โดย Detchana.K
Investing.com - หลังจากที่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในไทย ประเด็นนี้เป็นหลักๆที่กระทบต่อทั้งตลาดหุ้นและตลาดการเงินของไทยในเวลานี้ โดยค่าเงินบาทขานรับด้วยการปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว วันนี้เปิดตลาดอยู่ที่ 31.36 บาทต่อดอลลาร์ ส่วน SET Index ปรับลงกว่า 21 จุดเมื่อวานนี้ ส่วนอีกปัจจัยคือการชุมนุมทางการเมืองที่นักวิเคราะห์แนะว่าต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1.เงินบาทอ่อนค่าแบบเฉียบพลัน จากข่าวโควิด-19 รายใหม่ในประเทศ
นักลงทุนในตลาดเงินโลกส่วนใหญ่กลับมาขายทำกำไรสินทรัพย์ทั่วโลก เมื่อตลาดมีมุมองปิดรับความเสี่ยง (Risk Off) ปัจจัยดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ US Dollar Index ให้แข็งค่า 0.6% แต่เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลง ตัวแปรตลาดการเงินอื่น ๆ จึงแทบหนุดนิ่ง เช่นราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ทรงตัวที่ 42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาทองคำไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับ 1929 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และบอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปีที่ปรับตัวขึ้นเพียง 1bps มาที่ 0.68%
ด้าน ค่าเงินบาทUSD/THB ระยะสั้นปรับตัวอ่อนค่าเร็วเนื่องจากตลาดกลับมาให้ความสนใจกับผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสรายใหม่ในประเทศ เชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวสามารถกดให้เงินบาทอ่อนค่าได้ 1-2% จากต่ำสุดไปที่ 31.40-31.60 บาทต่อดอลลาร์ได้ เพราะเริ่มในช่วงเดียวกันกับที่ตลาดการเงินทั่วโลกเข้าสู่โหมดปิดรับความเสี่ยง แต่เนื่องจากประเด็นนี้เกิดซ้ำมาแล้วหลายครั้ง อีกทั้งน่าจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย หรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขระยะเวลาในการเปิดประเทศ จึงคาดว่าจะมีผลกระทบกับตลาดเพียงในระยะสั้น
2. ทั้งโควิด-19 และการเมือง เป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิดขึ้น
ความกังวลเรืองการกลับมาระบาดรอบ ของ Covid-19 ในประเทศกดดันให้เกิด Panic Sell จนวานนี้SET Index ปรับลงกว่า 21 จุด อย่างไรก็ตามหลัง การแถลงข่าวของ
สาธารณสุข อาจช่วยให้ผ่อนคลายไปได้ระดับหนึ่ง แต่ยังเป็นปัจจัยเสียงที่ต้องติดตามใกล้ชิด ส่วนอีกหนึ่งแรงกดดัน ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นได้แก่ สถานการณ์การเมือง โดยการ
ชุมนุมของนักเรียน-นักศึกษา มีการกระจายตัวออกในวงกว้าง และมีแนวโน้มร้อนแรงมากขึ้น ขณะที่ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม ก็ดูเป็นเรื่องยากที่จะได้รับการตอบสนอง
นอกจากนี้ในสภาเองก็มีประเด็นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงเริ่มเห็นกระแสสนับสนุนให้ยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ สภาพแวดล้อมทางการเมืองดังกล่าวต้องติดตามว่าจะมีผลกระทบ
ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ถดถอยรุนแรง และจําเป็นต้องมีมาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากรัฐบาลเข้ามาช่วย สําหรับ SET Index วันนี้มีโอกาสที่
จะเห็นการดีดตัวกลับขึ้นมาได้ในลักษณะ Technical Rebound หลังเกิด Panic Sell วานนี้ แต่ไม่เกิน 1330 จุด
หากพิจารณา สถิติตลาดหุ้นต่างประเทศในสถานการณ์เดียวกัน คือ ในช่วงพบไวรัสCOVID-19 (2nd wave) ครั้งแรก- จุดต่ำสุด กับตลาดหุ้นพบว่า ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับลง
ลงไปเฉลี่ย 4 วัน โดยติดลบเฉลี่ยราว -1.6% ก่อนทีฟื นตัวได้ภายหลังจากนัน
ขณะทีไทย บล.เอเชียพลัสเปิดเผยว่าหลังจากตลาดหุ้นไทยได้ตอบรับเชิงลบไปแล้วเมือวานนี้ ประเมินว่าวันนี้มีโอกาสจะฟื้นตัวช่วงสั้น แต่ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม เนื่องจากความเสี่ยงการกลับมาระบาดซ้ำของไวรัส COVID-19 (2nd wave) ในไทยยังมีอยู่ และรวมถึงความเสี่ยงในเชิงกระบวนการต่างๆ (กักตัว 14 วัน อาจไม่เพียงพอ) ซึ่งภาครัฐมีแผน
พิจารณาต่ออายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือนได้ จากปัจจุบันที่จะครบกําหนดในสิ้นเดือน ส.ค. 2563
3. จับตาศบศ. ออกมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาทีมเศรษฐชุดใหม่ (นําโดย รมว.คลัง นายปรีดี ดาวฉาย) เดินหน้าผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกมาในช่วง 5 เดือนหลังของปีนี้ โดยส่วนใหญ่
เป็น “มาตรการเก่าที่เคยออกมาก่อนหน้า และนํามาปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้น” อาทิ สินเชื่อ Soft loan กลุ่ม SMEs วงเงิน1.14 แสนล้านบาท,การขยายสิทธ์ประโยชน์โครงการเราไปเที่ยวกัน ,ส่งเสริมการจ้างงาน 7 แสนราย ( คาดว่าจะช่วยได้ช่วงสั้น) โดยให้น้ำหนักมาตรการกระตุ้น Consumption ที่จะเสนอใน ศบศ.ในสัปดาห์ข้างหน้า ดีต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก เช่น Central Retail(BK:CRC), ซีพี ออลล์ (BK:CPALL), SPVI
ขณะที่มาตรการ “ช็อปช่วยชาติ” ที่พูดถึงก่อนหน้ายังไม่มีการพูดถึงในครั้งนี้ แต่ บล.เอเชียพลัส เชื่อว่า จะมีการกลับมาเสนอให้รัฐบาลพิจารณาในรอบถัด ๆไป และยังคาดหวังว่า
มาตรการเศรษฐกิจภาคอื่นๆ ที่เคยมีการพูดถึง อาทิ กระตุ้นกลุ่มอสังหา, ภาคยานยนต์,ภาคตลาดทุน (กองทุน SSFX คือ ปรับลดระยะเวลาการถือครองเหลือ 7 ปี จากเดิม 10 ปี )
จะถูกเสนอเช่นกัน โดยรวมเชื่อว่าจะเกิดกระแสการเก็ง กําไรจากหุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ