โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2019
เช้าวันจันทร์ จีนประกาศตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีกับสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ มูลค่า 60,000 ล้านเหรียญ ส่งผลให้มูลค่าตลาดหุ้นและสกุลเงินต่างๆ ดิ่งลงอย่างรุนแรง ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ตกลงไปกว่า 600 จุดเช่นเดียวกับที่ NASDAQ และ S&P 500 ร่วงลงไปอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์ จีนใช้การตอบโต้อย่างช้าๆ ด้วยการขึ้นภาษีเพียง 60,000 ล้านเหรียญซึ่งนับเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของ ภาษีที่สหรัฐฯ เก็บจากสินค้าของจีนที่สูงถึง 200,000 ล้านเหรียญ อย่างไรก็ตามจีนจะใช้วิธีเทียบดอลลาร์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ไม่ได้อีกต่อไปเนื่องจากอัตราภาษีจะยังเพิ่มขึ้นจาก 10% ไปเป็น 20-25% จีนยังคงมีความหวังว่าในวันที่ 1 มิถุนายนนี้จะบรรลุข้อตกลงได้ แต่ประธานาธิบดีทรัมป์ยังคงมีแรงกดดันน้อยกว่าประธานาธิบดีสีค่อนข้างมาก สังเกตได้จากอารมณ์ในการทวีตข้อความและการขู่เพิ่มภาษีที่ไม่ค่อยเป็นมิตรเท่าใดนัก
ความน่าสนใจของสิ่งที่เกิดขึ้นในเช้าวันจันทร์คือ ในขณะที่หุ้นปรับตัวลงอย่างหนัก ผลตอบแทนของหุ้นกู้ทั่วโลกรวมทั้ง ราคาน้ำมัน ที่ลดต่ำลงก็ยังคงเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุน นอกจากค่าของ USD/JPY จะลดลงไปที่ 109 ตลาดเงินก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน เมื่อความตึงเครียดของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนปะทุถึงจุดเดือด USD/JPY, AUD/USD และ NZD/USD ปรับตัวลงน้อยกว่า 1% โดยอาจมีการแย้งว่าสาเหตุที่มีการเทขายสกุลเงิน 3 คู่นี้เริ่มมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว ตั้งแต่ช่วงที่สหรัฐฯ ตัดสินใจเพิ่มภาษีกับจีนในสัปดาห์ก่อนจนมาถึงวันนี้ เราเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวอยู่ราว 100 pip เท่านั้น ข้อมูลนี้ทำให้ทราบว่าสกุลเงินเหล่านี้ถูกเทขายไปมากแล้ว นักลงทุนเริ่มคลางแคลงใจว่าสหรัฐฯ จะสามารถป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจตกต่ำลงจากราคาสินค้าจากจีนที่แพงขึ้นได้อย่างไร หรือว่าจะเก็บไว้รอขายในช่วงที่ราคาสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก็คือตลาดเงินและตลาดหุ้นจะเป็นขาลงอย่างแน่นอน เว้นเสียแต่ว่าการเจรจาของทั้งสองฝ่ายจะหาข้อยุติที่ดีกว่านี้ได้ หาก ดัชนีดาว ทะลุกรอบ 25,300 อาจจะไปหยุดอยู่ที่ 24,000 ได้ และหากเป็นเช่นนั้น USD/JPY จะซื้อขายกันต่ำกว่า 109 โดย AUD และ NZD จะขาดทุนมากขึ้น
ตัวเลขตลาดที่อยู่อาศัย ล่าสุดของออสเตรเลียยังคงไม่น่าพอใจ สินเชื่อสำหรับที่อยู่อาศัยตกลงไป -2.8% ขัดกับที่คาดการณ์ไว้ที่ -0.5% ในขณะที่การให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนลดลง -2.7% สัปดาห์นี้รายงานความเชื่อมั่นใน ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคน่าจะมีตัวเลขที่ปรับลดลง แต่หากปริมาณการเติบโตของตำแหน่งงานยังน้อยตามไปด้วย การปรับลดอัตราดอกเบี้ย จากธนาคารกลางน่าจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมอย่างแน่นอน AUD ปรับตัวลดลงหนักกว่า NZD เนื่องจากออสเตรเลียมีความอ่อนไหวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลงของจีนค่อนข้างมาก แต่เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง สกุลเงินทั้งสองก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย แต่เนื่องจาก จำนวนการจ้างงาน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดีขึ้น USD/CAD จึงปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ ราคาน้ำมัน ลดต่ำลง
สกุลเงินที่มีความยืดหยุ่นสูงที่สุดคือ ยูโร เนื่องจากเยอรมนีมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและนักลงทุนก็ต่างคาดหวังที่จะการประกาศตัวเลขจากรายงานทางเศรษฐกิจที่จะมาช่วยยืนยันสภาพเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งในสัปดาห์นี้ ปริมาณการผลิตภาคอุตสาหกรรม ของยูโรโซน และแบบสำรวจจาก ZEW ของเยอรมนี จะเปิดเผยในวันอังคารนี้ ตัวเลขทั้งสองน่าจะยังดีเนื่องจากมีการเก็บข้อมูลก่อนที่จะเกิดภาวะตกต่ำในตลาดหุ้นและก่อนที่จะมีการตอบโต้กันในการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน สเตอร์ลิง และตัวเลขตลาดแรงงาน ที่จะประกาศออกมาในวันอังคารนี้ยังคงเป็นที่น่าจับตามองด้วยเช่นกัน ข้อมูลของยูโรโซนมีความแตกต่างออกไป กล่าวคือความเสี่ยงน่าจะเป็นตลาดขาลง อุตสาหกรรมการผลิต, ภาคบริการ และ ภาคการก่อสร้าง ยังคงมีการเติบโตของการจ้างงานที่ลดลง และหากรายได้เฉลี่ยรายสัปดาห์ยังเติบโตช้า GBP/USD อาจปรับตัวลดลงไปต่ำกว่า 1.29