โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2019
สัปดาห์นี้น่าจะเป็นสัปดาห์สำคัญอีกสัปดาห์หนึ่งของตลาดเงินเลยทีเดียว ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมักมีอิทธิพลเหนือกว่าผลการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจเสมอ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ยังคงเป็นที่จับตามอง รวมทั้งเรายังต้องรอดูท่าทีและความคิดเห็นจากธนาคารกลางหลายแห่งทั้งของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ยูโรโซน รวมถึงออสเตรเลียซึ่งกำลังจะออกมาแถลงเกี่ยวกับจุดยืนทางนโยบายเศรษฐกิจและการเงินเร็วๆ นี้
10 เหตุการณ์สำคัญที่ควรจับตามอง (เรียงตามลำดับเหตุการณ์)
- การแถลงการณ์ของ นายพาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงเย็นวันจันทร์ในการประชุมตลาดการเงินกลางแห่งแอตแลนต้า
- รายงานการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย และแถลงการณ์จากผู้ว่าการ โลวี เรื่อง “สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายด้านการเงิน” ในช่วงเย็นวันจันทร์
- ความคิดเห็นของ นายคาร์นีย์ ประธานธนาคารกลางอังกฤษเกี่ยวกับรายงานอัตราเงินเฟ้อของเดือนพฤษภาคมในช่วงเช้าวันอังคาร
- ยอดขายปลีก ของนิวซีแลนด์ในช่วงเย็นวันอังคาร
- แถลงการณ์ของ นายดรากี้ ประธานธนาคารกลางยุโรปในวันพุธ
- ยอดขายปลีก ของแคนาดาในวันพุธ
- รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันพุธ
- การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปในวันพฤหัสบดี
- การประกาศ PMI ของยูโรโซนในวันพฤหัสบดี
- ยอดขายปลีก ของสหราชอาณาจักรในวันศุกร์
สิ่งที่ไม่อยู่ในรายการดังกล่าวคือ รายงานการประชุมธนาคารกลางยุโรป และ ดัชนีราคาผู้บริโภค ของสหราชอาณาจักร เนื่องจากความคิดเห็นของ นายดรากี น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับตลาดมากกว่ารายงานการประชุมเพราะเป็นมุมของของเขาโดยตรง เช่นเดียวกับ ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งนายคาร์นีย์จะออกมาชี้แจงรายละเอียดในเรื่องอัตราเงินเฟ้อให้ทราบอยู่แล้ว
EUR/USD ซึ่งค่อยๆ ปรับตัวลดลงยังคงมีความเสี่ยงสูง นักลงทุนยังรอดูท่าทีจากนายดรากีว่าจะดำเนินการรีไฟแนนซ์ในระยะยาวรอบต่อไปอย่างไรและจะมีตัวกระตุ้นอะไรบ้าง จากนั้นจึงประเมินว่าสภาพเศรษฐกิจของยูโรโซนเป็นไปในทิศทางใดเมื่อเทียบกับดัชนี PMI และท้ายที่สุดคือ ผลการเลือกตั้งของยุโรปซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันพฤหัสบดีไปจนถึงวันอาทิตย์สุดสัปดาห์ การเลือกตั้งในครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปจากทั้งหมด 28 ประเทศ ซึ่งผลการเลือกตั้งน่าจะทราบภายในวันอาทิตย์ แต่ในขณะนี้การแข่งขันระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านสหภาพยุโรปยังคงดำเนินไปอย่างดุเดือด คำถามคือระดับการสนับสนุนจากประชาชนจะมีมากน้อยเพียงใด หากภาคประชาชนไม่สนับสนุนจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้การดำเนินงานต่อไปในอีก 5 ปีข้างหน้าไม่คืบหน้าเท่าที่ควร
แต่เสียงของประชาชนส่วนใหญ่อาจไม่ได้ส่งผลร้ายกับสกุลเงิน ดังตัวอย่างในประเทศออสเตรเลีย ชัยชนะในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของนายมอร์ริสันช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานับเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย เนื่องจากผลโพลล์จากหลายสำนักในหลายเดือนที่ผ่านมาต่างชี้ว่าเขาน่าจะแพ้ แต่เขาก็ได้รับเสียงจากผู้ที่สนับสนุนอย่างท่วมท้น ไม่เฉพาะแต่ในสหรัฐฯ เท่านั้นแต่ยังรวมถึงประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย ดอลลาร์ออสเตรเลีย พุ่งสูงขึ้นตามกระแสข่าวและปิดตลาดในวันนั้นได้สูงกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ทั้งหมด แม้ว่าชัยชนะในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจระยะสั้นของประเทศลดลงได้ แต่นักลงทุนมองว่าผลการเลือกตั้งที่นายมอร์ริสันได้รับเป็นข่าวดีและไม่มีผลด้านลบกับสกุลเงิน แต่อย่าลืมว่า นายโลวี ประธานธนาคารกลางออสเตรเลียอาจประกาศ ลดอัตราดอกเบี้ย ลงในคืนนี้ก็ได้ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางใหม่ให้กับ AUD/USD
นักลงทุนยังคงต้องติดตามการแถลงจาก นายพาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแนวโน้มความตึงเครียดทางการค้า รวมทั้งการเทขายหุ้นในตลาดจะมีอิทธิพลเหนือท่าทีเชิงบวกทางด้านเศรษฐกิจของเขาได้หรือไม่ USD/JPY กลับมายืนที่ใกล้ 110 หลังจากที่สัปดาห์ก่อนเด้งหลุดไปอยู่ที่ 109 หากนายพาวเวลล์ยังเชื่อว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว และจะมีการฟื้นตัวและเติบโตต่อได้อีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ USD/JPY อาจทะลุแนวต้านไปอยู่ที่ 110.50 และอาจขึ้นต่อไปได้ถึง 112 อย่างไรก็ตามหากเขามีท่าทีกังวลกับความเสี่ยง เราอาจจะเห็น USD/JPY ร่วงไปที่ 109 ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับเหตุการณ์อื่นๆ เราจะนำมารายงานและวิเคราะห์ให้ทราบต่อไป