โดย Barani Krishnan
Investing.com - ทองคำเคลื่อนไหวในแนวต่ำกว่า 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในวันจันทร์ เนื่องจากดอกเบี้ยถูกกดไว้ ก่อนการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของผู้บริโภคในสหรัฐฯ อาจเป็นปัจจัยลบต่อขาขึ้นของทองคำได้
ราคาทองคำ ในตลาดโคเม็กซ์ของนิวยอร์ก ปรับตัวขึ้น $2.30 หรือ 0.1% ที่ 1,794.40 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนไหวในกรอบ $5 ระหว่าง 1,800.05 ถึง 1,785.10
เดือนสิงหาคม ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI ที่จะเผยในวันอังคาร อยู่ในความสนใจของนักลงทุนในตลาดสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์ต่างตั้งคำถามกับอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ว่าจะลดลงหรือไม่ ขณะที่ธนาคารกลางยืนยันว่าลดลงแน่นอน
การเติบโตของ CPI ของสหรัฐในเดือนกรกฎาคมชะลอตัว แต่ยังคงสูงสุดในรอบ 13 ปีที่ 5.4%
สำหรับเดือนสิงหาคม นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการจะชะลอตัวต่อไปอีกเป็น 5.3% โดยเฟดกำลังเตรียมการประชุมนโยบายในเดือนกันยายน ความสนใจจะจับตาไปยังตัวเลข CPI ของเดือนสิงหาคมมากกว่าปกติ เมื่อสหรัฐฯ และธนาคารกลางอื่น ๆ เลือกที่จะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของพวกเขาลง เป็นกุญแจสำคัญต่อระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ โดยนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเรียกร้องให้มีการลดสินทรัพย์อย่างรวดเร็ว
“ตลาดส่วนใหญ่ดูเหมือนจะจับตามองการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้าแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทองคำ ซึ่งราคาวนเวียนอยู่ที่ประมาณ 1,800 ดอลลาร์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา” เครก เออร์แลม นักวิเคราะห์จาก OANDA แพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ กล่าว
“เหตุการณ์ก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่าธนานาคารอาจค่อย ๆ ดำเนินการตามแผนการลดสินทรัพย์ ซึ่งทำให้ตลาดทองคำมีชีวิตชีวาขึ้น แต่เราอาจจำเป็นต้องดูปัจจัยอื่นเพิ่มเติมก่อนที่จะมองในขั้นต่อไป หากทองคำไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ $1,833 หลังจากรายงานการจ้างงาน และระดับต่อไปก็อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อแนวต้านถัด ๆ ไป”
ทองร่วงลง 2.3% ในสัปดาห์ที่แล้ว ร่วงลงสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29 กรกฎาคม ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ดีดตัวขึ้นหลังรายงานตัวเลขจ้างงานออกมา ทำให้ธนาคารกลางเริ่มขยับตัวในการเริ่มนโยบายลดสินทรัพย์
มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะถูกกดดันให้ดำเนินการรับมือกับอัตราเงินเฟ้ออย่างรวดเร็ว เนื่องจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าราคาผู้ผลิตในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.3% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสูงที่สุดในรอบทศวรรษ จนกระทั่งข้อมูล PPI ออกมา ข้อโต้แย้งสำหรับการเริ่มลดสินทรัพย์ค่อย ๆ หายไป โดยรายงานการจ้างงานของสหรัฐในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 70% ต่ำกว่าเป้าหมายที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้
คำถามว่าเมื่อใดที่เฟดควรจะลดมาตรการกระตุ้นและเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ได้มีการถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขัดแย้งกับการฟื้นตัวของโควิดสายพันธุ์เดลต้า ธนาคารกลางได้ซื้อพันธบัตรและสินทรัพย์อื่น ๆ มูลค่า 120 พันล้านดอลลาร์ตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2020 เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับแทบเป็นศูนย์ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา
หลังจากที่ลดลง 3.5% ในปี 2020 จากการปิดตัวของธุรกิจอันเนื่องมาจาก โควิด-19 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ โดยขยายตัว 6.5% ในไตรมาสที่สอง ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธนาคารกลาง
อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อแซงหน้าการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่กระนั้น ธนาคารกลางก็ยังชี้วัดเงินเฟ้อด้วยดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) ซึ่งไม่รวมราคาอาหาร
ด้านตลาดพลังงานนั้นมีความผันผวน โดยเพิ่มขึ้นในปีนี้นับจนถึงเดือนกรกฎาคม ถึง 3.6% ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2534 ดัชนี PCE รวมถึงพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี
เป้าหมายเงินเฟ้อของเฟดคือ 2% ต่อปี