3 เรื่องที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้ ( 21 ส.ค.)

เผยแพร่ 21/08/2563 11:26
© Reuters.
SETI
-

โดย Detchana.K

Investing.com - สัปดาห์หน้านักลงทุควรจับตาดูตัวเลขการนำเข้า-ส่งออกไทย จากสภาพัฒน์ฯ ซึ่งคาดว่าการส่งออกไทยเดือนก.ค. จะหดตัวต่อเนื่องที่ -15.5% ประกอบกับการชุมนุมทางการเมืองซึ่งนักวิเคราะห์ได้ประเมินตัวเลขให้นักลงทุนเห็นว่า ตลาดหุ้นที่ผ่านมาได้รับแรงกดดันมากน้อยเพียงใดหลังเกิดการชุนุมทางการเมือง ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้

1. ติดตามตัวเลขนำเข้า-ส่งออกไทยสัปดาห์หน้า ส่วนต่างประเทศยังมีหลายประเด็นต้องติดตาม

บล.เอเชียพลัส รายงานว่า วันที่ 24 ส.ค. นี้ สำหรับปัจจัยในประเทศ ให้น้ำหนักตัวเลขการส่งออก และนําเข้าของไทย เดือน ก.ค. 2563 ซึ่งตลาดคาดการส่งออกจะหดตัว -15.5%yoy จากเดือนก่อนที่ -23.2%yoy และการนําเข้า – 16.7% จากเดือนก่อนที่ -18.1% และเมื่อพิจารณายอดนําเข้าของประเทศคู่ค้า ไทย อาทิ อินเดีย, ญีปุ่น, จีน (เกือบ 40% ของการส่งออกรวมของไทย) หดตัวเฉลี่ย -14.4% จึงคาดว่าในครั้งนี้ ข้อมูลการส่งออกของไทยอาจออกมาใกล้คยังกับที่ตลาดคาด

ประเด็นในต่างประเทศที่ตลาดให้น้ำหนักในช่วงนี้ คือ “การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 พ.ย. 2563 โดย ล่าสุดวานนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ เผยว่า หากตนได้รับ
เลือกเป็นประธานาธิบดีอีก 1 สมัย จะพิจารณาดําเนินการขึ้นภาษีนำเข้ากับบริษัทสัญชาติสหรัฐ ที่ปฎิเสธการย้ายฐานการผลิตกลับมายังสหรัฐ และสําหรับบริษัทที่ย้ายกลับมาจะ
ทําการคืนภาษี ให้ประเด็นการหาเสียงล่าสุดของประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ตอกยํามุมมองทีASPS นําเสนอมาโดยตลอดที่ว่า หากประธานาธิบดีทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง จะ
ส่งผลให้สหรัฐเดินหน้ากีดกันการค้ากับทัวโลกต่อไป

สัปดาห์หน้าประเด็นทีต้องติดตาม วันที่ 24-27 ส.ค. 2563 ให้น้ำหนักการประชุมใหญ่ ของพรรค Republican (Republican National Convention) ซึ่งจะเป็นการคัดเลือกผู้สมัครเลือกตั้ง ประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ โดยพรรค Republican มีผู้สมัครชิงตําแหน่ง ประธานาธิบดีคนสําคัญคือ นายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐคนปัจจุบัน

27 ส.ค. 2563 ให้น้ำหนัก การกล่าวสุนทรพจน์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) โดยน้ำหนักมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และแนวทางการดําเนินนโยบายในช่วงที่เหลือของปีนี้ ภายหลังรายงานการประชุม Fed (Fed Minute) ระบุว่าคณะกรรมการ Fed มองว่าผลกระทบของการระบาด COVID-19 ยังมี ผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ และในวันเดียวกัน ให้น้ำหนักการรายงาน GDP สหรัฐ งวด2Q63 (รายงานครั้งที่ 2) โดยตลาดคาดหดตัว -32.5%qoq จากครั้งก่อนที่รายงานไว้ -32.9%qoq (งวด 1Q63 –5%qoq)

2. เรียนรู้จากอดีต ..การชุมชุมสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นแค่ไหน?

หนึ่งปัจจัยเสียงที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงขึ่น โดยการชุมนุมของนักเรียน-นักศึกษา มีการกระจายตัวออกในวงกว้าง ขณะที่ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้
ชุมนุม ดูเป็นเรื่องยากที่จะได้รับการตอบสนอง นอกจากนี้ในสภาเองก็มีประเด็นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงเริ่มเห็นกระแสสนับสนุนให้ยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ สภาพแวดล้อมทาง
การเมืองดังกล่าวต้องติดตามว่าจะมีผลกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

ฝ่ายวิจัยของเอเชียพลัสจึงทําการเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต ตอนช่วงเดือนแรกของเหตุการณ์การชุมนุมสําคัญ ๆ ทั้งในช่วง พ.ค., มี . ค. 2553 และ ต.ค. 2556 พบว่า

SET Index ตอบสนองเชิงลบปรับตัวลดลงเฉลี่ย 3.87 % ในช่วง เดือนหลังชุมนุมและเป็นการปรับตัวลดลงมากกว่าภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกทุกครั้ง ประกอบด้วย ปี51 SET Index ลดลง 12.2 %, ปี 53 เพิ่มขึ้น 4.2 % (เป็นช่วงที่หลายประเทศทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพือแก้ Humburger Crisis ทำให้มีสภาพคล่องส่วนเกินไหล
เข้าตลาดหุ้นทั่วโลก) และ ปี 56 ลดลง 4.2 %

ต่างชาติขายสุทธิเฉลี่ย -2.08 หมื่นล้านบาท ในช่วง 1 เดือนหลังชุมนุม โดย เดือนหลังชุมนุมปี 51 ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย -4.2 หมื่นล้านบาท, ปี 53 ต่างชาติซื้อสุทธิ 2.9 หมื่นล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคทุกประเทศ) และ ปี56 ต่างชาติขายสุทธิ -5.0 หมื่นล้านบาท

สรุปคือ นักลงทุนให้ความสําคัญเรื่องของผลกระทบจากสถานการณ์การเมือง ที่จะมีต่อภาวะเศรษฐกิจอาจไม่สามารถดําเนินได้ เต็มที่จะทําให้ การฟื้นตัวเกิดขึ้นได้ยากซึ่งส่งผลลบต่อดัชนีตลาดหุ้น , Fund Flow, ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ ,ค่าเงินบาท ตามที่กล่าวไว้ ข้างต้น ดังนั้นการชุ่มนุมในปัจจุบันถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติ และกดดันเคลือนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทย

3. กลุ่มยานยนต์ยังติดลบหนัก แม้ดีขึ้นจากเดือนก่อน

บล. คันทรี กรุ๊ป เผยว่า ส.อ.ท.เผยยอดส่งออกรถยนต์ก.ค. 63 ลดลง 39.67% เป็นการลดลงทุกตลาดจากโควิด-19 สภาอุตสาหกรรมรายงานตัวเลขประจำเดือน ก.ค. 20 มียอดขายรถยนต์ในประเทศอยู่ที่ 59,335 คัน -27%YoY, +2%MoM ส่งออก จำนวน 49,564 คัน -40%YoY, -1%MoM และมีการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 89,336 คัน -48%YoY, +25%MoM และรวมแล้วในช่วง 7M20 การผลิตรถยนต์อยู่ที่ 695,468 คัน (-44%YoY) ตัวเลขที่ออกมาเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. 19 ยังคงมาจากผลกระทบของโรค Covid เป็นหลักที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงทั่วโลก ส่วนเมื่อเทียบกับ มิ.ย. 20 เป็นการเพิ่มขึ้นได้เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันได้รับผลดีจากการจัดงาน Motor Show ที่ทำให้ช่วยกระตุ้นตลาดใน ประเทศได้ รวมถึงค่ายรถยนต์มีการเร่งผลิตเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อเข้ามาในช่วงก่อนหน้า

แม้จะมองผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ยอดรวมทั้งปียังต้องลุ้น คงน้่าหนักการลงทุนที่ “น้อยกว่าตลาด” ตัวเลขเดือน ก.ค. ที่ออกมาแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าจุดต่ำสุดของการผลิตได้ผ่านไปแล้วใน เดือน เม.ย. แต่ด้วยการลดลงจากปีก่อนที่ยังสูงถึงระดับ 48% ทำให้หากในช่วงที่เหลือของปีอัตราติดลบยังอยู่ในระดับดังกล่าวอยู่ทำให้ การผลิตทั้งปีอาจจะไปไม่ถึงกรอบบนที่เคยมองไว้ที่ระดับ 1-1.3 ล้านคันได้ (ทางสภาอุตสาหกรรมมองไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคันซึ่งคาดว่าระดับดังกล่าวมีโอกาสไปถึงได้)

ทั้งนี้หากยอดออกมาต่ำกว่าที่เคยคาดไว้จะกระทบกับการฟื้นตัวของผลประกอบการที่ประเมินไว้ได้ นอกจากนี้ยังต้องติดตามผลกระทบจากปัจจัยด้านการเมืองในประเทศเพิ่มเติมว่าจะเป็นเช่นไร ดังนั้นจึงยังคงน้ำหนักการลงทุนไว้ที่ “น้อยกว่าตลาด” เช่นเดิม

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย