🤑 ราคาไม่ได้ถูกมากไปกว่านี้แล้ว รับเลยส่วนลด Black Friday 60% ก่อนที่จะหมดเขต….รับส่วนลด

จำเป็น ต้องมี Stop Loss ไหม ?

เผยแพร่ 27/04/2563 20:14

หลายๆคนมักตั้งคำถาม เวลาเทรด หรือ ลงทุนว่า ต้องมี Stop Loss ไหม ??? เพราะบางครั้งเมื่อโดนตัดขาดทุนแล้ว เราพบว่ากราฟวิ่งกลับขึ้นไปเหมือนเดิม แถมถ้าถือต่อทำให้กลับมาปิดกำไรได้ ทำให้รู้สึกเสียดาย ถ้า “ไม่ตั้ง Stop loss” ก็กำไรไปแล้ว

ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ต้องถามว่า

“แผนการลงทุน คืออะไร” ???

แผนการลงทุน ต้องมีทั้ง ตอนได้ “กำไร” และ “ขาดทุน” เสมอ ถ้าไม่มี “แผน”

“ไม่ต้องลงทุน”

แม้จะได้กำไรครั้งนี้ แต่สุดท้ายแล้วคุณจะอยู่ในตลาดในระยะยาวไม่ได้ เพราะจะเกิดความเสียหายขนาดหนัก เมื่อการลงทุนครั้งนั้นไม่มีแผน

การลงทุนนี้ ไม่ว่าจะ หุ้น forex หรือ ธุรกิจ เรา “คิดสั้น” หรือ “คิดยาว” คิดแค่เอากำไรฉาบฉวย หรือ เพื่อสร้างมั่งคั่งกับตนเอง

ถ้าคิดยาว ต้องมี “แผน”

Stop Loss คือ เครื่องมือนึงที่ทำให้เราสามารถทำตาม “แผน” เมื่อการลงทุนนั้นไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง และ 99% ของแผนที่ดีมี Stop Loss ทั้งสิ้น

ไม่มี ไม่ตั้ง Stop Loss ได้ไหม

ตอบว่า “ได้” แต่ “แผน” คืออะไร ถ้าการลงทุนนั้นไม่เป็นไปตามคาด เราจะ ลงมือทำอะไร สุดท้าย มันจะสิ้นสุดอย่างไร เช่น ถ้า buy มาแล้ว ผิดทาง ก็ sell สวนเป็น 2 เท่า แล้วถ้า ผิด ผิด ผิด และ ก็ผิด ทางอีก ขาดทุนนั้น มันหนักเกินกว่ารับได้ไหม คิด “แผน” ให้จบก่อนลงมือทำ ถ้าสุดท้ายแล้วมันขาดทุนหนักเกินไป ตั้ง Stop Loss เถิด “ง่าย” ที่สุดแล้ว

เมื่อตัดขาดทุน (Stop Loss) แล้ว ราคาวิ่งกลับขึ้นไปทางเดิม รู้สึกเสียดาย สุดท้ายไปโทษ Stop Loss ถ้าไม่ตั้งก็กำไรแล้ว อันนี้ยิ่งแย่ไปใหญ่ ขอให้กลับมาดูที่ “แผน”

แสดงว่า “แผน” การตั้ง Stop Loss ยังไม่ดีพอ แล้วจะได้เอามาปรับปรุง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการเข้า (Lot Size, จำนวนหุ้น) ให้เหมาะสม

เห็นไหมครับ หากลับไปดูที่แผน เราจะเกิดการพัฒนาตนเอง แถมยังสามารถคุมความเสี่ยง ไม่ให้เสียหายมากเกินไป ถ้าเกิดการขาดทุน

กับนักลงทุนอีกประเภทนึง เมื่อราคามาผิดทางใกล้ถึงจุด Stop Loss แล้ว เลื่อนหนีลงไปอีก ผมเรียกว่า “เปลี่ยนแผน” ลงอีก แล้ว เลื่อนอีก เปลี่ยนแผน แล้ว เปลี่ยนอีก ไม่ยอม “รับความจริง” เลิกนิสัยนี้เสีย เพราะคุณต้องการ “ชนะ” สุดท้าย อาจจะได้กำไรในครั้งนี้ แต่ผมมั่นใจว่าจะเป็นนิสัยติดตัวไป จนครั้งที่กราฟไม่เป็นใจ คุณจะเสียหายหนักจนออกจากตลาดไป

อย่าลืมนะครับ อยากอยู่ในตลาด “ยาวๆ” หรือ แค่ ฉาบฉวย เอาแค่ครั้งคราว

อยากอยู่ยาวๆ ต้องมี “แผน” แผนไม่ดี ก็ปรับแผน ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ไม่ใช่ทำลายนิสัย ตัวเองเปลี่ยนแผนอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายไปโทษ Stop Loss โทษแผน แต่อย่าลืม ตัวเราเองนี่แหละ คือ คนที่จะสร้างแผน ทำตามแผน หรือ จะพัฒนาแผนให้ดียิ่งขึ้น

เป็นกำลังใจให้ครับ ขอให้ลงทุนอย่างมี “แผน” นะครับ

บทความนี้จัดทำเลยเผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ About Traders

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย