3 ประเด็นที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้ ( 4 ส.ค.)

เผยแพร่ 04/08/2563 13:21
อัพเดท 04/08/2563 13:23
© Reuters.
KBANK
-
SCBB
-
TTB
-

โดย Detchana.K

Investing.com - ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของไทยขยับดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่า 50 ในเกือบทุกภาคธุรกิจ โดยดัชนีความมั่นเดือนกรกฎาคมขยับมาอยู่ที่ 42.9 ถือว่าเป็นการบวกขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่คาดว่าการประชุม กนง.วันพรุ่งนี้จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากโควิด-19 ที่ยังคงลุกลามในต่างประเทศ ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงภาคการท่องเที่ยวของไทย ติดตามรายละเอียดพร้อม ประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้

1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของไทยเพิ่มขึ้น 3 เดือนต่อเนื่อง กรกฎาคมอยู่ที่ 42.9

ธปท. รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ก.ค. 63 อยู่ที่ 42.9 (เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 38.5) เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ปรับดีขึ้นเกือบทุกธุรกิจ แต่ยังต่่ากว่า 50 ทุกภาคธุรกิจ สะท้อนความเชื่อมั่นที่ยังคงอยู่ในระดับต่่า แต่มีสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้น

ตัวเลขเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ทยอยรายงานออกมาดีกว่าคาดจะกลับมาเป็นปัจจัยหนุนการลงทุน แต่นักวิเคราะห์มองเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น โดยตลาดยังคงมี ความเสี่ยงจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ความล่าช้าของการออกมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจทั้งของไทยและสหรัฐฯ รวมไปถึงความกังวลต่อสถานการณ์ COVID-19 ในต่างประเทศ โดยประเด็นในประเทศที่น่าติดตามอยู่ที่การทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พรุ่งนี้ (5 ส.ค.)

คาดว่า ธปท. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% เนื่องจาก (1) ปัจจุบัน ดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 0.5% ซึ่งถือว่าเป็นระดับต่่ามาก (2) การใช้เครื่องมือทางการเงินและการคลังจ่านวนมากในช่วงที่ผ่านมา ในการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ (3) การที่ ศบค. ผ่อนคลายมาตรการให้ธุรกิจ สามารถกลับมาดำเนินงานตามปกติได้ และ (4) ธปท. ยังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ท่าให้เชื่อว่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงจากความล่าช้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาจเป็นปัจจัยที่ท่าให้ ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%

2. BANKING SECTOR คาดหนี้เสียแบงก์ช่วงปลายปียังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้

บล.หยวนต้า ให้รายละเอียดว่า หุ้นกลุ่มแบงก์ปรับลงต่อเนื่อง จากความกังวล NPL ที่จะเริ่มเพิ่มขึ้นหลังจบโครงการพักชำระหนี้ ดัชนี SETBANK ปรับลงกว่า 6% นับตั้งแต่หุ้นแบงก์ตัวแรกประกาศผลประกอบการ 2Q63ซึ่งส่วนใหญ่ ออกมาต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด (มีเพียง ธนาคารไทยพาณิชย์  (BK:SCB) ที่ดีกว่าคาด) เนื่องจากหลายแบงก์มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นมาก ทั้งเพื่อรองรับความเสี่ยงของคุณภาพสินทรัพย์ที่แย่ลงตามภาวะ ศก. และการตั้งสำรองในกรณีที่ การบินไทย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งมีรายได้ค่าธรรมเนียมต่ำลงจากผลกระทบของการเข้าสู่ Lock Down ในเดือน เม.ย.-มี.ค.

นอกจากนี้นักลงทุนยังกังวลต่อจำนวนลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 (พักชำระดอกเบี้ยและการพักชำระทั้ง ดอกเบี้ยและเงินต้น) ที่เดิมค้างชั้นลูกหนี้อยู่ใน Stage เดิมก่อนเข้าโครงการ ทำให้ตัวเลข NPL (ลูกหนี้ Stage3) ในช่วง 2Q63 ยังต่ำกว่าความเป็นจริง และมีโอกาสที่ตัวเลขดังกล่าวจะเริ่มทยอยเพิ่มขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือทางการเงินเป็นการทั่วไป(ให้การช่วยเหลือโดยอัติโนมัติสำหรับลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์) จะเริ่มครบกำหนดในเดือน ก.ย. และต.ค. นี้ กดดัน Sentiment ในการลงทุนหุ้นกลุ่มแบงก์ในระยะสั้น-กลาง

หยวนต้าประเมินความเสี่ยงที่แต่ละแบงก์จะมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นใน 2H63 ภายใต้สมมุติฐานสำคัญ 2 ข้อคือ 1) ลูกหนี้ที่เข้าโครงการช่วยเหลือทางการเงินจำนวน 10% ของแต่ละแบงก์ตกชั้นกลายเป็น NPL (ใกล้เคียง กับสัดส่วนลูกหนี้ของ ธนาคารกสิกรไทย  (BK:KBANK) และ ธนาคารทหารไทย  (BK:TMB)ที่ผู้บริหารระบุว่าเป็นกลุ่มเปราะบางและอาจต้องการความ ช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม) 2) แบงก์จะตั้งสำรองเพิ่มขึ้นตามลูกหนี้หลังหักมูลค่าของหลักประกันซึ่ง คาดอยู่ที่ราว 50% ของมูลหนี้

3. คลังประเมินเศรษฐกิจปีนี้หดตัว 8.5% ก่อนกลับมาฟื้นตัวที 4-5% ในปีหน้า

ศูนย์วิจัยกรุงศรีเปิดเผยว่าสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ชี้ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ลามเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ส่งผลให้จ่านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักทรุดหนัก ท่าให้เศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัวรุนแรงกว่าช่วงวิกฤติต้มย่ากุ้งปี 2541 ซึ่ง GDP หดตัวที่ 7.6%

นอกจากนี้ สศค. ระบุว่าจากนี้ไปเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังภาคธุรกิจเริ่มกลับมาด่าเนินกิจการ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ประกอบกับผลของมาตรการเยียวยาจากรัฐบาล จะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน รักษาระดับการจ้างงาน และสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดการหมุนเวียนกิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศต่อไป

ในส่วนของวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ GDP ปีนี้จะติดลบหนักถึง 10.3% เนื่องจากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 ที่ รุนแรงและนานกว่าคาด กระทบต่อไปยังภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะการจ้างงานที่ลดลงมาก บั่นทอนรายได้และการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขณะที่ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ล่าสุดเกินกว่า 18 ล้านคน) มีการระบาดระลอกสองในหลายประเทศ การระงับเดินทางระหว่างประเทศจึงอาจลากยาวขึ้น ส่งผลต่อรายได้ภาคท่องเที่ยวที่นับเป็นแรงขับเคลื่อนส่าคัญของเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งแรงกระต้นในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอที จะกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ สะท้อนจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมวงเงิน 4 แสนล้านบาท มีการอนุมัติโครงการเพียงราว 2 หมื่นล้านบาท ส่วนมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ของธปท.วงเงิน 5 แสนล้านบาท ใช้ไปแค่ 1.07 แสนล้านบาท

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย