระตุ้นเศรฐกิจที่เอกชนเคยเสนอ และเป็นสิ่งที่สร้างความคาดหวังในช่วงก่อนหน้า หลัง รมว.คลังลาออกคาดมีโอกาสล่าช้า หรือสะดุด อาทิ มาตรการกระตุ้นการบริโภค เช่น ช้อปช่วยชาติ , ชิมช็อปใช้ , ภาคยานยนต์ คือ โครงการรถเก่าแลกรถใหม่ คือให้สิทธิ ในการหักลดหย่อนภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อคัน ในภาคตลาดทุน ก่อนหน้านี้ FETCO เสนอ ต่ออายุกองทุน SSFX และลดระยะเวลาถือครองเหลือ 7 ปี จากเดิม 10 ปี ,ยกเว้นภาษี เงินปันผลสำหรับผู้ลงทุนเกิน 1 ปี
การผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่คาดล่าช้า ตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานปี 2563 มี โครงการลงทุนที่รัฐตั้งเป้าไว้จานวน 1.95 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการที่ ครม. อนุมัติแล้ว 1.2 ล้านล้านบาท เช่น รถไฟฟ้า สีส้ม ตะวันตก 1.09 แสนล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีม่วง 1.01 แสนล้านบาท เป็นต้น เชื่อว่าตลาดรับปัจจัยลบเพียงระยะสั้งหลังขุนคลังคนใหม่ถอนตัว
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ของ Country Group มองว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะยังขึ้นต่อได้แม้จะมีปัจจัยในประเทศกดดัน เกี่ยวกับการลาออกของ รมว. คลัง แต่ให้น้้าหนักเป็นเพียงปัจจัยกระทบเชิงจิตวิทยาเท่านั้น และไม่มีผลต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มที่รับผลกระทบช่วงสั้นมองว่าจะเป็นรับเหมาก่อสร้าง นิคมอุตสาหกรรม เสาเข็ม
2. ธปท. รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. ดีขึ้น MoM แต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 2563 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ มาอยู่ที่ระดับ 45.7 จากความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ โดยเฉพาะในภาคการผลิตสำคัญอย่างกลุ่มผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงกลุ่มผลิตยานยนต์ที่ได้รับปัจจัยบวกจากการส่งเสริมการขายและการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ในระยะที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่เหนือระดับ 50 ได้เป็นครั้งแรก สะท้อนความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มธุรกิจจะเริ่มปรับดีขึ้นจากปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านการผลิตและคำสั่งซื้อ นำโดยกลุ่มผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และ กลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ รวมถึงผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และผู้ผลิต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นมากในเดือน ส.ค. สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคการผลิต ที่ฟื้นตัวค่อนข้างดี ด้านภาคที่มิใช่การผลิต ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจเช่นกัน ยกเว้นกลุ่มก่อสร้าง
สอดคล้องกับฝั่งสหรัฐที่ ดัชนี PMI ฟื้นต่อ หนุนตลาดหุ้น และราคาน้ามันดิบโลก ดัชนีชีนำเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจาก PMI ภาคการผลิต เดือนส.ค. ทั่วโลก อาทิ จีน , ยุโรป ฟื้นตัว mom และที่สำคัญคือสหรัฐ เมื่อวานนี้ (ISM Manufacturing PMI เดือน ส.ค. 2563 ฟื้นตัว 3.3%mom ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 54.5 จุด โดยนับเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี 8 เดือนสาเหตุสำคัญมาจากการผ่อนคลาย Lockdown ของสหรัฐ หนุนคำสั่งซื้อใหม่ (New Orders) แตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี 5 เดือน
3.กลุ่มขนส่งทางบก ผู้โดยสารกลับมาคึกคัก
บล.เอเชียพลัสเผยว่าระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพและปริมณฑลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตของปริมาณผู้โดยสารต่อเนื่องทุกปี เฉลี่ยปีละ 8 % จากการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวและสายสีน้ำเงินโดยปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว 5 สาย คือ สายสีเขียวเข้ม สายสีเขียวอ่อน สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และแอร์พอร์ตลิงค์
ครอบคลุม ระยะทางรวมกว่า 157 กม. และกําลัง อยู่ในระหว่างก่อสร้างอีกหลายสาย ได้แก่ ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีแดง สายสีส้ม สายสีทองระยะทางรวมกว่า 208 กม. นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายสายที่กําลังรออนุมัติเข้าแผนแม่บท โดยตามแผนแม่บท M-Map2 ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของประเทศไทยจะมีระยะทางรวม 557 กม. ซึ่งคิดเป็นกว่า 3 เท่า ของระยะทางให้บริการให้ปัจจุบัน
สําหรับ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BK:BTS) มองว่าในแง่ของการฟื้นตัวอาจไม่ได้โดดเด่นเท่า ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BK:BEM) เนื่องจากโครงสร้างรายได้ของ BTS มีความหลากหลายโดยรายได้หลักมาจากงานก่อสร้าง ติดตั้งระบบและเดินรถ ซึ้งไม่ได้อิงตามปริมาณผู้โดยสาร แม้จะมีรายได้รับจ้างเดินรถเพิ่มขึ้น จากการเปิดส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือเพิ่ม 4 สถานี (สถานีกรมป่าไม้สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ) ในวันที่ 5 มิ. ย.63 และมี กำหนดเปิดให้บริการอีก 7 สถานีสุดท้าย ภายใน ธ.ค.63 ขณะที่ส่วนแบ่งกําไรจาก BTSGIF คาดว่าจะดีขึ้นจากไตรมาสก่อนตามปริมาณผู้โดยสารรไฟฟ้าสายสีเขียวหลัก แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงลบรุนแรงจาก COVID-19 อย่างสื่อโฆษณาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงส่วนแบ่งกําไรจาก U City ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อกลับสู่ภาวะปกติ
อย่างไรก็ตาม BTS มีศักยภาพการเติบโตระยะยาวที่มากกว่า BEM จากโครงการต่างๆที่มีอยู่ในมือได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง มอเตอร์เวย์ และโครงการ พัฒนาสนามบินอู่ตะเภา