-
แม้ว่าในสัปดาห์ที่แล้วดัชนีหุ้นจะปิดตลาดได้ต่ำกว่าเดิม แต่ดัชนี S&P 500 ยังทำสถิติได้สูงสุดนับตั้งเดือนมกราคมเป็นต้นมา
-
ถือเป็นเดือนมิถุนายนที่ดัชนีดาวโจนส์ทำผลงานได้ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 1938
-
ผลตอบแทนพันธบัตรที่ยังคงตกต่ำแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นของตลาดที่แบ่งออกเป็นสองขั้ว
ตลาดหุ้นในวันจันทร์น่าจะเปิดตัวได้ดีขึ้น สืบเนื่องมาจากการประชุม G20 ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สองผู้นำจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมีความเห็นพ้องที่จะยุติสงครามทางภาษีระหว่างกันในช่วงเวลานี้ก่อนและจะพยายามหาข้อตกลงร่วมกันในสงครามการค้านี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหรัฐฯ จะยอมยกเลิกข้อห้ามที่เคยไม่่ให้บริษัทหัวเหว่ยซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีรวมทั้งยอมให้จีนซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรของอเมริกาได้แล้วนั้น นักลงทุนควรทราบว่าการอนุญาตดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อตกลงถาวร เพราะประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญายังคงเป็นปัญหาระหว่างทั้งสองประเทศอยู่ หลายฝ่ายคาดว่าผู้นำทั้งสองประเทศเพียงต้องการลดผลกระทบที่จะเกิดกับเศรษฐกิจทั่วโลกลงเท่านั้น และแม้ว่าจีนจะ ยอมอ่อนข้อใน “ข้อตกลง” ในวันนี้ แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อที่จะให้บรรลุข้อตกลงกันได้ทั้งหมด
ดัชนี S&P 500 ในรอบครึ่งปีปรับตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา ด้านดัชนีดาวก็ทำสถิติในเดือนมิถุนายนได้สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1938
แม้ว่าดัชนีจะปิดตลาดประจำสัปดาห์ได้ต่ำกว่าเดิม แต่ ดัชนี S&P 500 ก็ทำผลงานในรอบเดือนได้สูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม รวมทั้งยังทำสถิติในช่วงครึ่งปีแรกได้ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา โดยมีการปรับตัวขึ้นทำสถิติใหม่ในช่วงสองไตรมาสแรกของปี 2019 ได้ถึง 17.3%
การปรับตัวขึ้นของดัชนี S&P 500 ในเดือนมิถุนายนถึง 6.89% เกือบจะชดเชยส่วนที่ปรับลดลงไปในเดือนพฤษภาคมได้เกือบทั้งหมด โดยต่างกันไปเพียงแค่ 0.14% โดยก่อนหน้านี้ดัชนีมีการปรับตัวขึ้นติดต่อกันยาวนานถึง 4 เดือนเต็มตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเมษายนคิดเป็น 17.51% จากนั้นในเดือนพฤษภาคมมีการปรับมูลค่าลงเล็กน้อย และในไตรมาสที่สองสามารถปรับเพิ่มขึ้นมาได้อีก 3.79% อย่างไรก็ตาม หากไม่นำการปรับลดลงค่อนข้างมากในเดือนพฤษภาคม (ซึ่งลบล้างการปรับขึ้นในช่วง 2.5 เดือนก่อนหน้านั้นไปได้) มาพิจารณาร่วมด้วยแล้ว ดัชนีที่เพิ่มขึ้นมาในเดือนมิถุนายนก็ยังปิดตลาดต่ำกว่าค่าต่ำสุดของเดือนพฤษภาคมอยู่ 0.14%
ข้อมูลทางเทคนิคชี้ให้เห็นว่าดัชนีกำลังทำรูปแบบ hammer ประจำสัปดาห์ ในระดับราคาเดียวกันกับ hammer ในช่วงปลายเดือนเมษายน เมื่อดูจากราคาปิดประจำสัปดาห์ที่ลดต่ำลงน่าจะเป็นการยืนยันการเข้าสู่ช่วงตลาดขาลงได้ ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมเป็นการยืนยันการเกิด hammer ของเดือนเมษายน โดยดัชนีประจำสัปดาห์ไปปิดที่ระดับต่ำกว่าเดิม 2% หรือ 7% เมื่อนับจากต้นเดือนมิถุนายน การเกิดรูปแบบ hammer ก่อนหน้านั้นจึงทำให้เกิดแนวต้านนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2018 เป็นต้นมา เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในสัปดาห์นี้หรือไม่ หรือการชะลอการใช้มาตรการทางภาษีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้? โอกาสที่น่าจะเกิดขึ้นได้ยังมีแค่ 50/50
ผลงานของกลุ่ม วัสดุก่อสร้าง ในเดือนนี้ยังคงดีขึ้นกว่าเดิม (+10.94) โดยกลุ่ม น้ำมันดิบ เป็นกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นได้สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม ส่วนกลุ่ม ผู้ผลิตชิป ก็ยังทำผลงานประจำเดือนได้ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์สามารถหาทางออกทางกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการแบนบริษัทหัวเหว่ยได้
ดัชนี ดาว ปิดตลาดในเดือนมิถุนายนได้สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1938 เป็นต้นมา โดยภายในเดือนเดียวสามารถไต่ขึ้นไปได้ถึง 7.2%
ผลตอบแทนพันธบัตรยังลด ส่วนราคาทองคำและน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
ในขณะที่ตลาดหุ้นทำผลงานได้ดีถล่มทลาย แต่ผลตอบแทนพันธบัตรกลับดิ่งลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ส่วนราคา ทองคำ ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 ด้านราคา น้ำมัน ก็ยังคงมีหวังว่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้อีก หากโอเปคและรัสเซียตกลงขยายระยะเวลาในข้อตกลงการจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันต่อไป
แม้ว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นได้ แต่นักลงทุนก็ยังคงถือครองพันธบัตรเอาไว้อย่างเหนียวแน่น อันเป็นผลมาจากท่าทีล่าสุดของเฟดที่น่าจะมี การปรับไปใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน จึงไม่น่าแปลกใจที่นักลงทุนจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลไว้ในช่วงก่อนทีจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงไปอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบหลายปี ซึ่งถือว่าต่ำกว่าที่เคยปรับตัวขึ้นมาได้นับตั้งแต่ช่วงที่ทรัมป์ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายนปี 2016 เป็นต้นมาเสียอีก ซึ่งไม่น่าจะส่งผลดีกับตลาดหุ้นและน่าจะทำให้เกิดการหดตัวของสภาพเศรษฐกิจตามมาอย่างแน่นอน
จากข้อมูลทางเทคนิคจะเห็นว่าผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มทำรูปแบบชายธงขาลงทันทีหลังจากที่ทำรูปแบบธงขาลงได้สำเร็จ หากราคาทะลุกรอบแนวรับไปได้ก็จะเป็นการยืนยันว่าจะเกิดการปรับลดราคาลงได้อีกครั้ง
แม้ว่าราคาน้ำมันจะร่วงลงไปบ้างในวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่น่าจะมีการฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ใหม่ หากรัสเซียและซาอุดิอาราเบียบรรลุข้อตกลงในการขยายระยะเวลาการจำกัดปริมาณการผลิตได้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลทางเทคนิคแล้ว เราคาดว่าการฟื้นตัวของราคาดังกล่าวจะเป็นการปรับมูลค่า โดยมีเส้นแนวโน้มขาลงตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมาเป็นแนวต้าน
อย่างไรก็ตาม การกลับตัวยังไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในขณะนี้ เนื่องจากมีแนวรับของราคาอยู่ในระดับเหนือเส้น 200 DMA ซึ่งก็สอดคล้องกับการที่จีนกับสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงกันไปได้อีกขั้นหนึ่ง
ความขัดแย้งของสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
สัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นการปิดช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ถือเป็นการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา เหนือกว่าในรอบปี 1991-2001 เสียอีก
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจก็ยังมีอุปสรรคบางอย่างอยู่ โดยมี จีดีพี เฉลี่ยอยู่ที่ 2.3% ซึ่งต่ำกว่าการขยายตัวของจีดีพีเฉลี่ยที่ 3% รวมทั้งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของการขยายตัวในสามครั้งก่อนหน้านี้ที่ 4.3% ซึ่งกินเวลากว่า 7 ปี นี่จึงอาจเป็นเหตุผลหลักอย่างหนึ่งที่อธิบายได้ว่าเหตุใดการขยายตัวในครั้งนี้จึงกินเวลายาวนานที่สุด
เราได้ทำการวิเคราะห์และคาดการณ์มาอย่างต่อเนื่องว่าภายหลังจากใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนจะเริ่มเข้าผลักดันให้ตลาดเป็นขาขึ้นได้ หากเฟดมีการเข้ามาให้ความช่วยเหลือ แต่ตลาดก็อาจจะเป็นขาลงได้ หากเกิดความกังวลว่าเฟดจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนจึงยังคงต้องพิจารณาโดยอาศัยข้อมูล อัตราการว่างงาน ในอดีตร่วมกับผลประกอบการภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นตามความเป็นจริง (ไม่เกิน 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว) มาใช้ร่วมกับ อัตราดอกเบี้ยที่เฟดน่าจะปรับลดลง ในเดือนกรกฎาคม
อย่างไรก็ตามก็ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ควรต้องจับตามอง อาทิ ตัวเลข อุตสาหกรรมการผลิต ที่ยังชะลอตัวซึ่งจะส่งผลกับความไม่แน่นอนของตลาด ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน, ปัญหา Brexit และการเลือกตั้งของสหรัฐฯ รวมทั้งปัญหาทางการเมืองอื่นๆ อีกด้วย