InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 34.37 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเย็น วานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.32 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเช้านี้เปิดมาอ่อนค่าจากท้ายตลาด หลังจากที่เมื่อคืน ตลาดย่อยข่าวตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ประกอบกับตลาด price in เรื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมรอบถัดไป จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น และทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น "วันนี้ ตลาดในประเทศน่าจะเงียบๆ เพราะใกล้จะหยุดยาวแล้ว ส่วนต่างประเทศ รอดูตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ คืนพรุ่งนี้" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.25 - 34.50 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (10 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.72599% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.81804% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.31500 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.48 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 132.09 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0874 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0913 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.315 บาท/ดอลลาร์ - ราคาบิตคอยน์พุ่งขึ้นทะลุระดับ 30,000 ดอลลาร์ช่วงเช้านี้ โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับ วิกฤตการณ์ในภาคธนาคารสหรัฐ - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (10 เม. ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ในวันจันทร์ (10 เม.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของ ดอลลาร์เป็นปัจจัยฉุดตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) - นักลงทุนจับตาข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยทางการสหรัฐจะเปิด เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมี.ค.ในวันพุธที่ 12 เม.ย. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนมี.ค.ในวันพฤหัสบดีที่ 13 เม.ย. - ธนาคารโลก ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้สู่ระดับ 2% จากเดิมที่ระดับ 1.7% โดยได้รับปัจจัย หนุนจากการเปิดประเทศของจีน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ 5.1% ในปีนี้ ขณะเดียวกัน ธนาคารโลกเตือนว่าราคาน้ำมันที่พุ่ง ขึ้น และวิกฤตในภาคธนาคาร จะยังคงกดดันแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ - ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คนใหม่ ระบุว่า จะกำหนดแนวทางนโยบายการเงินให้มีความยืดหยุ่น พร้อมเตือนว่า แนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่น กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนที่สูงมาก ทั้งนี้ BOJ จะพยายามบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ภายในกรอบ เวลาที่กำหนด - ธนาคารกลางรัสเซีย แถลงว่า การที่รูเบิลอ่อนค่าลงอย่างหนักมีสาเหตุจากการที่กลุ่มผู้ส่งออกของรัสเซียลดปริมาณการขาย เงินตราต่างประเทศในช่วงต้นเดือนเม.ย. รูเบิลดิ่งลงกว่า 5% ในสัปดาห์ที่แล้ว แตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี