- ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงมามากที่สุดในรอบ 4 สัปดาห์
- สินทรัพย์ปลอดภัยทุกตัวทะยานสูงขึ้นจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ - อิหร่าน
- อินดิเคอเตอร์ในตลาดหุ้นที่แสดงให้เห้นว่าราคายังปรับฐานอยู่อาจพุ่งอย่างรุนแรง
สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศอิหร่านเหมือนจะเป็นการบอกใบ้นัยๆ ให้กับนักลงทุนในตลาดหุ้นได้รับรู้ว่าควรเรื่มต้นลงทุนอย่างไรในสัปดาห์นี้ หุ้นดังๆ ส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ล้วนแล้วปรับตัวลดลงมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า ปรับตัวสูงขึ้นจากความวิตกของชาวโลกว่าความขัดแย้งนี้อาจนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่และจะทำให้น้ำมันต้องขาดแคลน
นอกจากนี้สินทรัพย์ปลอดภัยทั้งหลายอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล สกุลเงินเยนและราคาทองคำล้วนปรับตัวสูงขึ้น
นักลงทุนถอนเงินออกเพื่อลี้ภัยสงคราม
ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงทันที่ 0.71% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากที่ตลาดทราบข่าวการสังหารพลตรี กัสซิม โซเลมานี นายทหารคนสำคัญของอิหร่านด้วยโดรนซึ่งถือเป็นการปรับตัวลดลงมาต่ำที่สุดของราคานับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2019 ที่ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงมา 0.86%
หลังจากที่อิหร่านถูกคุกคามอย่างรุนแรงและสัญญาว่า “จะเอาคืน” แน่นอนสำหรับการตายของนายพลคนนี้ นักลงทุนในตลาดรีบโยกเงินออกจากตลาดหุ้นและย้ายไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยทันทีส่งผลให้สินทรัพย์ทั้งหลายปรับตัวสูงขึ้น ตลาดหุ้นชั้นนำในกลุ่มเทคโนโลยีอย่างตลาด NASDAQ และตลาดดัชนีดาวโจนส์ ปรับตัวลดลง 0.79% และ 0.81% ตามลำดับ
การโจมตีทางการทหารอย่างไม่คาดฝันในครั้งนี้หลังจากที่ทั้งสองประเทศต้องอยู่ท่ามกลางความตึงเครียดมานานเหมือนกับการที่ลูกโป่งถูกทำให้แตกด้วยการใช้เข็มจิ้ม เมื่อลูกโป่งแตกแล้วทำให้นักลงทุนในตลาดเริ่มวิตกมากขึ้นไม่เพียงเฉพาะเรื่องระหว่างสหรัฐฯ - อิหร่านแต่ยังรวมไปถึงเรื่องการเซ็นสัญญาขั้นแรกระหว่างสหรัฐฯ - จีนซึ่งจะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้านี้แล้ว
ความหวังเล็กๆ เกี่ยวกับสถานการณ์สงครามการค้าที่ดีขึ้นระหว่างทั้งสองมหาอำนาจทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความหวังจนกระทั่งมาเกิดเหตุการณ์ทางการทหารครั้งนี้ ทางธนาคารกลางจีนยอมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อช่วยหนุนเศรษฐกิจของประเทศตนเอง ข้อมูลจากหลายๆ ที่แสดงให้เห็นว่ากราฟเดินทางมาถึงจุดต่ำสุดของราคาและพร้อมที่จะดีดตัวขึ้นแล้วหลังจากที่ธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามความฝันว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นต้องตึงเครียดอีกครั้งหลังจากปฏิบัติการทางการทหารของสหรัฐฯ ที่กระทำต่ออิหร่าน
กราฟดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงส่งสัญญาณสิ้นสุดแนวโน้มขาขึ้นที่มีมาตลอด 5 สัปดาห์และถือเป็นการหยุดสัญญาณขาขึ้นที่มีมาตลอดนับตั้งแต่จุดต่ำสุดของราคาในเดือนเดือนพฤศจิกายนปี 2019 เป็นเวลา 13 สัปดาห์ด้วยกัน
เมื่อวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้วจะพบว่ากราฟราคาเมื่อวันศุกร์หลุดลงมาจากกราฟแท่งที่สามารถสร้างจุดสูงสุดของราคาได้ในวันพฤหัสบดีโดยกราฟสามารถหลุดเทรนไลน์ขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคมปี 2019 ได้สำเร็จ อินดิเคเตอร์ RSI เริ่มที่จะหักหัวลงแล้วแม้ว่าราคาจะพึ่งสร้างจุดสูงสุดใหม่ของราคาไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาถือเป็นสัญญาณไดเวอร์เจนต์ของขาลง (Negative Divergence) นอกจากสัญญาณยืนยันขาลงจากอินดิเคเตอร์แล้วกราฟแท่งเทียนยังได้แสดงรูปแบบที่เรียกว่า Peaks & Troughs หลังจากที่ RSI ขึ้นไปแตะโซน overbought ที่ 78 นับตั้งแต่เดือนมหราคมปี 2018
มาดูที่ราชาอินดิเคเตอร์อย่าง MACD กันบ้างจากรูปจะเห็นได้ว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นพึ่งที่จะเจาะเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวลงมาซึ่งสอดคล้องกับการที่ราคาเริ่มที่จะปรับตัวลดลงและยิ่งเป็นการยืนยันความถูกต้องของการที่ราคาสามารถเจาะเทรนไลน์ขาขึ้นลงมาได้ จากนี้กราฟอาจลงมาทดสอบเส้นเทรนไลน์ขาขึ้นใหญ่ที่ลากมาตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคมที่ระดับราคา 3200 ซึ่งถ้าแนวรับนี้รับไม่อยู่ กราฟอาจมีการปรับฐานกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้านนี้อีกครั้งก่อนที่จะมุ่งหน้าลงไปยังระดับราคา 3070 ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของราคารับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคมปี 2019 หากเป็นเช่นนั้นจริงนี่จะเป็นการปรับตัวลดลงมาทั้งสิ้น 200 จุดหรือคิดเป็น 6% นับจากจุดสูงสุดของราคาตลอดกาล
จากภาพประกอบแสดงให้เห็นว่ากราฟทางเทคนิคของดัชนีวัดความผันผวน (VIX) ถูกทำให้อยู่ในโซนที่พึงพอใจของนักลงทุนมานานโดยมีจุดต่ำสุดของดัชนีอยู่ที่เดือนสิงหาคมปี 2018 จากนั้นดัชนีตัวนี้ก็พยายามปรับตัวขึ้นเรื่อยมา ในปี 2019 ดัชนีสามารถกลับขึ้นไปยังระดับราคาที่ 20 ในเดือนกรกฏาคมและในเดือนตุลาคม จากระดับราคาที่เป็นอยู่ในตอนนี้จึงนำมาสู่คำถามที่ว่าดัชนีวัดความผันผวนตัวนี้จะสามารถวิ่งขึ้นกลับไปยังจุดสูงสุดเหล่านี้ได้อีกครั้งหรือไม่?
ด้วยสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ - อิหร่านที่เป็นอยู่จึงทำให้เราเป็นห่วงว่าการปรับตัวขึ้นมาในครั้งนี้จะเป็นเหมือนกับในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่ที่ดัชนีตัวนี้สามารถปรับตัวขึ้นมาได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเพราะแม้แต่การเปิดราคาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาซึ่งถัดจากวันหยุดปีใหม่ก็เป็นการเปิดศักราชที่ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษเลยทีเดียว
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานแล้วก็เป็นไปได้อยู่ที่ดัชนีวัดความผันผวนจะปรับตัวขึ้นมาอีกรอบหากการเจรจาการค้าในขั้นแรกระหว่างสหรัฐฯ - จีนที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้าประสบความสำเร็จราบรื่นและสร้างข่าวดีให้กับตลาดการลงทุนกลบข่าวไม่ดีระหว่างสหรัฐฯ - อิหร่าน
ภาพรวมของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แบบ 10 ปีปรับตัวลดลงมา 8 จุดเบสิสจากจุดสูงสุดที่ 1.9% เหลือ 1.799% นี่ถือเป็นการปรับตัวลดลงมาที่ชันที่สุดของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 2 ปีกับ 10 ปีนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2018
ในทางเทคนิคแล้วกราฟพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ร่วงลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA และยังติดอยู่ในกรอบราคาระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยทั้งสองซึ่งที่ด้านบนของราคามีแนวต้านจิตวิทยาอยู่ที่ 2.00 กราฟยังคงติดอยู่ระหว่างว่าจะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงระยะยาวนับตั้งแต่จุดสูงสุดของราคาในเดือนพฤศจิกายนปี 2018 หรือเป็นแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นนับตั้งแต่จุดต่ำสุดของราคาในเดือนพฤศจิกายน
การปรับตัวขึ้นของสกุลเงินเยนเมื่อวันศุกร์ทำให้สกุลเงินดอลลาร์มีมูลค่าอ่อนกว่าสกุลเงินเยนซึ่งผลลัพธ์ก็คือกราฟ USDJPY หลุดกรอบราคาขาขึ้นของตัวเองลงมาหลังจากที่ราคาสามาสร้างรูปแบบหัวไหล่กลับหัว (Inverted Head & Shoulder) สำเร็จ เชื่อว่ากราฟ USDJPY จะลงมาทดสอบเส้นแนวต้านอีกครั้งในขณะที่ดัชนี RSI จะแตะโซน oversold พอดี
กราฟราคาทองคำดีดตัวขึ้นมา 0.04% นับตั้งแต่จุดปิดของราคาเมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ราคานี้ถือเป็นจุดของสุดของกราฟในตระกูลสินค้าโภคภัณฑ์นับตั้งแต่สัปดาห์แรกของเดือนเมษายนปี 2013 กราฟราคาทองคำยังถือว่าปรับตัววิ่งขึ้นตามรูปแบบหัวไหล่กลับหัว (Inverted Head & Shoulder) ที่ส่งผลมาตั้งแต่ปี 2013 เพราะอย่างไรก็ตามทองคำก็ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในยามสงครามอยู่เสมอ
แม้ว่าจะเกิดสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ - อิหร่านเกิดขึ้นแต่ก็เป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ให้เห็นว่าสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนทั่วโลกให้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย กราฟบิทคอยน์ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นจนสามารถทะลุแนวต้านที่ $7,460 ขึ้นมาได้นับตั้งแต่ที่ราคาทะลุแนวต้านนี้ลงมาในเดือนมิถุนายนปี 2019 และยังคงอยู่ในกรอบราคาแนวโน้มขาลงต่อไป
ความกังวลที่นักลงทุนมีเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ราคาน่ำมันจะถูกแทรกแซงจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางทำให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นสูงมากที่สุดในรอบ 4 สัปดาห์
เมื่อวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้วจะพบว่ากราฟราคาน้ำมันดิบได้ยืนยันแนวรับใหม่ที่เกิดจากรูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตรที่ลากมาตั้งแต่จุต่ำสุดเดือนธันวาคมปี 2018 และจุดสูงสุดในวันที่ 20 เดือนพฤศภาคมปี 2019 แล้วแม้ว่าก่อนหน้านี้เราจะเชื่อว่ากราฟไม่น่าจะทะลุสามเหลี่ยมสมมาตรนี้ขึ้นมาได้และควรจะเป็นแนวโน้มขาลงไปหาเส้นเทรนไลน์ขาขึ้นด้านล่างแทน
อย่างไรก็ตามการที่กราฟราคาน้ำมันดิบทะลุรูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตรขึ้นไปและการที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 DMA ตัดเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA ขึ้นไปได้ช่วยเป้นการยืนยันแนวโน้มขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบในรอบนี้ อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรรอให้กราฟ RSI ปรับตัวลดลงมาจากแนว overbought ของอินดิเคเตอร์เสียก่อนซึ่งก่อนหน้านี้ราคาน้ำมันดิบเคยปรับตัวลดลงมา 23.6% ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์จนกระทั่งถึงวันที่ 5 มิถุนายน
ข่าวเศรษฐกิจที่ต้องจับตามองในสัปดาห์นี้
เวลาทั้งหมดเทียบเป็น EST
วันจันทร์
04:30: (สหราชอาณาจักร) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ: คาดการณ์ว่าจะปรับตัวสูงขึ้น 49.1 จาก 49.0 ราคายังคงปรับตัวอยู่ในกรอบ
วันอังคาร
05:00: (ยูโรโซน) - ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI): คาดการณ์ว่าจะปรับตัวสูงขึ้น 1.3% จาก 1.0%
10:00: (สหรัฐฯ) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตโดย ISM: อาจปรับตัวสูงขึ้นเป็น 54.5 จาก 53.9
วันพุธ
08:15 (สหรัฐฯ) - ตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP: เชื่อว่าจะปรับตัวสูงขึ้นจาก 67K เป็น 156K
10:30 (สหรัฐฯ) - ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: จะปรับตัวลดลงจาก -11.463M เหลือ -3.288M
วันพฤหัสบดี
02:00 (เยอรมัน) - รายงานดุลบัญชีการค้า: เชื่อว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 20.6B ในเดือนตุลาคมเหลือ 19.7B ในเดือนพฤศจิกายน
19:30: (ออสเตรเลีย) - รายงานตัวเลขยอดขายปลีก: อาจมีอัตราการเติบโตจาก 0.0% เป็น 0.2%
วันศุกร์
08:30 (สหรัฐฯ) - ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นจาก 160K เป็น 266K