จับตารอยต่อเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 กับ 4 ตัวแปรพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 06/08/2563 10:07
อัพเดท 06/08/2563 10:13
GOOGL
-
GOOG
-

โดย Detchana.K

Investing.com - Krungthai COMPASS ได้ประเมิน 4 ตัวแปรที่จะสะท้อนความรวดเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุด และกำลังเข้าสู่ระยะฟื้นตัว ได้แก่
1) การควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด จากบทเรียนที่เกิดขึ้นหลังมีผู้ติดเชื้อในไทยที่มาจากเคสต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา จนสร้างความตื่นตระหนกไปทั่วประเทศ จนทำให้พื้นที่ที่เกี่ยวข้องอย่างระยองและกรุงเทพฯ บางส่วนซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ การแพร่ระบาดระลอกสองในเวียดนามเมื่อวันที่ 25 ก.ค. จนมีผู้เสียชีวิตแล้ว 8 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ส.ค.) หลังไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศติดต่อกันถึง 99 วัน ท่ามกลางการแพร่ระบาด จากคนสู่คนที่รวดเร็วและรุนแรงกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา1 จนทำให้ระดับ COVID-19 recovery rating2 ของเวียดนามหล่นลงจากระดับ 5 (5=ดีที่สุด(เทียบเท่าไทย) 1=แย่ที่สุด) เป็นระดับ 4 เมื่อไม่นานมานี้

ดังนั้น ทุกประเทศยังถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดซ้ำ แต่สิ่งสำคัญคือ “การรับมือของภาครัฐ และความร่วมมือของภาคประชาชน” ที่จะทำให้ระยะเวลาการล็อกดาวน์ลดลง ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมจากกิจกรรมเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก และสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งขึ้นอยู่กับการนำวัคซีนมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยอุปสงค์ต่างประเทศในช่วงที่เหลือของปียังน่าเป็นห่วง ตราบใดที่ยอดผู้ติดเชื้อรายวันทั่วโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น และยังไม่มีการนำวัคซีนต้านโรค COVID-19 มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเราคาดว่าน่าจะได้เห็นอย่างเร็วในเดือน ก.ย. 2021 (ข้อมูลจาก TDRI) ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกยังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงด้านต่าต่อไป และไทยซึ่งพึ่งพาดีมานด์ต่างประเทศผ่านรายได้จากการส่งออกและ ท่องเที่ยวรวมกว่า 87.5% ของจีดีพีในปี 2019 ย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้งนี้ ภาคส่งออกที่ดูเหมือนจะผ่านจุดต่าสุดไปแล้วจากตัวเลขส่งออกเดือนล่าสุด (หักทองคำ) ที่หดตัวน้อยลงตามการผ่อนคลายล็อคดาวน์ในหลายประเทศ อย่างไรก็ดี อุปสงค์ของประเทศคู่ค้ายังคง อ่อนแอสูง ประกอบกับกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ที่อยู่ในระดับต่ำทำให้ยังไม่สามารถดูดซับอุปทานส่วนเกินได้ทั้งหมด นอกจากนี้ ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังคงเป็นศูนย์ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากมาตรการจ ากัดการเดินทาง ระหว่างประเทศของไทย ส่งผลให้ธุรกิจและจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นหลักยังคงเปราะบางต่อไป

3) ประสิทธิภาพของมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจที่รวดเร็วและทั่วถึง แม้การจับจ่ายใช้สอยในประเทศ จะเริ่มมีสัญญาณฟ้ืนตัว สะท้อนจาก Google (NASDAQ:GOOGL) Mobility Data ในหมวดแหล่งช้อปป้ิงและการพักผ่อน ช่วงสุดสัปดาห์วนั หยุดสิ้นเดือน ก.ค. ที่ปรบั ตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงระดับก่อนเกิด COVID-19 หากแต่อุปสงค์ โดยรวมในประเทศยังคงอ่อนแอ และการจับจ่ายที่เป็นไปอย่างระมัดระวัง สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานติดลบ ทำให้มาตรการทางการเงินและการคลังกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วย เยียวยาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการต่อลมหายใจแก่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที และตรงกลุ่มเป้าหมายผ่านมาตรการระยะสั้นอย่างเงินให้เปล่าในโครงการต่างๆ การพักชำระหนี้และปล่อยกู้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่า โดยจากข้อมูล ธปท. ณ วันที่ 29 ก.ค. ชี้ให้เห็นว่า มีผู้ที่ได้รับสินเชื่อ Soft loan แล้ว ทั้งสิ้น 65,898 ราย โดยเป็น SMEs ขนาดเล็กถึง 76.1% นอกจากนี้ ยังต้องมีแผนประคับประคอง ธุรกิจและครัวเรือนที่ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวอย่างน้อย 2-3 ปี

4) ประสิทธิผลของแผนฟื้นฟูเชิงโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและสังคมระยะยาว ไทยประสบปัญหา เรื้อรังเชิงโครงสร้างมายาวนาน โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และแรงงานส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เมื่อเกิด Shock อย่างรุนแรง ปัญหาใต้พรมเหล่านี้จึง ชัดเจนขึ้น โดย SMEs ยังคงมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากลูกค้าเดิมบางส่วนติด ปัญหา NPLs ส่วนลูกหนี้รายใหม่ก็ไม่มีเครดิต จึงไม่เข้าเงื่อนไขในการขอสินเชื่อตาม พรก. ช่วยเหลือ SMEs3 ซึ่งย่อมแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจขนาดเล็กตกอยู่ในภาวะเปราะบางทางการเงิน โดยเฉพาะเมื่อรายได้ขาดหายไปอย่างกะทันหัน (Income shock) สะท้อนจากจำนวนนิติบุคคลที่แจ้งเลิกกิจการกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.2020 มากถึง 2,597 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 1.28 หมื่นล้านบาท ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานในเดือน เม.ย. 2020 ที่เพิ่มขึ้นถึง 74.8%YoY (6.4 แสนราย) ส่งผลให้อัตราว่างงานพุ่งสูงสุดในรอบ 20 ปี และอาจมีมากถึง 8.4 ล้านคนในปี 2020 ที่เสี่ยงจะถูกเลิกจ้าง (ข้อมูลจากสภาพัฒน์ฯ)

อ่านรายงานฉบับเต็ม

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย