โดย Detchana.K
Investing.com - ยอดส่งออกและนำเข้าไทยยังหดต่ออย่างต่อเนื่องในเดือนกรกฎาคม โดยยอดส่งออกลดลง 11.37% ส่วนนำเข้าลดลง 26.38% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที Krungthai Global Markets คาดว่า ดุลการค้าจะเกินดุลต่อเนื่องและหนุนให้ เงินบาทแข็งค่าขึ้น แตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี ติดตามรายละะียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1.ส่งออกเดือนกรกฎาคมฟื้น แต่คงยัง“หดตัว 11.37%”
กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนกรกฎาคมโดยยอดการส่งออกหดตัวลดลงเหลือ -11.37% ขณะที่ยอดการนำเข้าหดตัวมากขึ้นถึง -26.38% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ยอดการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 18.8 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 14% แต่คิดเป็นการหดตัว 11.37%y/y โดยสินค้าอุตสาหกรรมหดตัว 10.3% ดีขึ้นจากที่หดตัวถึง 25.1% ในเดือนก่อนหน้า หนุนโดยการฟื้นตัวของยอดการส่งออกสินค้าเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หดตัว 6.9% จากที่หดตัวกว่า 15% เช่นเดียวกับ สินค้าในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนก็ฟื้นตัวดีขึ้น โดยหดตัว25.2% จากที่หดตัวกว่า 40% อย่างไรก็ดีสินค้าเกษตรยังคงเผชิญปัญหาหนัก สะท้อนจากปริมาณการส่งออก(Volume) ที่หดตัวหนักขึ้น ในเกือบทุกหมวดสินค้า ยกเว้นสินค้าจากมันสำปะหลังที่ปริมาณการส่งออกโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่3 ถึง 12.4% จากปีก่อนหน้า
ยอดนำเข้ามีมูลค่า 15.5 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า4.7% แต่หดตัว 26.4%y/y มาจากยอดนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบที่หดตัวลงมากขึ้นถึง 25.1%และ 24.1% ส่วนยอดการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงโดยเฉพาะน้ำมันดิบก็หดตัวกว่า 45%ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากฐานราคาน้ำมันดิบที่สูงกว่าปีนี้ราว 30%
Krungthai Global Markets คาดว่า ดุลการค้าจะเกินดุลต่อเนื่องและหนุนให้ เงินบาทแข็งค่าขึ้น แตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี การส่งออกสินค้าไทยจะทยอยฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ขณะที่ยอดการนำเข้าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่า จากการเลื่อนลงทุนของบริษัทเอกชนส่วนความต้องการสินค้าในประเทศก็จะค่อยๆฟื้นตัวและราคาน้ำมันก็จะต่ำกว่าปีก่อนราว 30%ทำให้มูลค่าการส่งออกจะสูงกว่าการนำเข้าเสมอและช่วยให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นแตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี ผู้ส่งออกจึงควรเตรียมป้องกันความเสี่ยงกรณีเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ในระยะสั้นเงินบาทมีความเสี่ยงที่จะผันผวนสูงขึ้นและอาจอ่อนค่าลงใกล้ระดับ 31.80 บาทต่อดอลลาร์ได้ จากปัจจัยความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงใกล้การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ประเด็นการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่สองและความอ่อนไหวของการเมืองในประเทศ
2. นักลงทุนยังคงมองราคาทองสัปดาห์นี้เป็นบวก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ศูนย์วิจัยทองคำเผยผลสำรวจ14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 5 ราย หรือเทียบเป็น 36% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 6 ราย หรือเทียบเป็น 43% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 355 ราย ในจำนวนนี้มี 146 ราย หรือเทียบเป็น 41% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 112 ราย หรือเทียบเป็น 32% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 97 ราย หรือเทียบเป็น 27% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 28,550 – 29,500 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 28,950 บาท ต่อบาททองคำ ปรับเพิ่มขึ้น 350 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 28,600 บาท)
อัพเดตราคาทองคำ GOLD SPOT XAU/USD
สำหรับนักลงทุนโกลด์ฟิวเจอร์ส อัพเดตราคา สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำ ล่าสุด
ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ กรณีรัสเซียเตรียมทดลองวัคซีนโควิด-19 กับประชาชน 40,000 คน ซึ่งเป็นการทดลองวัคซีนโควิด-19 ครั้งแรกของรัสเซียเพื่อรอรับการอนุมัติด้านกฎระเบียบในประเทศ ฝั่งสหรัฐนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อาจแถลงเรื่องการปรับปรุงการดำเนินการด้านนโยบายการเงินในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2563 และติดตามรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ เช่น รายงานยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
3.เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.35-31.80 ต่อ ดอลลาร์
ศูนย์วิจัยกรุงศรีเผยว่าตลาดการเงินโลกสัปดาห์นี้จุดสนใจจะอยู่ที Jackson Hole Symposium ซึ่งเป็นการประชุมเชิงวิชาการของธนาคารกลางจากหลายประเทศโดยประธานเฟดมักใช้เวทีนี้ส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งสําคัญ
ขณะที่ คาดว่าในวันที 27 ส.ค. ประธานเฟดอาจกล่าวถึงการพิจารณาทบทวนกรอบนโยบาย การเงินของเฟดเพื่อสะท้อนทิศทางนโยบายที่ จะส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากเป็นเวลานานกว่าทีตลาดเคยคาดไว้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะยังคงจับตาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ความคืบหน้าเกี่ยวกับ แพคเกจการคลังชุดใหม่ของสหรัฐฯ รวมถึงการแพร่ระบาด ของ COVID-19 ที่ขยายวงอีกครั้งในยุโรปและเอเชีย
สําหรับปัจจัยในประเทศ นักลงทุนต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมือง ขณะที่ ธปท.เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน(กนง.)สําหรับวันที 5 ส.ค.โดยระบุว่าดอกเบี้ยนโยบาย ทีต่ำเป็นประวัติการณ์เอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และ การลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอาจมีประสิทธิผลจํากัด จึงเห็นควรให้ รักษาขีดความสามารถในการดําเนินนโยบาย การเงิน(Policy Space) เพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและให้ เกิดประสิทธิผลสูงสุด
ทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนทางการเห็น ควรให้ประเมินความจําเป็นของมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม โดยเฉพาะการเร่งสร้างสมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยเอื้อให้ภาคเอกชนทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศได้สะดวกขึ้น และลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เสรีขึ้น คาดว่า กระแสเงินทุนไหลออกที่กลับมาเร่งตัวในเดือนนี้มีแนวโน้ม กดดันให้เงินบาท USD/THB อ่อนค่าลงช่วงต้นสัปดาห์จนกว่าท่าทีของ ประธานเฟดจะชี้นําทิศทางค่าเงินดอลลาร์ในระยะถัดไป