โดย Detchana.K
Investing.com -Bloomberg Consensus ปรับลดประมาณการกำไรดัชนีตลาดหุ้นไทยปี 20 ลงทำจุดต่ำสุด ใหม่อีกครั้งที่ 60.8 บาท / หุ้น หรือติดลบ -30.6%YoY และ Bloomberg Consensus ยังปรับประมาณการปี 21 ลงทำจุดต่ำสุดใหม่เช่นกันล่าสุด EPS 21E อยู่ที่ 80.4 บาท / หุ้น แนะนักลงทุนติดตาม โค้งสุดท้ายของการประกาศผลประกอบการที่จะสิ้นสุดในปลายสัปดาห์หน้า ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1.ตลาดหุ้นไทยถูกปรับลดประมาณการกำไรดัชนีปี 20 ลงทำจุดต่ำสุดใหม่อีกครั้งที่ 60.8 บาท / หุ้น
บล.Country Group เผยข้อมูลว่า Bloomberg Consensus ปรับลดประมาณการกำไรดัชนีปี 20 ลงทำจุดต่ำสุด ใหม่อีกครั้งที่ 60.8 บาท / หุ้น (-30.6%YoY) นอกจากจะปรับปี 20 ลง Bloomberg Consensus ยังปรับปี 21 ลงทำจุดต่ำสุดใหม่เช่นกันล่าสุด EPS 21E อยู่ที่ 80.4 บาท / หุ้น
ดังนั้นแนะนักลงทุนติดตาม โค้งสุดท้ายของการประกาศผลประกอบการที่จะสิ้นสุดในปลายสัปดาห์หน้า หากผลประกอบการที่เหลือยัง ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ อาจนำมาซึ่งการปรับลดประมาณการ กำไรถือเป็นปัจจัยที่จำกัด Upside ของดัชนี
วานนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BK:BH)รายงานกำไรสุทธิ 2Q20 เพียง 44 ล้านบาท (-94%YoY) ต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาดที่ 266 ล้านบาทผลจากรายได้รวมหดตัวหนัก ถึง 43%YoY แม้จะมี Market Capitalization คิดเป็นเพียง 0.6% ของ Market Capitalization รวมของ SET INDEX อย่างไรก็ตามมองว่าจะเป็นปัจจัยกดดันบรรยากาศการลงทุนโดยรวม และเป็นปัจจัยกดดันกลุ่มโรงพยาบาลทั้งกลุ่ม
ด้านนักวิเคราะห์จาก Asia Wealth Securities มองว่า Sentiment ต่อตลาดหุ้นเป็นบวกระยะสั้น จากการที่ กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามคาด โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ และการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ยังต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากโอกาสในการเกิดการระบาดระลอกที่ 2 กนง. คาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี กว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับปกติก่อนการแพร่ระบาด แต่การฟื้นตัวจะแตกต่างกันมาก ระหว่างภาคเศรษฐกิจ
2. ถ้าไม่มีการระบาดระลอก 2 ของ COVID-19 ที่รุนแรง ขาลงของดอกเบี้ยนโยบายจะถูกหยุดไว้ที่ 0.50%
Krungthai Global Markets เผยรายละเอียดว่า กนง. มีมติเอกฉันท์ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% หลังภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีขึ้น กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการLockdownและการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก แต่การฟื้นตัวแตกต่างกันมาก โดยภาคการส่งออกสินค้าเริ่มฟื้นตัวแต่การบริโภคและการลงทุนในประเทศยังคงหดตัวอยู่ส่วนภาคการท่องเที่ยวจากต่างชาติก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าคาด ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศฟื้นตัวได้ดี จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ดี กนง. ยังมีความกังวลถึงแนวโน้มการระบาดระลอกที่ 2 ของ COVID-19 อีกทั้งมองว่ายังมีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของธุรกิจและครัวเรือนที่สูงขึ้นสถาบันการเงินควรเตรียมรับมือด้วยการเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการช่วยเหลือต่างๆ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นสู่กรอบเป้าหมายได้ในปี 2021 ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่จะค่อยๆปรับตัวขึ้นส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะมีแนวโน้มติดลบในปี 2020 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็จะคงอยู่ในระดับต่ำ
กนง. ยังคงกังวลการแข็งค่าของเงินบาท โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั้งนี้ กนง. ก็พร้อมใช้มาตรการที่เหมาะสมต่อไป เชื่อว่า ธปท. มีมุมมองที่ “Less Dovish” สะท้อนถึงโอกาสการลดดอกเบี้ยที่ต่ำ เพราะประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ได้ดีและยังไม่มีการระบาดระลอกที่ 2 หลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ตามคาดการณ์ของ กนง.และอาจเห็นการปรับเป้า GDP ขึ้นได้ในการประชุมครั้งถัดไป
อย่างไรก็ดี การลดดอกเบี้ยก็อาจเกิดขึ้นได้ หากมีการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ที่รุนแรงทำให้ทั่วโลกและประเทศไทยกลับมาใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดอีกครั้ง ซึ่งมองว่า กนง. สามารถลดดอกเบี้ยลงได้ถึง 0.50 % ไปพร้อมกับการพักจ่ายค่าธรรมเนียม FIDF เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงินลดดอกเบี้ยเงินกู้ราว 0.50% ขึ้นไป
ทั้งนี้ Krungthai Global Markets ลดความคาดหวังต่อนโยบายลดการแข็งค่าของเงินบาท โดยเชื่อว่า ผู้ว่า ธปท. คนใหม่ (ซึ่งจะเริ่มงานในเดือนตุลาคม) น่าจะเน้นใช้การปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและตลาดทุน (Structural Reform) เพื่อปรับสมดุลเงินไหลเข้า/ออกซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทได้อย่างมีรูปธรรม
3.ติดตามปัจจัยบวกจากสหรัฐฯ ปลายสัปดาห์นี้
ประเด็นที่น่าติดตามอยู่ที่ (1) มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงปลายสัปดาห์นี้ และ (2) การรายงานสถิติการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้ (7 ส.ค.) ซึ่งเป็น หนึ่งในตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจที่เฟดให้ความสำคัญ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ในสหรัฐฯ ประเมินว่าการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 1.36 ล้านตำแหน่ง ในเดือน ก.ค. และคาดว่าอัตราการว่างงาน จะลดลงสู่ระดับ 10.7%
ส่วนตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. ออกมาแล้วปรากฎว่าเพิ่มขึ้นเพียง 167,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่ม 1 ล้านตำแหน่ง และลดลงจากเดือน มิ.ย. ที่เพิ่มขึ้น 4.314 ล้านตำแหน่ง