ส่งออกเดือน มี.ค.2563 เติบโต...สวนทางกับที่ตลาดคาด
กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออกไทยที่+4.17 %YoY สวนทางกับที่ตลาดคาด -5.8% YoY หากหักทองคำออกส่งออกไทยยังคง +0.17% YoY โดยมีรายละเอียดดังนี้1) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 21 เดือน เช่น Hard Disk Drive และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 2) สินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในหมวดของผัก ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป และไก่สดแช่แข็ง และแปรรูป รวมถึง 3) ทองคำ ส่วนการนำเข้าเติบโตสอดคล้องกับส่งออกที่ตามสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเป็นหลัก ส่งผลให้ให้ดุลการค้าเดือนนี้เกินดุลราว US$ 1.59 พันล้าน และ1Q63 ยังคงเกินดุลราว US$ 3.93 พันล้าน โดยภาพรวมส่งออกไทยใน 1Q63 สามารถขยายตัวได้ที่0.91% YoY สูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส เราคาดว่าส่งออกไทยใน 1H63 มี แนวโน้มทรงตัว เนื่องจากไทยยังคงได้รับประโยชน์จากการส่งออกอาหาร นอกจากนี้หาก ประเทศคู่ค้าสำคัญมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown จนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ กลับมาดำเนินการได้จะเป็นผลบวกต่อการส่งออกไทยในระยะถัดไป ขึ้นอยู่กับแนวโน้มของจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศคู่ค้าเป็นหลัก
ส่งออกเดือน มี.ค. +4.17% YoY ดีกว่าคาดการณ์ของตลาด
กระทรวงพาณิชย์ รายงานการส่งออกของไทยประจำเดือน มี.ค. 2563 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 8เดือน ที่ +4.17 %YoY ดีกว่าที่ตลาดคาด -5.8% YoY และ 1Q63ขยายตัว 0.91% YoY (สูงสุดในรอบ 5ไตร มาส) โดยมีปัจจัยหนุนดังนี้
1) สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 6.4% YoY จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 21เดือน +8.6% YoY โดยเฉพาะ (1.1) Hard Disk Drive เร่งตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ +46.93% YoY (1.2) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบขยายตัว 17.6% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 (1Q63 เพิ่มขึ ้น 8.8%YoY) เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมีการออกมาตรการ Work From Home รวมถึงการเรียนออนไลน์ เป็นปัจจัยหนุนให้ความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น ประกอบกับโรงงานในประเทศจีนชะลอการผลิต ดังนั้น เป็น Sentiment เชิงบวก ต่อหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่น DELTA, KCE และ HANA
2) สินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ (2.1) น้ำตาลทราย เนื่องจากผู้ผลิตอ้อยในหลายประเทศประสบปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตอ้อยลดลงขณะที่ความต้องการ เท่าเดิม ทำให้ไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น 17.5% YoY เป็น Sentiment เชิงบวกต่อKSL (2.2) ผัก ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป พลิกกลับมาขยายตัวครั้งแรก +10.9% YoY ในรอบ 3 เดือน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดในจีนและฮ่องกง เริ่มดีขึ้น ทำให้ประชาชนกลับมาจับจ่าย ใช้สอย ในทางกลับกันสถานการณ์ COVID-19 ในสหรัฐฯและ ยุโรป ยังไม่คลายตัวส่งผลให้ประชาชน กักตุนอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋ อง (2.3) ไก่สดแช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัว 7.5%YoY ต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 9 เป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่ม CPF, GFPT
3) ส่งออกทองคำ +215.3% YoY ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ถึงแม้ COVID-19 จะกระทบต่อการผลิตและส่งมอบทองคำในบางประเทศ แต่ราคาทองคำยังคงเป็นในทิศทางบวก
ขณะที่สินค้าส่งออกสำคัญของไทยหลายรายการหดตัวท่ามกลางการแพร่ระบอกของโรค COVID-19 เช่น
1) สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ (1.1) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวลง -28.7% YoY เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ความต้องการทั่วโลกลดลง เช่น ประเทศออสเตรเลียที่เป็นตลาด ส่งออกรถยนต์ที่สำคัญเเป็นลบต่อหุ้น SAT รวมถึง (1.2) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน -17.4% YoY เป็นผลจากราคาน้ำมันลดลง ถึงแม้กลุ่ม OPEC และ กลุ่มประเทศพันธมิตรจะปรับลดกำลังการผลิตลงแล้ว แต่ยังไม่สามารถชดเชยกับอุปสงค์ที่ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกชะลอ ตัวอย่างรุนแรง
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities