3 เรื่องที่นักลงทุยไทยควรรู้สำหรับวันนี้ ( 18 ส.ค.)

เผยแพร่ 18/08/2563 13:43
© Reuters.
XAU/USD
-
GC
-
BBL
-
KBANK
-
TISCO
-

โดย Detchana.K

Investing.com - ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ประจำไตรมาสสอง ซึ่งภาพรวมออกมาถือว่าแข็งแกร่งสะท้อนจากเงินกองทุนที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่18.7% มาเป็น 19.2% จากนโยบายการตั้งสำรองไว้สูง แต่ที่น่าใจหายคือศักยภาพในการทำกำไรของกลุ่มแบงก์ที่ลดฮวบลงเหลือเพียง 0.57% ติดตามรายละเอียดพร้อมมประเด็นอื่นที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้

1. รายงาน ธปท. สะท้อนความแข็งแรงด้านฐานะของแบงก์ไทย

วานนี้ แบงก์ชาติแถลงรายงานภาพรวมการดำเนินงานของระบบแบงก์พาณิชย์ประจำ 2Q63 โดยทาง บล.หยวนต้าเผยว่าธนาคารพาณิชย์ไทยในภาพรวมค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยใน 2Q63 มีระดับเงินกองทุน (BIS ratio) รวมที่ 19.2% เพิ่มขึ้นจาก 18.7% ใน 1Q63 และมีระดับ Coverage Ratio เพิ่มขึ้น เป็น 144.1% จาก 143.3% ใน 1Q63 สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายตั้งสำรองเชิงระมัดระวังของหลายแบงก์

แต่ศักยภาพทำกำไรของแบงก์ในระบบอ่อนแอลงมาก โดย ROA และ ROE ลดลงเหลือ 0.57% และ 4.12% จากใน 1Q63 ที่ 1.03% และ 7.17% ตามลำดับ หลัง หลายแบงก์มีการกันสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงจากคุณภาพสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มด้อย ลง ส่วน NIM ปรับลงเช่นกันจาก 2.90% ใน 1Q63 เหลือ 2.60% ตาม Yield ที่ปรับตัวลงจากผล ของการลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่การปรับลงบางส่วนถูกชดเชยด้วยต้นทุนเงินนำส่ง FIDF ที่ลดลง

บล.หยวนต้าเผยว่ามีมุมมองเป็นบวกเล็กน้อยต่อประเด็นดังกล่าว โดยแม้ภาพรวมของแบงก์พาณิชย์ในระบบ ออกมาใกล้เคียงกับผลดำเนินงานของแบงก์ที่จดทะเบียนใน ตลท. ที่ออกมาก่อนหน้า แต่ด้วย ลูกหนี้ Stage 2 ที่ลดลง สะท้อนว่าแบงก์ในระบบยังสามารถควบคุมการไหลตกชั้นของลูกหนี้ได้ดี ช่วยผ่อนคลายความกังวลต่อคุณภาพสินเชื่อของพอร์ตลูกหนี้ในช่วง 3Q63

แต่เชื่่อว่าตลาดจะยังคงให้น้ำหนักกับตัวเลข NPL ในช่วงปลายปีมากกว่า เพราะมาตรการพักชำระหนี้ เป็นการทั่วไปจะเริ่มทยอยครบกำหนดใน 3Q63 ทำให้ลูกหนี้ความเสี่ยงสูงจะเริ่มกลายเป็น NPL ตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า แต่เบื้องต้นมองว่า NPL จะปรับขึ้นได้ไม่เร็วนัก เพราะหลายแบงก์มีสภาพคล่องทางการเงินเหลืออยู่มาก ทำให้แบงก์อาจพิจารณาขยายระยะเวลา มาตรการช่วยเหลือให้กับลูกหนี้ที่มีศักยภาพในการฟื้นตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง บวกกับการตั้ง สำรองที่สูงในช่วง 1H63 ทำให้คาดจะเห็นการฟื้นตัวของกำไรกลุ่มใน 3Q63

แม้มองว่าหุ้นกลุ่มแบงก์เป็นกลุ่มที่ Underperform ตลาดอยู่มาก และหลายตัวซื้อขายด้วย ระดับ PBV ต่ำเพียง 0.4-0.6x แต่ด้วยความเสี่ยงที่ NPL จะเริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้ เราแนะนำลงทุนในหุ้นแบงก์ที่ผ่านการตั้งสำรองก้อนใหญ่ไปแล้วในช่วง 1H63 เป็นหลัก ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย (BK:KBANK) , ธนาคารกรุงเทพ (BK:BBL) และ ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (BK:TISCO)เนื่องจากมีความเสี่ยงที่กำไรใน 2H63 จะถูกรบกวนด้วยการตั้งสำรองเพิ่มน้อยกว่าแบงก์อื่น

2.นักลงทุนมองราคาทองสัปดาห์นี้เป็นบวก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สมาคมวิจัยทองคำเผยผลสำรวจราคาทองประจำสัปดาห์ โดย14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 4 ราย หรือเทียบเป็น 29% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 7 ราย หรือเทียบเป็น 50% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 376 ราย ในจำนวนนี้มี 172 ราย หรือเทียบเป็น 46% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 126 ราย หรือเทียบเป็น 33% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 78 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 27,500 – 29,900 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 28,600 บาท ต่อบาททองคำ ปรับลดลง 1,400 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 30,000 บาท)

สัปดาห์นี้มีปัจจัยที่ต้องติดตามคือ ความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทอื่นๆ ในหลายประเทศ หลังจากรัสเซียซึ่งเป็นประเทศแรกที่ประกาศความสำเร็จในการผลิตวัคซีนโควิด-19 และสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

อัพเดตราคาทองคำ GOLD SPOT XAU/USD

สำหรับนักลงทุนโกลด์ฟิวเจอร์ส อัพเดตราคา สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ล่าสุด

3. GDP ไตรมาสสองของปีหดตัวใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปียังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัย

ศูนญ์วิจัยกรุงศรีให้ข้อมูลว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2 หดตัวน้อยกว่าคาดที่ 12.2% YoY สภาพัฒน์ฯ คาดทั้งปีหดตัว 7.5% สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP ใน 2Q2563 หดตัวใกล้เคียงกับ
ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (-12.5% ใน 2Q2541)แต่ดีกว่าที่ตลาดและวิจัยกรุงศรี คาดไว้ที่ -13.0% และ -17.2% ตามลำดับ และหดตัวต่อเนื่องจาก -2.0% ในไตรมาสแรก ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทั้งในและต่างประเทศทำให้มีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด เกิดภาวะหยุดชะงักของหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นผลให้การส่งออกสินค้าและบริการการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐสามารถขยายตัวและเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจในไตรมาส 2 (ดังตาราง) ส าหรับภาคการ ผลิต ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม การค้า การขนส่ง และการบริการที่พักแรมและอาหาร ล้วนหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรก (-3.2%, -14.4%, -9.8%, -38.9% และ-50.2% ตามล าดับ) สอดคล้องกับความต้องการที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศ

ขณะที่สาขาก่อสร้างขยายตัวได้ (+7.4%) ตามการเร่งลงทุนของภาครัฐ ทั้งนี้ โดยรวมเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกหดตัวที่ 6.9% นอกจากนี้ ล่าสุดสภาพัฒน์ฯ ได้ปรับลด คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้เป็นหดตัว 7.5% (ช่วง -7.8% ถึง -7.3%) จากเดิมคาดหดตัว 5.5% ( -6.0% ถึง -5.0%)

วิจัยกรุงศรีประเมิน GDP ไตรมาส 2 หดตัวน้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่ติดลบน้อยกว่าคาด อานิสงส์จากมาตรการเยียวยาของภาครัฐ ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่รวมผลของทองคำ ทำให้การส่งออกรวมหดตัวน้อยกว่าคาด อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังแม้เศรษฐกิจจะได้รับปัจจัยหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการแพร่ระบาด และภาครัฐดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ แต่วิจัยกรุงศรีคาดว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่จะคอยกดดันการฟื้นตัว ซึ่งกำลัง
ประเมินปัจจัยต่างๆ ก่อนทบทวนประมาณการเศรษฐกิจทั้งปีที่ -10.3% อาทิ(i) ปัจจัยลบจากปัญหาการว่างงานและภาวะหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ซึ่งจะกระทบต่ออำนาจการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยเฉพาะภายหลังมาตรการเยียวยาและมาตรการพักชำระหนี้สิ้นสุดลง (ii) ปัจจัยเสี่ยงจากการระบาดระลอกสองของ COVID-19 และปัญหาการเมืองภายในประเทศ และ (iii) ความล่าช้าของการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย