Investing.com - ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในตลาดเอเชียวันนี้ หลังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลอุตสาหกรรมที่แสดงให้เห็นว่าสินค้าคงคลังน้ำมันในสหรัฐฯ ลดลงอย่างไม่คาดคิด ขณะที่กลุ่ม OPEC ก็ยังคงมั่นใจกับการคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในปีต่อ ๆ ไป
น้ำมันดิบเบรนท์ฟิวเจอร์ส ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนพฤษภาคม ปรับขึ้น 0.5% เป็น 82.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ น้ำมันดิบ WTI ฟิวเจอร์ส เพิ่มขึ้น 0.5% เป็น 77.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อ 20:16 ET (00:16 GMT)
แต่ถึงแม้จะมีความแข็งแกร่งในช่วงนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงติดอยู่ภายในกรอบการซื้อขายที่ 75 ถึง 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ท่ามกลางอุปสงค์และอุปทานที่หลากหลาย ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างจีนยังคงเป็นประเด็นสำคัญของความขัดแย้งในตลาดน้ำมัน
การแข็งค่าของ ดอลลาร์ รวมทั้งข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร็งเกินคาด ก็ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบเช่นกัน แต่ในทางกลับกัน การหยุดชะงักอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลางยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอุปทานผันผวนในระดับสูง ซึ่งจำกัดความอ่อนแอของน้ำมันดิบลง
การเจรจาหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและฮามาสล้มเหลว ขณะที่กองกำลังฮูตียังคงโจมตีเรือในทะเลแดงต่อไป
สินค้าคงคลังน้ำมันของสหรัฐฯ ลดลงอย่างไม่คาดคิด
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสินค้าคงคลังของสหรัฐฯ ยังคงมีสัญญาณเชิงบวกต่อตลาดน้ำมันในระยะสั้น ข้อมูลจาก สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน แสดงให้เห็นว่าสินค้าคงคลังน้ำมันลดลง 5.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ของวันที่ 8 มีนาคม เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.4 ล้านบาร์เรล
การเพิ่งถอนเกิดขึ้นเมื่อผู้กลั่นน้ำมันในท้องถิ่นกลับมาทำการผลิตต่ออีกครั้งหลังจากหยุดยาวช่วงฤดูหนาว ซึ่งส่งสัญญาณถึงความตึงตัวในตลาดน้ำมันสหรัฐฯ ในระยะสั้น แต่ความร้อนแรงนี้คาดว่าจะยังคงมีจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความต้องการเชื้อเพลิงในท้องถิ่นปรับตัวดีขึ้นเพียงเล็กน้อยจากภาวะสงบในฤดูหนาว
ข้อมูล API มักจะประกาศตัวเลขที่คล้ายกันกับข้อมูล สินค้าคงคลังน้ำมันอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเผยแพร่ในวันนี้
แต่ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสินค้าคงคลังที่ลดลงของสหรัฐฯ ได้รับการชดเชยส่วนใหญ่โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานที่ปรับแนวโน้มการผลิตน้ำมันในปี 2024 ขึ้น 260,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 13.19 ล้านบาร์เรล
OPEC ยังคงคาดการณ์อุปสงค์ จับตารายงาน IEA
ในด้านอุปสงค์ องค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมันยังคงคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้น 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 และ 1.85 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2025
ใน รายงานประจำเดือน กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนั้นอ้างถึงการลดอัตราดอกเบี้ยและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นแรงผลักดันเบื้องหลังอุปสงค์น้ำมันที่เพิ่มขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ OPEC กล่าวว่าจะยังคงอัตราการลดกำลังการผลิตในปัจจุบันไว้จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน
นอกเหนือจาก OPEC แล้ว รายงานประจำเดือน จากสำนักงานบริหารพลังงานระหว่างประเทศก็มีกำหนดการณ์เผยแพร่ในสัปดาห์นี้เช่นกัน