มีสุภาษิตเก่าเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่นักลงทุนคุ้นเคยอยู่อย่างหนึ่งว่า “ขายในเดือนพฤษภาคม แล้วไปทำอย่างอื่น” ("Sell in May and go away") ซึ่งที่มาของกลยุทธ์นี้มาจากความคิดที่ว่า ตลาดทุนในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคมจะมีความโดดเด่นมากกว่าช่วงเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน
แต่ปัญหาของแนวคิดเก่าๆ หลายอย่างคือความเชื่อที่ขาดการตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นความจริงหรือไม่ สมมุติว่าขณะนี้เป็นเดือนพฤษภาคม ลองพิจารณาจากผลการดำเนินงานตลอด 20 ปีที่ผ่านมาของ S&P 500 เทียบกับช่วงเวลาที่กล่าวข้างต้นเพื่อดูว่าขายในเดือนพฤษภาคมแล้วค่อยกลับมาในเดือนพฤศจิกายนนั้นได้ผลจริงหรือไม่
ข้อมูลนี้จะสรุปได้อย่างชัดเจน
ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานของ S&P จากเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคมดีกว่าในช่วงหกเดือนถัดมาซึ่งก็คือช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน คิดเป็น 75% ของช่วงเวลา หรือ 15 ครั้งจาก 20 ครั้ง
แต่ตัวเลขเพียงอย่างเดียวก็ยังมี่ข้อมูลไม่เพียงพอ มีการลงทุนจำนวน $10,000 ใน S&P ช่วงเดือนพฤศจิกายน 1998 แล้วปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งน่าจะเติบโตขึ้นมาในวันนี้ได้ถึง $26,812 หรือคิดเป็น +168% ที่อัตราผลตอบแทน 4.69% ต่อปีซึ่งอาจมองว่ายังต่ำ แต่พึงระลึกไว้ว่าตลาดเมื่อ 20 ปีที่แล้วเป็นช่วงที่กำลังจะเข้าสู่ยุคออนไลน์ ดังนั้นผลตอบแทนจึงได้รับผลกระทบในทางลบจากช่วงเวลาที่เลือก
คุณขายเฉพาะในเดือนพฤษภามาตลอดตั้งแต่ปี 1998 หรือเปล่า เงินลงทุน $10,000 อาจมีค่าถึง $27,735 คิดเป็น +177% หรือผลตอบแทน 4.98% ในปัจจุบัน ในทางกลับกัน หากขายในเดือนพฤษภาก็พอ แล้วซื้อกลับในเดือนพฤศจิกายนอาจทำให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 3.45% ในช่วง 20 ปี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาภาษีของต้นทุนและกำไรส่วนต่างของราคา กลยุทธ์นี้น่าจะให้ผลตอบแทนที่แย่กว่าการซื้อและถือไว้ แม้ว่าผลการดำเนินงานของ S&P ในช่วงพฤศจิกายนถึงพฤษภาคมจะดีกว่าค่าเฉลี่ยของช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายนก็ตาม
ท้ายนี้ เพื่อให้คลายความสงสัย หากมีคนลองแหกกฎเพื่อขายในเดือนพฤศจิกายนดูบ้างแล้วจะเกิดอะไรขึ้น เขาจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าไหม คำตอบคือ ไม่
หากลงทุน $10,000 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายนเป็นเวลา 20 ปีดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนเพียง $9,667 ซึ่งทำให้ขาดทุนถึง 3.33% ก่อนที่จะหักต้นทุนอื่นๆ ด้วยซ้ำไป ดังนั้นกลยุทธ์ที่เรียบง่ายและดีที่สุดคือการซื้อและถือไว้จะเป็นวิธีที่สมเหตุสมผลและมักจะเป็นเช่นนั้นเสมอ กล่าวคือ ยิ่งปรับเปลี่ยนน้อยก็จะยิ่งให้ผลที่ดีกว่า