โดย Detchana.K
Investing.com - ศูนย์วิจัยกรุงศรีเผยรายงานเศรษฐกิจประจำสัปดาห์นี้โดยระบุว่า ไอเอ็มเอฟปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกลงอีก หากรวม ผลกระทบจากการระบาดระลอกสองจะถดถอยแรงกว่านี้ จากรายงานล่าสุดในเดือนมิถุนายนคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวถึง 4.9% ในปี 2563 มากกว่าที่เคยคาดว่าจะหดตัว 3% เมื่อครั้งเดือนเมษายน โดยถดถอยแรงสุดนับจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ปี ค.ศ.1930 และหนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี2552
การปรับลดประมาณการครั้งนี้คำนึงถึงความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการรักษาระยะห่างทางสังคมในหลายประเทศจะยาวนานกว่าที่คาดไว้เดิมโดยอาจต่อเนื่อง จนถึงช่วงครึ่งปีหลัง บาดแผลทางเศรษฐกิจจึงลึกกว่าเดิม การผลิตจะอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพระยะยาว นอกจากนี้ ภาวะการเงินมีแนวโน้มตึงตัวขึ้นจากการขาดสภาพคล่อง
ส่วนกรณีของไทยนั้นคาดว่าจีดีพีในปีนี้จะหดตัว 7.7% (จากเดิม -6.7%) การประมาณการครั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่ทุกภูมิภาคทั่วโลกจะเผชิญภาวะถดถอยพร้อม กันในปี 2563 ขณะที่แนวโน้มการฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2564 อาจต่างกันออกไปขึ้นกับโครงสร้างเศรษฐกิจว่าพึ่งพาภาคบริการด้านการท่องเที่ยวหรือการส่งออกมากน้อยเพียงใด ตัวเลขคาดการณ์นี้ยังไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมทีอาจเป็นอุปสรรคให้การฟื้นตัวล่าช้าออกไปอีก ทั้งจาก
(i) การดำเนินมาตรการทางการเงินและการคลังทีล่าช้าหรือไม่เพียงพอจนขาดประสิทธิผลในการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบลุกลามไปสู่ภาคการเงิน ทิศทางการฟื้นตัว อาจจะล่าช้าเป็นรูปตัวแอล (L-shaped recovery) และ
(ii) การแพร่ระบาดระลอกที่สองอาจทำให้หลายประเทศต้องกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้ง และอาจเกิดปัญหาการว่างงานระลอกใหม่ ทำให้ทิศทางการฟื้นตัวมีแนวโน้ม เป็นรูปตัวยูแอล (UL-shaped recovery) หากคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ เศรษฐกิจโลกอาจถดถอยรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาดไว้เดิม เศรษฐกิจโลกอาจเผชิญภาวะตกต่ำหนักกว่าคาด ขณะที่การค้าโลกยังเผชิญแรงกดดันมากขึ้น
ภาคการผลิตและบริการในหลายประเทศยังหดตัวแม้ทยอยออกจากจุดต่ำสุด ขณะที่ WTO คาดการค้าโลกในไตรมาส 2 จะหดตัวแรง ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้น (Flash PMI) ของประเทศ สำคัญในเดือนมิถุนายนขยับขึ้น ทั้งสหรัฐฯ (46.8) ยูโรโซน (47.5) และญี่ปุ่น (37.9) แต่มี ค่าต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องจากเดือนก่อน สะท้อนว่าการผลิตยังคงหดตัว
ขณะเดียวกัน องค์การการค้าโลก (WTO) รายงานว่าปริมาณการค้าโลกในไตรมาสที่ 1/2563 หดตัว 3% YoY และคาดว่าจะหดตัวแรงถึง 18.5% ในไตรมาส 2/2563 จากการใช้มาตรการปิด เมืองของหลายประเทศในช่วงต้นไตรมาส สำหรับปริมาณการค้าโลกของทั้งปี 2563และ ปี 2564 นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ (i) กรณีฐานที่สามารถควบคุมการระบาดได้เร็ว โดยใช้มาตรการปิดเมืองเพียงไม่เกิน 3เดือน คาดว่าในปีนี้การค้าโลกจะหดตัว -12.9% (ii) กรณีเลวร้ายที่ต้องใช้มาตรการปิดเมืองนาน 6เดือน คาดว่าการค้าโลกอาจหดตัวแรง ถึง -31.9% ในปีนี้
สาเหตุทดัชนีFlash PMI เดือนมิถุนายนยังคงต่า กว่า 50 แม้ว่าประเทศชั้นนำจะเริ่มทยอยกลับมาผลิตหลังผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองมาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวที่ล่าช้า ของอุปสงค์ทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะกำลังซี้อทั่วโลกที่อ่อนแอลง สะท้อนจากอัตราการว่างงานเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศเกือบทุกภูมิภาค
ขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ (13.3%) อยู่ในระดับสูงในรอบ กว่า 70 ปีนอกจากนี้การกีดกันหรือการปกป้องทางการค้าที่มีแนวโนมทวีความรุนแรง ล่าสุดสหรัฐฯ กำลังพิจารณาเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปจากความขัดแย้งเรื่องการอุดหนุนอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน ขณะเดียวกันยังคงมีความไม่แน่นอนในการเจรจาการค้าระหว่าง สหรัฐฯกับจีน ปัจจัยลบดังกล่าวอาจถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้า โลกให้ล่าช้าออกไป
ที่มา ศูนย์วิจัยกรุงศรี