โดย Darrell Delamaide
หากว่านางคริสติน ลาการ์ดจะต้องเป็นผู้รับช่วงต่อจากนายมาริโอ ดรากีในตำแหน่งประธานธนาคารกลางยุโรปในช่วงปลายปีนี้จริงๆ นอกจากจะมีสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำอีกมากมาย ยังอาจพบว่า she may well find them tied too.
จากการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาที่เมืองวิลนีอุส นายดรากีและคณะกรรมการนโยบายการเงินอีก 24 คนไม่ได้มีลับลมคมในการวางแผนทางด้านนโยบายทางการเงินแต่อย่างใด
รายงานการประชุม ที่เพิ่งออกมาเมื่อวันพฤหัสบดีนั้นมีการประกาศล่าช้ากว่าปกติเนื่องจากเป็นการประชุมนอกสถานที่ รายงานการประชุมชี้ให้เห็นว่ามี “ความเห็นที่ค่อนข้างหลากหลาย” สรุปได้ว่า “ธนาคารกลางยุโรปจะต้องเตรียมพร้อมในการนำ นโยบายทางการเงิน แบบผ่อนปรนมาใช้เพิ่มเติมเพื่อปรับตัวเลขทางเศรษฐกิจให้เหมาะสมเพื่อให้ระดับราคามีเสถียรภาพตามเป้าหมายที่กำหนด”
เพื่อไม่ให้เกิดความสงสัย “เครื่องมือที่น่าจะถูกนำมาใช้ประกอบไปด้วยการยืดระยะเวลาการใช้นโยบายและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจด้วยการซื้อสินทรัพย์สุทธิและลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง” นั่นเอง
มาตรการเพิ่มเติม
มาตรการสำหรับอนาคตอันใกล้ที่เพิ่มเติมมาจากมาตรการในการประชุมเดือนมิถุนายน คณะกรรมการตัดสินใจที่จะยืดเวลาการใช้นโยบาย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ไปเป็นช่วงกลางปี 2020 และยืนยันว่าจะลงทุนในพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ รวมทั้งปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้เกิดการรีไฟแนนซ์ในระยะยาวได้ (แม้ว่าจะช่วยได้น้อยกว่าที่เคยทำได้ในรอบที่ผ่านมาก็ตาม)
รายงานการประชุมยังเผยให้เห็นถึงความสำคัญของนายฟิลิป เลน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางไอร์แลนด์ ผู้เคยรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน เพราะมีชื่อของ “นายเลน” ปรากฎอยู่ในรายงานการประชุมถึง 13 ครั้งทั้งในเรื่องการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ, การชี้แจงเรื่องการพยากรณ์การเติบโตที่ปรับตัวลดลง, การโต้แย้งเพื่อให้ลดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่อไป, การเสนอมาตรการที่ควรใช้ในการประชุมเดือนมิถุนายน และอื่นๆ อีกหลายเรื่อง
บทบาทที่มีความสำคัญ
หากนางลาการ์ดจะต้องเข้ารับตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน การที่ไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์หรือผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งใดมาก่อนย่อมทำให้หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์กลายเป็นบทบาทที่จะมีความสำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนับตั้งแต่สมัยที่นายอ็อตมา อิสซิงได้เริ่มต้นไว้ในยุคของนายวิม ดุยเซนเบิร์ก
ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกยังทำอะไรได้ไม่มากในการหาสาเหตุของอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงต่ำและเหตุผลที่มาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจใช้ไม่ค่อยได้ผล อาจไม่ใช่ความบังเอิญที่ธนาคารกลางที่มีความสำคัญมากสองแห่งอย่างธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปเลือกที่จะไว้วางใจนักการเมืองมากกว่านักการธนาคาร
นักลงทุนยังคาดหวังว่า ด้วยประสบการณ์การเป็นกรรมการผู้บริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่มี นางลาการ์ดเป็นผู้บริหารที่มีลักษณะอ่อนนอกแข็งในและน่าจะทำทุกวิธีทางที่จะทำให้เศรษฐกิจของยุโรปฟื้นตัวขึ้นมาจนได้
รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
รายงานประจำปีของ IMF ที่เกี่ยวข้องกับยูโรโซนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาก็ได้เปิดเผยข้อมูลที่ค่อนข้างมีความบังเอิญออกมาในทำนองเดียวกัน กล่าวคือ มีการสนับสนุนแผนการใช้มาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรปอย่างเต็มที่ เมื่อพิจารณาจากความเสี่ยงจากเบร็กซิท (ฺBrexit), อิตาลี และความตึงเครียดทางการค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
รายงานของ IMF ชี้ว่า “เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ยังย่ำแย่มาเป็นระยะเวลานาน” “จำเป็น” ต้องได้รับการช่วยเหลือหรือกระตุ้นเพิ่มเติมจากธนาคารกลางตามแผนที่กำหนดไว้
สิ่งที่ IMF ยังคงกังวลอยู่อีกเรื่องหนึ่งก็คือการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ยังน่าจะห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2% ในปี 2022 โดยคาดว่าปีนี้จะมีค่าเพียง 1.3% เท่านั้น
การเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่น
เป็นที่ชัดเจนว่านายดรากีเองก็คงไม่ทิ้งเก้าอี้ประธานเฟดอย่างเสียไม่ได้อย่างแน่นอน แต่น่าจะยังพยายามคุมบังเหียนธนาคารกลางไว้ต่อไปจนถึงนาทีสุดท้าย ตลาดมีการการคาดการณ์อย่างล้นหลามว่า ECB จะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเงินฝากลงไปอยู่ที่ระดับลบ 0.4% ในการประชุมวันที่ 25 กรกฎาคมหรือกลางเดือนกันยายนนี้อย่างแน่นอน
หากนางลาการ์ดมีท่าทีประนีประนอม การเปลี่ยนผ่านผู้รับตำแหน่ง ในครั้งนี้ก็น่าจะเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม นายดรากีได้ให้คำมั่นไว้แล้วว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปอีกเป็นเวลาปีครึ่งและน่าจะต้องการให้ ECB ใช้นโยบายการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจและเริ่มนำมาตรการซื้อสินทรัพย์กลับมาใช้อีกครั้ง
วันนี้ยังไม่ใช่โอกาสของผู้ที่มีท่าทีแข็งกร้าว
นายเจนส์ ไวด์มันน์ ผู้ว่าการธนาคารกลางเยอรมนี ผู้ซึ่งเคยคัดค้านการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรนของนายดรากีอย่างแข็งกร้าวและเปิดเผย และเคยมีกระแสข่าวลือว่าเป็นตัวเก็งสำหรับตำแหน่งนี้มาก่อน แต่นายไวด์มันน์มีโอกาสน้อยมากๆ ที่จะได้รับตำแหน่งประธาน ECB เป็นคนต่อไป
สิ่งหนึ่งที่ทุกคนอาจหลงลืมไปก็คือ ธนาคารกลางยุโรปมีรูปแบบมาจากธนาคารกลางเยอรมนี และมีจุดประสงค์แต่เดิมคือให้หลุดพ้นจากการควบคุมโดยชาวเยอรมัน แม้แต่นโยบายทางการเงินก็ยังแตกต่างจากรูปแบบที่เข้มงวดในแบบเดิมของเยอรมัน
เกียรติภูมิของนานาชาติ
การที่ผู้นำสหภาพยุโรปได้รับเกียรติในการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางยุโรปแทนนายดรากีในครั้งนี้ เนื่องจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางเริ่มที่จะมีแนวโน้มไปในทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของฝรั่งเศสก็เป็นผู้ที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน
นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสก็ไม่น่าจะปล่อยโอกาสที่ฝรั่งเศสจะได้รับตำแหน่งสูงสุดของอียูตำแหน่งนี้ให้หลุดลอยไปอย่างแน่นอน โดยต้องไม่ลืมว่าตำแหน่งนี้ไม่ได้ตกเป็นของชาวฝรั่งเศสเลยตั้งแต่นายฌอง-คล็อด ทริเชพ้นจากตำแหน่งประธานธนาคารกลางยุโรปไปเมื่อเกือบแปดปีที่แล้ว