สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างอิงจากข้อมูลของผลสำรวจที่ระบุว่า คาดว่าตัวเลขการส่งออกจีนประจำเดือนมีนาคมจะหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันที่ลดลงก็น่าจะส่งผลทางลบต่อตัวเลขการนำเข้าของจีนด้วยเช่นกัน
การระบาดได้ส่งผลกระทบอย่างเป็นวงกว้างทั้งในภาคธุรกิจและผู้บริโภค และจึงได้กระตุ้นให้มีการใช้แผนการเยียวยาเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากจากรัฐบาลทั่วโลกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในระยะเวลาสองเดือนที่ผ่านมา ทว่านโยบายล็อคดาวน์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็ได้ทำให้การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจทั่วโลกมีความล่าช้าออกไปอีก
ตัวเลขทางการค้าที่ย่ำแย่ยิ่งทำให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มหดตัวลงอย่างรุนแรงในไตรมาสแรกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1992 โดยก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์หลายท่านคาดการณ์ไว้แล้วว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะถดถอยอย่างหนักขึ้นในปีนี้
อ้างอิงตัวเลขเฉลี่ยของผลสำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด 31 ท่านพบว่า คาดว่าการส่งออกของจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกจะหดตัวลง 14% ในเดือนมีนาคมจากปีก่อนหน้า ทำให้การทรุดตัวลงเริ่มผ่อนคลายลงจากช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่ชะลอตัวลง 17.2%
ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าคาดว่าจะหดตัว 9.5% จากปีก่อนหน้า ซึ่งหดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2016 และลดลงจาก 4.0% ในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์
สัปดาห์ที่แล้วองค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าตัวเลขการค้าจะหดตัวลงอย่างมากในปีนี้มากกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อทศวรรษที่แล้ว ก่อนที่จะฟื้นตัวในปี 2021 เนื่องจากอัตราการระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มลดลง
ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าคาดว่าจะหดตัว 9.5% จากปีก่อนหน้า ซึ่งหดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2016 และลดลงจาก 4.0% ในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์
สัปดาห์ที่แล้วองค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าตัวเลขการค้าจะหดตัวลงอย่างมากในปีนี้มากกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อทศวรรษที่แล้ว ก่อนที่จะฟื้นตัวในปี 2021 เนื่องจากอัตราการระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มลดลง