เหลียวหลัง
• เงินบาท USD/THB ปิดแข็งค่าที่ 32.45 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 32.29-32.61 ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยมูลค่า 1.66 หมื่นล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 7.3 พันล้านบาท
• เงินดอลลาร์ทรงตัวเทียบกับเยนแต่แข็งค่าเมื่อเทียบเงินยูโร ขณะที่การประชุมผู้นําสหภาพยุโรป(อียู)สิ้นสุดลงโดยปราศจากรายละเอียดในข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุน ฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งได้ รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ ความปั่นป่วนในตลาดน้ำมันหนุนความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างไรก็ดี ตลาดเปิดรับความเสี่ยงอีกครั้งหลังสหรัฐฯผ่านร่างกฎหมาย มูลค่า 4.84 แสนล้านดอลลาร์เพื่อบรรเทาความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
แลหน้า
• เงินบาทมีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 32.25-32.65 ต่อดอลลาร์ ตลาดจะให้ความสนใจกับผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ), ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในสัปดาห์ นี้ โดยคาดว่าอาจมีการส่งสัญญาณเตรียมพร้อมสําหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหากจําเป็น แม้ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาธนาคารกลางหลักทั่วโลกได้ก้าวเข้าสู่การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ นักลงทุนจะจับตาแนวทางการ กลับมาทยอยเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งของบางประเทศในยุโรป และบางเมืองในสหรัฐฯ เราประเมินว่าตลาดจะยังคง ระมัดระวังและแม้ความผันผวนเริ่มลดลงแต่บรรยากาศการลงทุนที่เปราะบางจะจํากัดการอ่อนค่าของดอลลาร์และเยน
• ทิศทางค่าเงินบาทยังต้องติดตามความต่อเนื่องของการกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรไทยจากนักลงทุนต่างชาติและฤดูกาลจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนเช่นกัน ส่วนแนวทาง ปลดล็อคดาวน์ยังคงต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการดูแลอย่างเข้มข้นทั้งมิติด้านสาธารณสุข สังคม รวมถึงระบบการเงิน ด้านก.พาณิชย์รายงานยอดส่งออกเดือนมี.ค.เติบโต 4.17% y-o-y ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 เดือน ขณะที่นําเข้า เพิ่มขึ้น 7.25% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 1.59 พันล้านดอลลาร์ ข้อมูลดังกล่าวสดใสเกินคาด ขณะที่การส่งออกไป สหรัฐฯบางส่วนสะท้อนการส่งคืนยานพาหนะและอาวุธซ้อมรบ นอกจากนี้ การเติบโตของมูลค่าส่งออกรวมเป็นผลของทองคําและสินค้าที่ได้ รับความต้องการสูงในช่วงการเว้น ระยะห่างทางสังคม อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร นอกจากนี้ รัฐบาลกล่าวว่าได้มอบหมายให้ธปท.ดูแลค่าเงิน บาทให้มีความได้เปรียบด้านการส่งออก ส่วนในเดือนมิ.ย.จะ มีมาตรการชุดใหม่ซึ&งเน้นการบริโภคภายในประเทศ
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
( อัพเดทอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท USD/THB ประจำวันล่าสุด ที่นี่ )