📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

บทสรุป 5 ข้อเกี่ยวกับภาวะการลงทุนวันนี้ (16 มี.ค.)

เผยแพร่ 16/03/2563 17:40
© Reuters.
XAU/USD
-
MICP
-
KGF
-
ABF
-
GC
-
ESH25
-
1YMH25
-
NQH25
-
ICAG
-
US2YT=X
-
US10YT=X
-
STOXX
-
CSI300
-

โดย Geoffrey Smith 

Investing.com -- บทสรุป 5 ข้อเกี่ยวกับภาวะการลงทุนในวันจันทร์ที่ 16 มีนาคมมีดังต่อไปนี้

1. ธนาคารกลางสหรัฐออกมาตรการฉุกเฉิน

ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ได้ประกาศมาตรการฉุกเฉินด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเกือบถึงระดับ 0% และเดินหน้าโครงการซื้อสินทรัพย์ขนาดใหญ่เพื่อหนุนสภาพคล่อง

FED เผยว่าจะซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลเป็นมูลค่า 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าจะไม่ได้มีการระบุระยะเวลาของโครงการดังกล่าวก็ตาม

การใช้นโยบายดังกล่าวตามมาหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศมาตรการฉุกเฉินระดับประเทศหลังเวลาตลาดปิดเมื่อวันศุกร์ และเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาปธน.ทรัมป์ได้ประกาศไว้ด้วยว่าเขาได้รับการทดสอบเชื้อ Covid-19 แล้วและผลตรวจออกมาเป็นลบ หลังจากเขาได้มีการปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่รัฐจากบราซิลซึ่งได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ติดเชื้อ

2. ประเทศอื่น ๆ กำลังดำเนินรอยตามกระแสนโยบายแบบผ่อนคลาย

ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศในวันนี้ว่าจะเพิ่มเป้าหมายการซื้อกองทุน ETF เป็นสองเท่ารวมเป็นมูลค่าราว 1.12 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนธนาคารกลางนิวซีแลนด์ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 0.75 จุดสู่ระดับ 0.25% และประกาศว่าจะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี และธนาคารกลางเกาหลีซึ่งก่อนหน้านี้เคยปฏิเสธการลดอัตราดอกเบี้ยแม้ประเทศจะได้รับความเสียหายจากการระบาดของ Covid-19 ก็ตาม ล่าสุดได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว 0.50 จุดเหลือ 0.75%

นอกจากนี้นายโรเบิร์ต โฮลต์ซมันน์ ซึ่งเป็นสมาชิกธนาคารกลางยุโรปที่มีมุมมองเอนเอียงไปทางนโยบายแบบตึงตัว ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการเข้าแทรกแซงตลาดตราสารหนี้ของฝั่งยูโรโซนเพื่อรักษาเสถียรภาพด้วย

นายโฮลต์ซมันน์เสริมว่า “หากมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแทรกแซงตลาดตราสารหนี้รัฐบาล ก็จะต้องมีการใช้มาตรการเกิดขึ้น"

รัฐมนตรีทางการเงินของยูโรโซนกำลังอยู่ในระหว่างการประชุมในวันนี้ และคาดว่าน่าจะมีการประกาศนโยบายทางการเงินครั้งใหม่เพื่อหนุนเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซนเมื่อการประชุมเสร็จสิ้น

3. ข้อมูลทางเศรษฐกิจจีนออกมาย่ำแย่ตามคาด

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนกุมภาพันธ์ทรุดตัวลง 13.5% ส่วนยอดค้าปลีกก็ทรุดตัวลงมากกว่า 20% และการลงทุนในสินทรัพย์คงทนก็ลดลง 24.5% ตัวเลขเหล่านี้จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่า GDP จีนในไตรมาสแรกจะต้องหดตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทว่ารายงานอื่น ๆ อย่างตัวเลขวัดค่ามลพิษและการจราจรในประเทศได้แสดงให้เห็นถึงการค่อย ๆ ฟื้นตัวสู่สภาพปกติ โดยบริษัทค้าปลีกในยุโรปอย่าง Kingfisher (LON:KGF) และ Associated British Foods (LON:ABF) (เจ้าของ Primark) ต่างก็รายงานว่าห่วงโซ่อุปทานในจีนเริ่มเข้าใกล้สภาพปกติแล้ว ทว่าประเด็นที่บริษัทกังวลมากที่สุดไม่แพ้ประเด็นอื่น ๆ คือการขยายเวลาการปิดร้านค้าในยุโรปเนื่องมาจากมาตรการกักกันโรค

4. ตลาดหุ้นเตรียมเปิดตัวในแดนลบ

เมื่อเวลา 6:40 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (1040 GMT) สัญญาซื้อขายดัชนี Dow 30 ล่วงหน้า ทรุดตัวลง 1,045 จุดหรือ 4.6% เท่ากับ 21,794 จุด สัญญาซื้อขายดัชนี S&P 500 ล่วงหน้า ติดลบ 4.8% และ สัญญาซื้อขายดัชนี Nasdaq 100 ล่วงหน้า ปรับตัวลง 4.6%

พฤติกรรมหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงยังคงดำเนินต่อไป โดย ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐแบบอายุ 10 ปี ปรับตัวลง 17 จุดสู่ระดับ 0.77% และ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐแบบอายุ 2 ปี ลดลง 17 จุดเหลือ 0.32% สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ขยับลง 0.7% สู่ระดับ $1,507.00

เมื่อคืนนี้ ดัชนี Shanghai Shenzhen CSI 300 ของจีนหดตัวลง 5.3% ส่วนดัชนีของออสเตรเลียทรุดตัวลง 9.7% และดัชนี Euro Stoxx 600 ทรุดตัวลง 7.9%

5. ธุรกิจทั่วโลกดิ้นรนท่ามกลางการระบาด

บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกได้เริ่มออกมาส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับภาพรวมทางธุรกิจท่ามกลางมาตรการกักกันโรคที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในสหรัฐและยุโรป โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งรัฐนิวยอร์กและลอสแองเจลีสต่างก็ออกมาตรการสั่งปิดบาร์และร้านอาหารต่าง ๆ แล้ว ส่วนประเทศฝั่งยุโรปหลายประเทศก็ได้ออกมาตรการปิดพรมแดนแม้แต่บริเวณที่เป็นอิสระจากเครือเชงเก้นอีกด้วย

สายการบินเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยบริษัท IAG (LON:ICAG) เจ้าของสายการบิน British Airways เผยว่าในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมนี้บริษัทจะลดจำนวนเที่ยวบินเหลือเพียง 25% จากทั้งหมด ขณะที่สายการบิน United Airlines ได้ลดจำนวนเที่ยวบินลงแล้วครึ่งหนึ่ง

ส่วน Fiat Chrysler ได้ประกาศปิดโรงงาน 8 แห่งชั่วคราวทั่วยุโรป และบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ Michelin (PA:MICP) ก็ได้ประกาศปิดโรงงานในฝรั่งเศส สเปน และอิตาลีด้วยเช่นกัน

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย